จากข่าวตัดหนังสือพิมพ์ จากเว๊ป กองทัพเรือ ครับ
กองทัพบก ข้อมูลคร่าว ๆ ก็ยังเป็นโครงการจัดหาของเดิม
กองทัพอากาศ การจัดหา กริพเพน ฝูงที่ 2 อาจจะใช้ บาร์เตอร์เทรด
กองทัพเรือ ข้อมูลคร่าว ๆ ยังเป็นโครงการจัดหาของเดิม แต่อาจจะมี OHP จากประโยค "ยังต้องการเรือฟริเกต และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง"...แต่อาจจะมี ลุ้น เรือดำน้ำ...เหมือนในอดีต ก็ได้...
ความเห็นตามข่าว สำหรับ กริพเพน ฝูงที่ 2 (ประเมิน แบบคร่าว ๆ ตามข้อมูล 1% ของข่าว)
ถ้า ทอ. วางเป้าหมาย เพื่อทดแทน F-16 ฝูงแรก คือ ฝูง 103...ไม่ได้ไปเติมให้ฝูง 701...
คงจะได้เห็นอนาคตของ ฝูง 211 ว่า อาจจะเป็น F-16 A/B (ฝูง 211 จัดเป็น ฝูงบินชายแดน) ที่จะได้รับโอนจากฝูง 103...
ถ้าคิดในแง่การเมืองก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว [น่าดีใจไหมเนี่ยทหารเหนือการเมืองเอาอะไรมากกับ third world ฮ่าๆ]
คิดในแง่ของคนรักกองทัพก็ถือว่าดี :D ได้พัฒนากันเสียที
อูวท์..เจ้จัดหนักจัดเต็มจริงๆ พล ม.3 ขอเป็นรถถังมือหนึ่งสเปคจัดเต็มแบบเจ้า ลีโอ เลยนะ เอาแค่ A6 ก็พอเพียงและ
อารมณ์ประมาณว่า อัพเดทกองทัพ ครั้งยิ่งใหญ่ 5555
ผมมองว่าไม่ได้เป็นการเอาใจ อะไรนะครับ ของที่จัดซื้อก็คือจัดซื้อแทนของเก่าที่ หมดสภาพ ตามความจำเป็น
น่าจะเป็นการ ปัดฝุ่น โครงการ แพกเกจ เก่า ของเดิม ช่วงปี 2548 นำมาใช้ใหม่ครับ...
ที่ให้กองทัพ จัดทำแผน 10 ปีว่า จะจัดหาอาวุธอะไรบ้าง และประมาณการจำนวนเงิน...โดยเพิ่มเติม การใช้ บาร์เตอร์ เทรด...
กองทัพเรือต้องการเรือฟริเกต3ลำ มันก็ไม่น่าแปลกนะครับ ตอนแรกจีนก็เสนอมาให้3ลำ ผมก็ชักจะงง ทำไมมา3ลำหว่า ที่แท้กองทัพเรือต้องการ3ลำนั้นเอง 2ลำอาจจะเป็นขั้นต่ำกองทัพเรือ หรือไม่น่าเรือฟริเกตชุดนี้อาจจะมีมากกว่า3ลำก็เป้นไปได้ ส่วนOHP นั้นผมก็นึกไม่ออก จริง ว่าจะมาหรือว่ายังไงนะครับท่านจูดาส แต่ที่น่าแปลกมากที่สุด Jas39 มันไปโพล่ในฝูงF-16 ได้อย่างไร งงตรงเนี้ยหรือว่าทอ.จะยิงยาวกับJas39 ไปให้หมดทุกฝูงเลยอ่ะครับ พอปลดF-5E/F ก็แทนด้วยjas-39 ปลดF-16 ก็แทนด้วยjas39 อาจจะเป็นรุ่นE/Fก็ได้มั้ง ครับ
อืม...ใช่ ๆ ครับ...ลืมไปเลยว่า เรือฟริเกตลำใหม่ ในเบื้องต้น คือ 2 ลำ...และตามที่แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ของ แดวู...ในระยะสุดท้าย ประเทศไทย จะต่อเรือเองทั้งลำ...จึงเป็นที่มาว่า ทร. อาจจะต้องการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 3 ลำ
เรือ OHP ที่ สหรัฐ จะบริจาคให้ไทย...ปัจจุบัน ยังประจำการ อยู่ครับ ยังไม่ได้ปลดประจำการ...ซึ่งถ้า โครงการเรือดำน้ำ ยังไม่เห็นโอกาส อันใกล้...การยอมรับ OHP มือสอง น่าจะเป็นคำตอบ ที่น่าจะเป็นที่สุดครับ...
เพราะ เวียดนาม เอง ก็กำลังจะรับมอบเรือดำน้ำ...(ในขณะที่ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ต้องรออีกกว่า 5 ปี) และ ถ้า บังคลาเทศ ตัดสินใจ จัดหาเรือดำน้ำ ภายในปีนี้ หรือ ปีหน้า...
พม่า คงจัดหาเรือดำน้ำ ไม่ทิ้งช่วงจาก บังคลาเทศ แน่ ๆ ครับ...
ประเทศไทย...คงต้องมีอะไร มาดุลย์สงคราม บ้าง...อย่างน้อย เรือผิวน้ำ ที่มีความสามารถปราบเรือดำน้ำ คงต้องหามาก่อนที่ เรือดำน้ำ ไทย จะเริ่มโครงการ...เพราะไม่เช่นนั้น เรือปราบเรือดำน้ำของ ทร. จะมีจำนวนเท่าเดิม หรือ น้อยกว่าเดิม ในขณะที่ เรือดำน้ำในภูมิภาค มีปริมาณที่เพิ่มขึ้น...ดุลย์สงคราม มันสวนทาง กัน...
