เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556 ที่ห้องปฏิบัติการร่วม RTAF-KKU Project มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เดินทางไปเยี่ยมชม
“โครงการวิจัยและพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสังเคราะห์ด้วยกระบวนการไฮโดรโพรเซสซิ่ง” และ ให้การต้อนรับคณะนายทหารจากกองทัพอากาศที่เดินทางมาตรวจรับครุภัณฑ์ระบบผลิต น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์สำหรับอากาศยานของกองทัพอากาศ
โอกาสนี้อธิการบดี มข. ยังได้เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรให้กับคณะนายทหารจากกรมช่างอากาศ ที่เดินทางมาเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกับคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น ในโครงการวิจัยและพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสังเคราะห์ด้วยกระบวนการ ไฮโดรโพรเซสซิ่ง” ระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2556 อีกด้วย
ผศ.ดร.ผกาวดี แก้วกันเนตร ใน ฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยและผู้ประสานงานฝ่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการวิจัยฯในครั้งนี้ ว่าเป็นการร่วมมือวิจัยพัฒนาและแลกเปลี่ยนกันระหว่างบุคคลากรของทั้งสอง หน่วยงาน ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ลงนามความร่วมมือกับกองทัพอากาศฯ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะประกอบด้วยนักวิจัยจากคณะเทคโนโลยี ได้แก่ ผศ.ดร.ผกาวดี แก้วกันเนตร รศ.ดร.พรเทพ ถนนแก้ว และผศ.ดร. ศรัญญา พรหมโคตร์ ร่วมกับนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ ผศ.ดร.อาทิตย์ เนรมิตตกพงศ์ ดร.ทินกร คำแสน ดร.กิติโรจน์ หวันตาหลา และ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย โดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ คือ นาวาอากาศเอก สุพิส สว่างศรี และนาวาอากาศโท อมรพงศ์ เอี่ยมสะอาด รองหัวหน้ากองส่งกำลังบำรุง กองบังคับการ กรมช่างอากาศ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยของกองทัพอากาศ
ทั้งนี้เพื่อร่วมกันดำเนินการวิจัยและการพัฒนาโครงการวิจัยและพัฒนาน้ำมัน เชื้อเพลิงอากาศยานสังเคราะห์ด้วยกระบวนการไฮโดรโพรเซสซิ่ง เพื่อใช้กับอากาศยานให้กับกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 2 ปี ซึ่งรายละเอียดของโครงการจะเป็นการศึกษาการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน สังเคราะห์จากน้ำมันปาล์ม โดยใช้ปฏิกิริยาเคมีไฮโดรโพรเซสซิ่ง ภายใต้การพัฒนาระบบการผลิตต้นแบบขนาด 50 ลิตร/รอบการทำงาน ขณะนี้คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำเนินการวิจัยในห้องปฏิบัติการ เสร็จสิ้น และประสบผลสำเร็จจนสามารถพัฒนาระบบการผลิตต้นแบบในระดับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งคณะนายทหารจากกองทัพอากาศ ได้เดินทางมาตรวจรับครุภัณฑ์ระบบการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน สังเคราะห์ฯ เพื่อให้ทางกองทัพอากาศไปใช้ประโยชน์เพื่อความมั่นคงของประเทศต่อไป ทั้งนี้โครงการวิจัยดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาเทคโนโลยี พลังงานทดแทนภายในประเทศ ตลอดจนเป็นการสนับสนุนโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากอุตสาหกรรมเกษตรภายใน ประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
เครคิต : http://www.kku.ac.th/news/2013
อาจาร สรัญญา พรหมโคตร เคยเรียนวิชา นาโนเทค กับแกไปรอบหนึ่ง อิอิ
เป็นเื่องที่น่ายินดีครับ เราไม่จำเป็นต้องวิจัยผลิตเครื่องบินสมรรถนะสูง แต่เราสามารถเน้นไปที่อุปกรณ์ วัสดุ เชื้อเพลิง หรืออาวุธที่นำมาใช้กับอากาศยานได้แทนการจัดหาต่างประเทศ เน้นตรงนี้น่าจะดีกว่าครับ
เป็นข่าวที่ดีมากๆ ม.ขอนแก่น นี่ทราบมาว่า มีอาจารย์ระดับด็อกเตอร์เก่งๆเยอะมาก
ในอนาคตอีก 20 ปี ผมคาดว่าน้ำมันจะพุ่งไปที่ลิตรละ 100 และอีกไม่เกิน 100 ปี
น้ำมันที่มาจากซากฟอสซิลจะหมดไปจากโลก ทีนี้น้ำมันที่มาจากการสังเคราะห์จากพืชจะมาแทน
ส่วนเชื้อเพลิงพวกเครื่องบินรบสมรรถนะสูงทั้งหมด จะหันไปใช้ไฮโดรเจนเหลว
ปาล์มน้ำมัน คือ อนาคตของชาติ ต้องเร่งสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกกันทั่วทุกภูมิภาค
อั่ยยะ ผมกำลังศึกษาต่อโทที่นี่พอดีครับ
แต่คนละสาขา เข้ามาแสดงความยินดีครับ ฮิๆๆๆ
ตั้งแต่ผลิตของน้ำมันแพงแล้วเราก็เริ่มติดตั้งแกส lpg มากมายผิดบ้างถูกบ้างแล้วก็ก๊าซ ngvใช้ถังที่ถูกผิดและแพงมานาน..ทราบว่ามีนโยบายใช้น้ำมันไบโอในหน่วยราชการหลายหน่วยงานปลูกต้นน้ำมันละหุ่งทำน้ำมันบางโรงพักตำรวจมีป้ายกลั่นเองในหน่วยงานแต่ว่าเดี๋ยวนี้ป้ายต่างๆมันทรุดโทรมแล้วต้นละหุ่งไม่มีใครตัดทำผลิตน้ำมันเป็นชิ้นเป็นอันก็อยากให้ต่อยอดให้ได้นะครับ..เป็นกำลังใจก็จะติดตามครับ