ผมว่าเปลี่ยนจากเรือฟริเกตอีกำเป็นเรือดำน้ำมือสองที่มีอายุการใช้งานไม่ถึง 10 ปีสักสองลำดีกว่า เพราะเรือฟริเกต 2ลำก็สามหมื่นล้านแล้ว นี้จะเอาอีกลำ บวกกับเรือตรวจการไกลฝั่งก็ตกห้าหมืนล้านแล้ว ยังไม่ร่วม ฮ เลยนะครับถ้าเอาเราดำน้ำด้วยก็เกือบแสนล้านแล้ว ทร ต้องใช้ งปมากสุดในทุกเหล่าทัพโอกาศได้มันยากมาก แต่ถ้าไม่เอาเรือลำที่สาม แต่เอาเรือดำน้ำแทนมือสองหรือมือหนึ่งถ้า 2 ลำรวมกันไม่เกินสองหมื่นล้านมันก็รวมๆกันแล้วพอผ่านอยู่นะครับ ดูๆแล้วเรือตรวจการไกลฝั่ง บวก ฮ ประจำเรือ บวกเรือดำน้ำ ไม่น่าจะเกินห้าหมื่นล้าน ราคาคงพอกับ กริพเพน ฝูงที่ 2 น่าจะเป็นรุ่น E/F
ผมว่าเรือดำน้ำถ้าจะหวังกันใหม่ก็ต้องรอได้ฟริเกตสมรรถนะสูงครบก่อนล่ะ
ผมว่าไม่มีอยู่ในแผนนี้หรอก ขนาดจะจัดซื้อยังไม่ได้ นี่ไม่เอ่ยถึงเลย
ผมว่าข่าวว่ากันตามตรงก็ไม่มีอะไรพิเศษนะครับ ที่จะจัดหาก็รายการเดิมๆเป็นตามจังหวะปกติ
เหมือนรวบรวมเอามาใส่เป็นชื่อโครงการมากกว่า เหมือนเป็นการแสดงความสนับสนุนเฉยๆ
ส่วนตัวผมไม่คิดว่าภายในสิบปีนี้จะมีเรือฟริเกตเพิ่มอีกนอกเหนือจากโครงการฟก.สมรรถนะสูง เพราะกว่าจะต่อเสร็จนี่ยังไม่เริ่มเลย เรือชุดนเรศวรก็อัพเกรดยังไม่เสร็จ เรือชั้นกระบี่มีลำเดียวเอง
เป็นเรื่องที่ดี แ็็ละ ปกติมากๆครับ ถ้าให้มองเรื่องนี้ผิดอยู่อย่างเดียวคือ การเขียน หัวข้อข่าว(เข้าใจครับว่าต้องการให้น่าสนใจ)
แต่ถ้าหัวข้อไม่สอดคล้องกับเนื้อข่าว การเขียนหัวข้อข่าวแบบนี้ถือว่าแย่(ซึ่งพักหลัง เพื่อนๆบางท่านก็เขียนหัวข้อกระทู้ซะจนเวอร์)
เนื้อข่าวเป็นไปในทางที่ดีครับ ข้อให้เป็นแบบนั้นแล้วก็เร่งๆเข้าหน่อยก็ดีนะครับ เพื่อนบ้านเราเขาไม่รอเรานะครับผม ทันสมัย อาวุธดีๆ ใช้กันยาวๆ คนใช้ก็มั่นใจ ประชาชนก็ดีใจครับ
ปล อันนี้ติงข่าวนะครับ ไม่ได้ว่าป๋าจูลดาส นะครับ แฮะๆ
จัิดว่าเป็นข่าวที่ดีครับ ให้คนที่ชื่นชอบเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างเราๆท่านๆได้มีความสุข
ทร.
ส่วนตัวผมมาทีหลัง ก็เลยยังไม่รู้ถึงเหตุผลว่าทำไมกองทัพไทยถึงซื้อเรือดำน้ำไม่ได้เสียที อุปสรรคมันอยู่ที่ตรงไหน ถ้าเป็นเรื่องการเมือง ผ่านมาก็หลายปีทำไมมันถึงยังไม่จบ
พอเรือดำน้ำเราไม่ได้ ก็คงต้องสนับสนุนให้ซื้ออาวุธปราบเรือดำน้ำมาทดแทนให้เพียงพอก็แล้วกันครับ ไม่ว่าจะเป็นเรือ หรืออื่นๆ
ทบ.
อันนี้ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ อำนาจในการซื้อของ ทบ.ค่อนข้างจะเยอะ อยากจะได้อะไรก็มักจะอนุมัติได้ไม่ยากเท่าของเหล่าทัพอื่น เหตุผลหนึ่งอาจจะเป็นเพราะอาวุธของทบ.ราคาถูกกว่า ทร กับ ทอ.ก็เป็นไปได้(มั้งครับ อันนี้ตอบแบบมือใหม่จริงๆ)
ทอ.
แผน 10 ปี กริพเพน E/F ก็จัดว่าเป็นคำตอบที่ดีอย่างยิ่ง แต่การจะนำสินค้าการเกษตรเข้าไปซื้อด้วย สวีเดนจะมีความยินดี หรือว่ายังไง กับการซื้อขายกันลักษณะนี้ รู้อยู่ว่ารัสเซียโอเคกับการซื้อรูปแบบนี้ แต่ส่วนตัวผมก็ยังไม่สนับสนุนของรัสเซียอยู่ดี ส่วนสหรัฐส่วนตัวก็ไม่อยากให้ไปพึ่งพามากเหมือนเมื่อก่อน
ผมคิดว่ากองทัพไทยกำลังจะสร้างจุดยืนเป็นประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สังเกตุจากการซื้ออาวุธจากประเทศที่ประกาศตัวไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอย่างสวีเดน และยูเครน เป็นหลัก
ความคิดเห็นส่วนตัวนะคับ
มีความเป็นไปได้ไหม สำหรับ ทอ. หาก Gripen E/F ยังไม่ทัน งบประมาณ+บาร์เดอร์เทรดพอจะนำเอาเจ้า Gripen ของแอฟฟริกาใต้ที่ไม่ได้ใช้มาได้ไหม อย่างน้อยก็ได้มาเพิ่มอีกฝูง
ถ้าตามโครงการ แพกเกจ นี้ จะแตกต่างจาก ปกติ ตรงที่ว่า...
อย่างครั้งที่แล้ว เมื่อ กองทัพเสนอโครงการทำเป็นแผนไป...
ทางรัฐบาล จะประกาศ หรือ ลงโฆษณา โดยทั่วไป...ว่ามี โครงการ บาร์เตอร์เทรด กับ การจัดหาของ กองทัพไทย...
ซึ่งจะทำให้ ประเทศต่าง ๆ ที่สนใจ...สามารถเสนอตัว โดยผ่านจาก กระทรวงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ก็ได้...
เช่น โครงการ รถถังแลกลำไย หรือ SU กับ Gripen แลก ไก่...ในช่วงนั้น ครับ...
คราวนี้ ก็จะอยู่ที่ กองทัพจะประเมิน หรือจะคัดเลือก หรือไม่ ครับ...
ซึ่งโครงการนี้ มันน่าสนใจ เช่น ในอดีต ที่เคยจะใช้ สินค้า แลกกับ เครื่องบิน CASA จาก อินโดนีเซีย ที่ทำการผลิตเอง...
ซึ่งเป็น เครื่องบินลำเลียงเปิดท้าย ดูแล้วเป็นเครื่องที่หลายกองทัพมีความต้องการ ทั้ง ทร. ทอ. และ ทบ.
ส่วน Gripen กรณีที่สามารถ บาร์เตอร์เทรด...ความเห็นผมว่า น่าจะยังเป็น รุ่น C/D อยู่...
เพราะรุ่น E/F ก็ไม่ใช่ถูก ครับ...ถ้าผมจำไม่ผิด ตอนนี้โครงการของ สวีเดน กับ สวิตซ์ฯ ถัวออกมา ลำละ 120-130 ล้านเหรียญ...
ซึ่ง ฝูงที่ 2 นี้ ถ้าจะเกิดในเร็ว ๆ นี้ ก็น่าจะเป็นโครงการจัดหาฝูงบินทดแทน ฝูง F-5T กองบิน 211...โดยไม่ทำการ อัพเกรดฝูง F-5 เพื่อยืดอายุใช้งาน
โดย น่าจะโอน F-16 A/B ฝูง 103 ซึ่งเพิ่งทำโครงการปรับโครงสร้างตัวเครื่องไป ให้ฝูง 211...
ส่วน 103 ก็รับ JAS-39 C/D ทดแทน....ซึ่งรุ่น C/D ถ้า ทอ.จัดหาเพิ่มภายใน 5 ปีนี้ ก็จะไม่ใช่เครื่องบินรุ่นเก่าเท่าไหร่ เพราะมันก็จะใกล้เคียงกับฝูง 701 ที่เพิ่งรับมอบไปครบฝูงในปีนี้เอง...
ส่วนรุ่น E/F อาจจะมาในฝูง 102...ถ้า F-35 มาไม่ไหวจริง ๆ...
jas39 ของ แอฟริกาใต้ เจ้าตัวเขายังไม่บอกว่าจะขายเลยนิครับ และผมว่า ก็คงไม่ขายเร็วๆนี้แน่ เพราะหากขายจริง ทั้ง 24 ลำ ทอ แอฟริกาใต้จะไม่มี บ ขับไล่เหลืออยู่เลย หากขาย 12 ลำก็จะทำให้ทั้งประเทศมี บ ขับไล่แค่ฝูงเดียว ซึ่งมันจะไหวเหรอครับ ส่วนที่ท่าน judas บอกว่า น่าจะเป็น c/d หาก c/d ปิดสายการผลิตไปแล้ว มันจะยังมีขายอีกเหรอครับ หรือว่าจะเป็น มือ 2
ณ วินาทีนี้ ผมว่า ถ้า ทอ จะหา บข คงไม่พ้น jas39 แหละครับ มองว่าในอนาคต ถ้าเงินอำนวย บข ของทอที่จะซื้อตัวเลือกจะมีแค่ jas39 กับ บข gen5 ซึ่ง F35 มาเต็ง
ขอบคุณมากครับสำหรับข่าว ผมไม่ค่อยได้ดูทีวีหรือหนังสือพิมพ์เท่าไหร่ส่วนมากจะรู้ที่หลังเพื่อนทุกที โครงการบาร์เตอร์เทรดดีกับทุกฝ่ายมากที่สุดแล้วเพราะเราแบกสต๊อกข้าวและยางพาราเสียจนหลังแอ่นไปหมด
สำหรับผมซื้ออะไรมาก็ถือเป็นข่าวดีหมดแหละนาทีนี้ไม่มีเลือกมากแล้วขอแค่ราคาสมเหตุผลเป็นพอ เพราะของที่มีอยู่มันเก่าแก่มากขึ้นทุกปีจนอยากไปขุดหวยแล้ว :(
ดูแล้ว บ.ตระกูล Jas-39 ของ สวีเดน...คือ บ.ที่ใช้ชิ้นส่วน จากหลาย ๆ บริษัทฯ และ หลาย ๆ ประเทศ ที่ว่าจ้างให้ผลิต และนำมาประกอบเป็นเครื่อง...
ไลน์ การผลิต น่าจะสามารถทำผลิตได้ตามความต้องการของ ลูกค้า นะครับ ในความเห็นผม...
และดูแล้ว รุ่น C/D ยังมีตลาดที่ สวีเดน ยังมองอยู่หลายประเทศ...
Saab's Head of exports Eddy de La Motte has stated that the Gripen's chances have improved as nations waver in their commitments to the F-35.[138]Richard Aboulafia of the Teal Group has attributed difficulty securing export sales to the Swedish government's inability to offer the same sort of strategic partnership as some rival aircraft manufacturing nations.[139]
Others[edit]
In September 2006, Bulgaria announced they were considering the replacement of ageing MiG-21s, either with 16 JAS 39C/D Gripens, or 16 used F-16s.[189] In January 2013, the Bulgarian government was considering the replacement of ageing MiG-21s and Su-25s with 9 new JAS 39C/D Gripens, used Eurofighters Tranche 1 or used F-16s to replace the MiG-21s.[190]
Other nations that have expressed interest in Gripen include Finland,[191] Oman,[192] Slovakia,[193][194] and the Philippines.[195]
ถ้านักข่าวจดถูกต้อง ท่านนายกฯ น่าจะหมายถึงเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 2 ( อนุมัติหลักการ 2 ลำ คราวนี้จะอนุมัติจัดหาครับ ) และทร.ยังต้องการเรือฟริเกต ( ธรรมดา) และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นกระบี่เพิ่มเติมครับ ซึ่งเรือฟริเกต ( ธรรมดา ) ก็ไม่แน่ใจว่าจะจัดหากี่ลำ เดาว่า 2 ลำ ครับ มีโอกาสทั้งเรือชั้น OHP และเรือฟริเกตต่อใหม่ แต่ส่วนตัวเมื่อมีการกล่าวถึงบาร์เตอร์เทรดด้วย น่าจะเป็นเรือฟริเกตต่อใหม่ และคงจะเหลือประเทศที่จะเป็นไปได้ไม่กี่ประเทศ ซึ่ง สปจ.มีโอกาสมากที่สุด ครับ
Gripen ถ้าต้องบาร์เตอร์เทรด ผมว่าสวีเดนเอา รุ่น A/B มาอัพเกรดเป็น C/D ให้เราครับ หรือไม่ก็เป็นเครื่องของ แอฟริกาใต้ ถ้าเขาถังแตกจริงๆ ( แต่น่าจะเป็นสวีเดนซื้อแล้วนำมาขายต่อให้ไทยครับ )
จากเนื้อข่าวสามารถแปลความได้ 2 แบบ คือ ทร.ต้องการต่อเรือฟริเกตเพิ่มอีก 1 ลำตามที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณให้ต่อ 2 ลำ(ลงนามสัญญาไปแล้ว 1 ลำ) = 2 ลำ หรือ ทร.จะขอต่อเรือฟริเกตสมรรถนะสูงเพิ่มอีก 1 ลำจากเดิมที่รัฐบาลอนุมัติไว้ 2 ลำ รวมเป็น 3 ลำ
โดยคำที่ใช้ในข่าว ผมอ่านแล้วเข้าใจว่าขอเพิ่มอีก 1 รวมเป็น 3 ลำ ซึ่งข้อมูลนี้จะพ้องตรงกันกับรายละเอียดของโครงการทีี่ทร.ได้ลงนามกับ DSME เกี่ยวกับเงื่อนไขต่างตอบแทนที่ฝ่ายทร.จะได้รับจากโครงการนี้ิ คือ
1.ให้บุคคลากรจากกองทัพเรือไปศึกษาเรียนรู้การต่อเรือจาก DSME
2.ดำเนินการต่อและประกอบเรือลำที่ 2 บางส่วนโดยทีมงานของทร.ในประเทศไทย และ
3.สนับสนุนให้ทร.สามารถดำเนินการต่อเรือฟริเกตได้เองทั้งหมด ด้วยตัวเองภายในประเทศ
จากเงื่อนไขข้างต้นจึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า แผนของทร.น่าจะมีความต้องการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงอย่างน้อย 3 ลำ (หรือมากกว่า)
อีกประเด็นคือ โครงการทั้งหมดเป็นแผนจัดหาที่มีห้วงระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า ถ้ากรอบเงินงบประมาณ 1 แสนล้าน ก็เฉลี่ย 1 หมื่นล้านต่อปี ไม่ถือว่าสูงเกินขีดความสามารถตามงบประมาณประจำปีที่แต่ละกองทัพได้รับนะครับ เพียงแต่เป็นการรวบรวมและวางแผนบริหารจัดการงบประมาณล่วงหน้าในระยะสั้นถึงกลาง
หากคิดว่า ทอ. และ ทร. แบ่งงบมาจัดซื้ออาวุธใหม่ไว้ที่ประมาณกองทัพล่ะ 1.5-2 หมื่นล้านบาทต่อปี (เท่ากับ 50% ของงบรายปี) 10 ปี ก็เท่ากับ 1.5-2 แสนล้านบาท ซึ่งสามารถจัดซื้ออาวุธได้อีกมากมาย เช่น
ในส่วนกองทัพอากาศ ถ้าผมเป็นสวีเดนผมจะเสนอ JAS39C/D+ สร้างใหม่ 12-16 เครื่องขายเงินสด และเสนอ Jas39 A/B/C/D มือสอง 1-2 ฝูง (24-32 เครื่อง) แลกกับสินค้าไทย เพื่อให้ไทยทดแทนเครื่อง F5 E/F และ F16A/B ครับ ทอ. ยังมีงบเหลือทำอย่างอื่นได้อีกมาก
ในส่วนทัพเรือผมคิดว่าระยะเวลา 10 ปี กับเรือฟริเกตสมรรถนะสูง 3 ลำ 4.5 หมื่นล้านบาท รวมกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นกระบี่ (ประมาณ 3 ลำ) ราว 6000 ล้านบาท ก็ไม่ได้มีจำนวนมากเกินไปและก็แพงมากเกินกรอบงบประมาณที่จะเป็นไปได้ ซึ่งยังมีงบเหลือให้สามารถจัดซื้ออาวุธได้อีกมากมาย เช่น ฮ.ต่างๆ เรือดำน้ำ 2 ลำ และอีกมากมาย ส่วนเรือฟริเกตธรรมดาถ้าเป็นเรือ OHP ก็ถือว่าพอยอมรับได้หากได้ปรับปรุงนิดๆหน่อยๆ
ตามแผนครั้งก่อน ก่อนปี 2549...แต่ละ เหล่าทัพ ก็วางโครงการไว้ กองทัพละเป็น แสนล้าน ครับ...
เรื่อง บาร์เตอร์ เทรด ก็คงเป็นบางส่วนครับ...ซึ่ง ราคาอาวุธ อาจจะสูงกว่า ปกติ...แต่มันจะดีในแง่ เศรษฐกิจภายในประเทศ คือ...
ค่าเงินบาท ที่ใช้หมุนเวียนภายในประเทศ มันจะทำให้เศรษฐกิจเติบโต ในแง่การผลิตและแรงงาน...ซึ่งตอนนี้ มันค่อนข้างนิ่งมาก....
คือ สินค้าชีวิตประจำวัน ในประเทศเอง...ก็ขายไม่ค่อยได้เหมือนกัน...คนขาย มากกว่า คนซื้อ...
ผมมองว่าน่าจะเป็นการเพิ่มอีก 1 ลำ รวมเป็น 3 ลำ แล้ว คงไม่เอา OHP จากอเมริกาแน่ๆครับ งั้นคงลุยเรื่องเรือดำน้ำต่อเลย....
แต่ขอฝันเป็นความจริงปนไปด้วยก็แล้วกัน นำเงินมาซื้อ ฮ.จนครบจำนวน ทั้งหมด แล้วจัดหารถถังใหม่ให้นาวิก(ซึ่งอันนี้ยากกว่า เรือดำน้ำนะครับหลายๆท่านคงจะทราบ) จัดหาเรือดำน้ำใหม่ 2 ลำภายใน 5 ปี หลังจากนั้น อีก 5 ปี จัดหาเพิ่มอีก 2 ลำ เพราะงั้นไม่เกิน 10 ปีต่อจากนี้ เราจะมีเรือดำน้ำ 2 ลำ และภายใน 15 จะมีเพิ่มอีก 2 ลำ รวมเป็น 4 ลำ นี้ขนาดฝันช่วยให้เร็วขึ้นแล้วนะครับยังใช้เวลาอีกตั้ง 15 ปีเลย
ยังไงรีบหน่อยนะครับผมอยากเห็น(ผมคนนะครับไม่ใช่เทพ จะได้มีอายุหลายร้อยปี ขอให้ทันช่วงที่มีชีวิตมีเรี่ยวแรงนะครับ อิอิ)
ปล.พูดเรื่องเวลานี้ก็ตกใจ ว่ากันเป็น 10 - 20 ปี เพื่อนๆสมาชิคก็รักษาสุขภาพด้วยนะครับจะได้รอดูด้วยกัน ขอให้ทุกท่านอายุยืนยาวนะครับ
ทอ.ผมไม่พูดถึงแล้วนะครับเอาเงินไปทำอะไรก็ทำครับ อิอิ เอฟ 16 ที่ว่าเทพ แจส 39 ที่ว่าสุดยอด ผมก็ได้เห็นแล้ว ซื้ออีกผมไม่ตื่นเต้นแล้วครับ แหะๆ
งั้นไป ลุย ทบ. เลยก็แล้วกัน ฝันเรื่องม้าอากาศ ควรลุยต่อ ซ่อมอัพเกรดเอเอซ 1 ให้ใช้ได้ครบทุกลำ แล้วซื้อมาเพิ่มจะฝูง 12 หรือ 18 ก็แล้วแต่ท่าน แต่ 18 น่าจะดีกว่านะครับ(ไม่ใช่ผู้เยาว์... อิอิ เกี่ยวไหมนี้) แล้วก็เจ้าแบล็คฮอค สั่งเพิ่ม ปีละ 6 ลำเลยครับ เอา ฮ. ครบ ค่อยไปสั่งรถถังต่อ(เบรครถถังล๊อต 2 หลบให้ ม้าอากาศก่อน) ซีซ่าจัดมาเพิ่มครับ ที่มีมันน้อยไป(ถึงจะไม่ชอบ แต่ซื้อมาแล้ว ถ้าซื้ออีกอยากให้เหมือนๆกัน) เอารวมสัก 24 เป็นไง เพราะยิงกันรอบหน้า ต้อง วิ่งยิงแล้วหล่ะครับ เพื่อนบ้านเขามีเรดาห์หาตำแหน่งปืนใหญ่เราแล้ว
ปล.จัดหนัก 3 เหล่าขนาดนี้ ที่ 2 ตัวจริงอยู่ไม่ไกล(อินโด-ไทย-สิงคโปร พันธมิตรกัน 3 ประเทศนี้ค้ำ อาเซียนอยู่) ค้ำนี้ไม่ได้หมายถึงว่าไปสู้รบกันนะครับ
งงว่า ทำไมทดแทน F16 ฝูง 103
แต่ก็น่าจะเป็นอย่างที่คุณ Juldas บอกครับ ว่าจริงๆแล้วทดแทน F 5 ฝูง 211 แต่ กริฟเฟ่น ฝูง 2 ถ้าซื้อจริง จะไปลงที่ 103 แล้วโอน F16 ไปให้ฝูง 211
แต่ในบรรดาฝูง ไวเปอร์ ฝูง 102 น่าจะปลดก่อน เพราะอายุตัวเครื่องน่าจะเหลือน้อยที่สุด
สนับสนุนเต็มที่ครับเรื่องการทหารเพื่อประเทศ
แต่โดยส่วนตัวผมอยากให้เป็นแบบนี้
ทัพบก-พวกรถเกราะนี่อยากจะให้ซื้อของในประเทศดีกว่าเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรม และจัดซื้ออาวุธนำวิถีพิสัยกลางและไกลรุ่นใหม่ๆเพื่อป้องกันจนกว่า DTI เราจะสมบูรณ์ ส่วนรถถังนั้นผมมองว่าไม่สำคัญนักในสงครามอนาคต
ทัพเรือ - เรือดำน้ำผมก็อยากได้นะ แต่ตอนนี้ยังไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่เพราะเราเน้นป้องปราม สู้เราไปหาเทคโนโลยี่ตรวจจับและปราบเรือดำน้ำน่าจะดีกว่า รวมถึงต่อเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กไว้สำหรับบรรทุกกริพเพนเพื่อบอกเพื่อนบ้านว่า ถึงบินรบเราจะเล็กแต่บินไปทิ้งระเบิดบ้านคุณได้สบาย
ทัพฟ้า - เนื่องการการรบปัจจุบันเน้นโจมตีทางอากาศก่อน คุมน่านฟ้าได้ก็ชนะ ผมจึงอยากได้กริพเพนอย่างน้อยสัก 4 ฝูงบินไว้ปกป้องประเทศ และเครื่องบินพี่บิ๊กอีกสัก 1 ฝูงไว้โจมตีระยะไกลนอกประเทศ
ปล.ถ้าได้แบบที่ผมว่ามานี้เราคงนอนอุ่นใจขึ้นเยอะ จนกว่าเราจะทำ DTI ระยะกลางและไกลได้สำเร็จ หวังว่าอีกไม่เกิน 50 ปีข้างหน้าก่อนผมตาย อยากจะเห็นไทยเราผลิตเรือดำน้ำและบินรบเองได้ ^^
รถถังยังไงก็สำคัญครับ อีกหลายสิบปีเลย
การรบปัจจุบันกับสงครามโลกโดยพื้นฐานก็ยังเหมือนกันนะครับ
มีการวิเคราะห์ออกมา (จำไม่ได้ว่าโดยองค์กรไหน) ว่าหากอเมริกาจะบุกเกาหลีเหนือ ก็จะออกมาแบบประมาณนอร์มังดีครับ (มันถงซ็อมยกพลขึ้นบกกับเราอยู่ทุกปี) คิดอีกแบบคือถ้าไม่บุกแบบนั้นแล้วจะบุกยังไงวะ
ภาพที่บางคนมองอาจจะมองว่าอนาคตเลารบก็ยิงมิสไซล์ข้ามทวีป สอยดาวเทียมกันก็จบ แต่ความเป็นจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น
มองง่ายๆ ทหารราบถือปืนเดินเท้าปัจจุบันก็ยังเป็นองค์ประกอบทีขาดไม่ได้เลยนะครับ
การรบมันมีหลายรูปแบบ เช่นการยิงปะทะตามตะเข็บชายแดน,assymetric warfare ฯลฯ
แล้วถ้าไม่ช้รถถังจะใช้อะไรเวลาเข้าตีล่ะครับ IFV? รถถังมีอัตราการยิงที่สูง แบบกระสุนไปได้เยอะ ใช้ยิงสนับสนุน หรือยิงถล่มได้ หรอแม้แต่ยิงต่อต้านยานเกราะ ความคล่องตัวก็สูงสามารถเอาตัวรอดได้
แคนาดาเคยมีแผนจะยุบกำลังรถถังแล้วประจำการแทนที่ด้วย IFV ตอนหลังก็เพิ่งคิดได้ยกเลิกแผนดังกล่าวไป IFV อัตราการยิงและอานุภาพต่ำกว่ากันแบบเทียบไม่ได้ โดนอาวุธหนักๆหน่อยยิงทีก็ไปไม่เป็น ไม่สามารถทดแทนบทบาทรถถังได้
ฝูง 102 เป็นฝูงที่ ผมคิดว่า น่าจะเป็น เครื่องขับไล่ครองอากาศ...
แต่เดิม ที่ ทอ.ประจำการ ฝูง F-5A/B...ฝูง F-5E ฝูงแรก ก็มาลงที่ ฝูง 102...(เป็นเครื่องที่ ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น)...
หรือ ต่อมา ช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ทอ. จัดหา F/A-18 C/D (ถ้าได้ประจำการ ก็จะเป็น บ.ขับไล่แบบแรก ที่สามารถยิง AIM-120 และ Harpoon ของ ทอ.ไทย ก็จัดเป็น เครื่องที่ทันสมัยที่สุดของ ทอ.)...ก็จัดมาลงฝูง 102...แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ก็ได้ F-16 ADF ซึ่งกลายมาเป็น บ.ขับไล่ แบบแรก และแบบเดียว ของ ทอ. ที่สามารถยิง AIM-120 ได้ ในช่วง ทศวรรษที่ 40...
จนมาถึง ทศวรรษที่ 50..จึงมี Gripen มาทดแทน และทำการ MLU F-16 A/B ให้เทียบเท่า F-16 C/D...ทำให้ในช่วง ทศวรรษที่ 50 นี้ ทอ. มี บ.ขับไล่ที่ทันสมัยที่สุด จำนวน 2 ฝูง...และถ้าในช่วงรอยต่อระหว่าง ทศวรรษที่ 50 เข้าสู่ ทศวรรษที่ 60...ทอ. จัดหา Gripen เพิ่มเติมอีก 1 ฝูง...จะทำให้ใน ทศวรรษที่ 60...ทอ. จะมี บ.ขับไล่ที่ทันสมัย รวมแล้ว 3 ฝูง...โดยมี บ.ขับไล่ ฝูงบินชายแดน จำนวน 1 ฝูง (ฝูง 211)...
ทอ. จึงดูยังขาด บ.ขับไล่ ครองอากาศ...ถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านชั้นนำใน ASEAN...ที่ประจำการด้วย บ.ขับไล่ครองอากาศแบบ F-15 และ SU-27,30 เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย...
ในใจ ผมจึงคาดหมายกับ ฝูง 102 ไว้ คือ F-15 กับ F-35...ส่วน JAS-39 E/F...ถ้า โปรแกรม T-X ของ ทอ.สหรัฐ หวยไปออกที่ Gripen F จำนวนกว่า 350 เครื่อง...(โบอิ้ง ร่วมกับ Saab เมื่อต้นปี เสนอแบบ Gripen F เข้าร่วมแข่งขันด้วย)...ผมว่า สิ่งนี้จะเป็น อุปสรรค กับ ทอ.ไทย ในการจัดหา ทั้งเรื่องระยะเวลา และ ราคา เพราะยอดผลิต รุ่น E/F ของ สวีเดน และ สวิตซ์ฯ ก็รออยู่...ตัวแทรก แบบ F-15 อาจจะได้เปรียบกว่า...ส่วน F-35 อุปสรรคสำคัญ คือ ราคา...ที่จะพ่ายทั้ง JAS-39 E/F และ F-15
ถ้าอเมริกาเลือก Gripen F จริง อาจเป็นโอกาสที่เราจะได้ซื้อ Gripen E/F ในราคาที่ต่ำลงก็ได้นะครับ ทั้งเรายังอาจจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้าง/ประกอบเครื่องเองได้อีกด้วย เพราะโครงการที่เสนอนั้นเชื่อว่าโบอิ้งน่าจะรับเหมาในการสร้าง/ประกอบไปเกือบทั้งหมด SAAB น่าจะเป็นแค่พาร์ทเนอร์ที่ได้รับส่วนแบ่งค่าแบบ/การสร้างส่วนประกอบบางส่วนและเทคโนโลยีบางส่วนจากโครงการ JSF (เครื่อง 5 Gen. ที่แพ้ในโครงการ F-35) เพราะเชื่อว่ารัฐสภาของสหรัฐต้องกดดันให้กองทัพเลือกบ.ที่ผลิตในประเทศ เหมือนกรณี Super Tucano ที่ชนะการคัดเลือกแต่โดนเบรกโดยรัฐสภา
เชื่อว่าหากโครงการนี้ SAAB / Boeing ได้รับเลือกแล้วล่ะก็ เราน่าจะได้เห็น 5 Gen. SAAB FS-2020 Gripen Stealth อย่างแน่นอน แต่...ผมคิดว่า คงเป็นไปได้ยากมากถึงมากที่สุดเลยล่ะครับ
เห็นว่าปลายปี ทร มีเรื่องเซอไพรส์นะครับ แต่ไม่แน่ว่าเรื่องไร
ผมว่า t-x ของ saab/boeing คงไม่ใช่ gripen มั้งครับ ดูจะคุณสมบัติสูงเกิน (หรือไม่ก็คู่แข่งอ่อนๆ กันทั้งนั้น) แต่ไม่แน่ เพราะ talon ก็เร็วกว่าพวก bae hawk อยู่
- กริปเป้นฝูงที่ 2 และอาวุธประจำเครื่องที่ทันสมัยเป็นเรื่องเหมาะสมกับประเทศไทย และผมมองว่าเครื่องบินสเตลท์ ยังไม่มีความจำเป็นในภูมิคาคอินโดจีน (ผมมองว่าสิงคโปร์ไม่ใช่ประเทศคู่รบ) และกริปเป้นคงลงฝูง 103 และ เอฟ-16 เอ/บี ฝูงแรกคงย้ายไป ฝูง 411 แทน เเอล-39 แซดเออาร์ที (ผมมองว่า เอฟ-16 เอเอ็มแอลยู/บีเอ็มแอลยู ฝูง 403 กับ ฝูง 411 มีมิก 29 เอสเอ็มที ของพม่าเป็นคู่รบ
สำหรับ Gripen Model F ที่จะเข้าร่วมแข่งขันใน โปรแกรม T-X ของ สหรัฐ...
ดูเหมือน โบอิ้ง ชูจุดเด่น ในเรื่อง การประหยัดค่าใช้จ่ายในการฝึก ตลอดอายุใช้งาน...ส่วนเรื่องระบบ เอวิโอนิค น่าจะเหมือนกันทุกแบบที่เข้าแข่งขัน...คือ ใช้ตามสเปค ของ สหรัฐ...แต่บางบริษัทฯ อาจจะชูจุดเด่น เรื่อง บ.ของตัวเอง สามารถเพิ่มความสามารถอื่น ๆ ได้ในอนาคต...
ส่วนราคาของโครงการ...ผมว่า บ.ทุกแบบ คงยอมรับในราคาของ สหรัฐ ได้ทั้งหมด คือ ราคาเท่ากัน ทั้งหมด...
การแพ้-ชนะ แบบ น่าจะอยู่ที่ คุณลักษณะเครื่อง ว่าใครจะตรงกับความต้องการของสหรัฐ...
โดย บ.ฝึก จะใช้สำหรับเปลี่ยนแบบ เพื่อไปบิน F-22 และ F-35 (ซึ่งไม่มีรุ่น 2 ที่นั่ง)...
แต่ข้อได้เปรียบของ Gripen อาจจะเป็นเรื่อง ค่าใช้จ่ายตลอดช่วงอายุใช้งาน...ทาง โบอิ้ง จึงเพิ่มแบบเข้าแข่งขัน...ก่อนหน้านี้ โบอิ้งร่วมกับ BAE (ถ้าจำไม่ผิด) เสนอแบบ Hawk T2 เข้าแข่งขัน...แต่ Hawk ดูเหมือนมีข้อเสียเปรียบในเรื่อง สมรรถนะโดยรวม เมื่อเทียบกับ T-50 (LM/Korea) กับ T-100 (M-346-GD/Alenia)...แต่ทั้ง T-100 และ Hawk T2 ก็ยังแพ้ในเรื่องความเร็วให้กับ T-50 ที่ สหรัฐ ก็กำหนดไว้ความเร็วเหนือเสียงด้วย...
ซึ่ง ช่วงนี้ Saab เอง ก็มาแรง กับ กองทัพสหรัฐ พอสมควร...ทั้งระบบ เรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกล แบบใหม่ของ ทอ.สหรัฐ และ เรดาร์ Sea Giraffe ของ ทร.สหรัฐ...และ Gripen ก็ดูใช้ระบบต่าง ๆ ของ สหรัฐ อยู่แล้ว แถมยังใข้เครื่องยนต์ของ โบอิ้ง อีก ซึ่งก็ใช้งานอยู่ใน F/A-18E/F ของ กองทัพสหรัฐ ด้วย...
September 11, 2013
Credit: Stefan Kalm/Saab
Boeing and Saab will announce “in weeks rather than months” that they will team up to offer the JAS 39 Gripen for the U.S. Air Force’s T-X future trainer requirement, according to sources familiar with the deal. Saab is apparently confident that the two companies will be able to undercut the cost of the closest rival contender, the Lockheed Martin/Korea Aerospace Industries T-50.
Other details of the deal are being closely held. The T-X program, aimed at acquiring some 350 trainers to replace the Northrop Grumman T-38, has been on hold due to budget cuts but is expected to restart in the 2015 budget.
The move is a major change to the line-up for the competition, for which Northrop Grumman has teamed with BAE Systems, offering the Hawk, and Alenia has joined forces with General Dynamics to promote the M-346.
Until now, Boeing had stated its intention to offer an all-new aircraft. However, a link with Saab became a possibility when the Swedish government launched development of the new JAS 39E version at the beginning of this year. Although the Swedish plan is formally contingent on Switzerland confirming its order for the fighter (in a referendum that is expected early next year), the Swiss deal has continued to pass milestones on the way to that decision. The JAS 39E is due to enter service in 2018.
Sweden and Switzerland both plan to order only JAS 39E single-seaters, but the two-seat 39F is a straightforward development.
The JAS 39F is fractionally larger and more powerful than the T-50, but also is more modern, with a wide-screen cockpit like that of the F-35 and a fully integrated helmet-mounted display. It is expected to cost less to acquire than the previous C/D variant and has been designed for easy maintenance and low operating costs. Swiss air force leaders say that its cost per flight hour is expected to be half that of the Typhoon and Rafale, its competitor for the Swiss order.
While no formal T-X requirement has been issued, Saab and Boeing’s action indicates that they believe any requirement under which the T-50 qualifies also could be met by the Gripen.
One industry source notes that a T-X Gripen also would be suitable for aggressor training, or as a companion trainer for F-22s and F-35s — which, unlike earlier USAF fighters, are not being acquired in two-seat versions. (The USAF has added T-38s to F-22 units in that role.) Beyond that, a source close to USAF leadership notes that “it is not a long step to an affordable air defense fighter to replace (Air National) Guard F-15/F-16 units.”
Boeing issued a statement that neither confirmed nor denied the existence of the Saab deal.
Update: On Sept. 12, Lennart Sindahl, Saab´s execuctive vice president and head of Saab’s Business Area Aeronautics, sought to clarify the company’s position regarding a potential teaming arrangement with Boeing on the T-X program using a Gripen derivative.
“With the new development of the Gripen E version we expect it to remain in that position for many years to come. But a great fighter aircraft does not necessarily make a good trainer. We remain focused on the continued development of the Gripen E and the fighter will never be a trainer,” Sindahl says. “As we stated previously, Saab always keeps its doors open to new business opportunities and if any of those should be further realized, they would be announced at the appropriate time.”
Editor’s note: This story has been updated to add comment from Saab.
เครื่องยนต์กริเพนเป็นตัวเดียวกับT-50จากเกาหลีที่ทุกคนบอกว่ามีค่าใช้จ่ายสุงไม่ใช่เหรอครับ แล้วทำไมมันเกิดประหยัดขึ้นมาดื้อๆเมื่อเปลี่ยนจากล๊อคฮีคมาเป็นโบอิ้ง เป็นแบบนี้จริงๆท่านนีโอของผมคงนอนสะดุ้งไปอีกหลายวันเลยนะเนี่ย
อย่าสับสนสิ คำว่าประหยัดกว่า สิ้นเปลืองกว่า นั้นมันมิได้มีความหมายตายตัวนะครับ มันเป็นคำเปรียบเทียบ ดังนั้นมันต้องมีตัวที่เอามาเปรียบเทียบอ้างอิงกันด้วย และต้องดูด้วยว่าเปรียบเทียบอย่างไร ข่าวสารเองก็ไม่ได้เป็นข้อเท็จจริงไปเสียทั้งหมด ขึ้นอยู่กับแหล่งข่าวและการนำเสนอด้วย บางครั้งก็เหมือนกับเป็นการประชาสัมพันธ์ ซึ่งย่อมต้องแฝงการโฆษณาไปด้วย
555555.......555555.......ผมขำสไตล์การเขียนแซวของท่าน superboy จนแทบตกเก้าอี้เลยครับ....55555......กด LIKE ให้เลยเอ้า
สนใจตรง ทร. ยังต้องการเรือฟรีเกตและเรือ OPV เพิ่ม ส่วนเรือฟรีเกตสมรรถนะสูง คงจะจบที่ 3 ลำแน่ๆ........เรือฟรีเกตธรรมดา กี่ลำหวา....... OPV 3 ลำที่เหลือจะเป็นเรือชั้นกระบี่ทั้งหมดเลยหรือเปล่า หรือจัดหาเพิ่มอีกแค่ 1 ที่เหลือออกแบบต่อเองหรือประกาศจัดหาใหม่
ผมสนใจเรือฟรีเกตธรรมดาจริงๆ......ถ้ามันไม่ได้หมายถึงเรือชั้น OHP มันจะน่าสนใจมากครับ
ปล. หวังว่าเรือดำน้ำ คงมีการจัดหาทั้งเรือฝึกและเรือรบหลักนะครับ และอย่าลืม harrier 2+ ด้วยล่ะ ทร.จะได้ครบๆซะที่
ส่วนทอ. ผมไม่แน่ใจว่า jas-39 ฝูงที่ 2 จะเกี่ยวข้องกับ 6 ลำที่คาดกันว่าจะจัดหามาเพิ่มให้ฝูง 701 ในปีหน้านะครับ อาจจะคนละส่วนก็ได้ เพราะ F-5T ก็ยังใช้งานได้อีกนานอยู่ และมันเป็นแผนจัดหาถึง 10 ปี แต่แปลกใจไม่เห็นพูดถึงเครื่องที่จะทดแทน L-39 และ alphajet เลย เพราะต้องปลดในอีก 10 ปีที่จะถึงนี้
แทน L39 กับ ajet ก็ Gripen Model F ไงครับน่าสนใจล้างบางบินค่ายอื่นให้หมด เราจะได้เป็นกลางอัด saabเข้าไปในทุกย่อมหญ้า ฮ่าๆ
เจอหัวข้อนี้่เข้าไป เรียกว่าเข้ามาแสดงความคิดเห็นไม่ทันกันเลยครับ หลายอย่างที่อยากจะพูดก็มีบางท่านได้พูดถึงไปแล้ว ขอแย้งความเห็นท่าน kakachi ตรงที่บอกว่า "เรือดำน้ำผมก็อยากได้นะ แต่ตอนนี้ยังไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่เพราะเราเน้นป้องปราม สู้เราไปหาเทคโนโลยี่ตรวจจับและปราบเรือดำน้ำน่าจะดีกว่า" นั้น ต้องแยกการป้องปราม (deterrence) กับการป้องกัน (defense) ออกจากกันครับ ในส่วนของการป้องกัน เปรียบเหมือนการตั้งรับมากกว่า คือสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามได้เมื่อเกิดมีภัยคุกคามนั้นขึ้นมา ซึ่งการมีขีดความสามารถด้านการปราบเรือดำน้ำด้วยเรือและอากาศยานจะตรงกับการป้องกันมากกว่า คือใช้ตอบสนองต่อภัยคุกคามใต้น้ำ แต่ไม่สามารถเทียบในระดับที่ทัดเทียมกันหรือเหนือกว่าเรือดำน้ำได้ ส่วนการป้องปราม คือการมีขีดความสามารถที่ทัดเทียมหรือเหนือกว่าฝ่ายตรงข้ามจนกระทั่งทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่คิดจะเป็นภัยคุกคามต่อเราตั้งแต่แรก ซึ่งในกรณีของภัยคุกคามใต้น้ำนั้น เรือดำน้ำไม่ได้เกรงกลัวเรือปราบเรือดำน้ำเท่าไหร่นักครับ แต่สิ่งที่จะเป็นการป้องปรามอย่างแท้จริงคือการมีเรือดำน้ำ ซึ่งเป็นขีดความสามารถระดับเดียวกันกับเรือดำน้ำฝ่ายตรงข้าม ซึ่งนอกจากจะสามารถใช้ป้องกันเรือดำน้ำด้วยกันเองอย่างทัดเทียมกันแล้ว ยังเป็นขีดความสามารถในการทำให้กำลังทางเรือของฝ่ายตรงข้ามตกเป็นฝ่ายผู้ถูกกระทำอีกด้วย ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามไม่มีแรงจูงใจที่จะเป็นภัยคุกคามต่อเราตั้งแต่แรก นั่นจึงจะนับว่าเป็นการป้องปรามครับ
ปล.โดยส่วนตัวแล้วแปลกใจอยู่เหมือนกันว่าทำไมในข่าวไม่เห็นมีความต้องการเรือดำน้ำในส่วนของ ทร. มีแต่เรือฟริเกตสมรรถนะสูง เรือฟริเกต เรือ ตกก. และ ฮ.ประจำเรือ
ผมว่า เรือดำน้ำ น่าจะมีนะครับ ท่านกัปตันนีโม...คงจะเหมือนตาม โครงการเดิม ที่เคยทำเมื่อก่อนนี้ครับ...
แต่อาจจะยังไม่ชูประเด็นในช่วงนี้...สงสัย คงให้เป็นเรื่องของ ผบ.ทร. คนใหม่ ที่จะมาต่อจาก พล.ร.อ.ณรงค์ ก็ได้ครับ...เพราะ ผบ.ทร. คนปัจจุบัน ก็จะเกษียณอายุในปีหน้า...
ปีนี้ อาจจะได้ยินข่าว OHP ก็ได้น๊า....
เพราะ ผบ.ทร. พล.ร.อ.ณรงค์ ก็มีตำแหน่งสำคัญมาจากเรือปราบดำน้ำ...เคยเป็นนายทหารปราบเรือดำน้ำ ร.ล.คีรีรัฐ และต้นเรือ ร.ล.ตาปี...อาจจะได้น้ำหนักในตรงนี้ ในการที่จะยอมรับเรือบริจาคจาก สหรัฐ...เพราะความที่ ถูกล้มโครงการจัดหาเรือดำน้ำจากเยอรมัน...
เรือ OHP สหรัฐฯ เสนอให้เรามาโดยตลอดครับ แถมด้วยการแอบขู่นิดๆ ด้วยจำนวนที่เหลือน้อยลงเรื่อยๆ (นายทหารผู้ใหญ่ของ ทร.สหรัฐฯ ท่านหนึ่งถึงกับเคยกล่าวไว้ว่าสหรัฐฯ จะสนับสนุนเรื่องการปราบเรือดำน้ำให้ไทยเต็มที่ แต่ไม่เห็นด้วยกับการที่ไทยจะมีเรือดำน้ำ) อย่างไรก็ดีความเห็นส่วนตัวของผมมองว่าเรา operate เรือชุดนี้ไม่ไหวครับ ยอมรับว่าของเขาดีจริง แต่ได้มาจะกลายเป็นเรือ Knox ภาค 2 คือจอดมากกว่าใช้ เพราะเธอเกิดมาในช่วงยุค baby boom น้ำมันกำลังสมัยนั้นกำลังราคาถูก ประกอบกับเจ้าของเดิมเป็นประเทศเศรษฐี เลยจัดซะเต็มที่ แต่ถ้ามองว่าจะจัดหามาซักลำเพื่อรับองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ update กว่าองค์ความรู้สมัยเรือ Knox ก็อีกเรื่องนึงครับ
อีกอย่างเรือ OHP สหรัฐฯ ไม่ได้บริจาคให้ฟรีๆ นะครับ คิดมูลค่ามาด้วย (ได้ยินว่าถูกมากๆ ยังไม่รวมค่าปรับปรุง) แต่ตัดจากยอด FMS ได้ หรืออะไรซักอย่างแนวๆ นี้
ตามโครงการที่ สหรัฐ บริจาคให้ จะเสียค่าปรับสภาพ ประมาณ 40 - 100 ล้านเหรียญ ต่อ ลำ ครับ...แล้วแต่กำลังทรัพย์ของแต่ละประเทศ...ถ้าระดับ 100 ล้านเหรียญ นี่น่าจะเรียกว่า Refurbished ได้...
โดยเรือ OHP ที่ สหรัฐ ใช้งานปัจจุบัน มีการปรับปรุงเพื่อลดค่าใช้จ่ายปฏิบัติการลง ก่อนหน้านี้ มาแล้วครับ...และตามข้อมูลที่เคยหามาเรือ OHP ตามวัตถุประสงค์โครงการ คือ จะมีค่าใช้จ่ายปฏิบัติการที่น้อยกว่า เรือชั้น Knox...
ซึ่งถ้า สหรัฐ ให้มาพร้อม Nulka + Phalanx Block 1B และระบบปราบเรือดำน้ำ รวมถึง โซนาร์ลากท้าย มาด้วย...ก็คงมาแทน เรือชั้น ตาปี ได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า...ส่วนเรือชั้น ตาปี ก็โอนไป กองเรือตรวจอ่าว ลดอาวุธพวกท่อยิงตอร์ปิโดออก ทดแทนเสริมด้วยเรือยางท้องแข็ง...รอการเปลี่ยนทดแทนด้วย OPV ลำใหม่...
กองเรือฟริเกตที่ 1 ก็จะยังมี เรือปราบเรือดำน้ำ จำนวนเท่าเดิม และลดภาระค่าใช้จ่ายในการต้องทำหน้าที่ การตรวจการณ์ไกลฝั่งไป...
กองเรือตรวจอ่าว ก็จะมี เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เพิ่มเป็น 5 ลำ...ถ้าเกิดได้รับอนุมัติ ต่อเพิ่มอีก 1 ลำภายในปีหน้า หรือปีต่อไป...ก็จะมีจำนวนครบความต้องการ 6 ลำ ภายในปี 2560...แล้วหลังจากปี 2560 ก็จัดหา เรือ OPV ขนานแท้ มาทดแทนเรือชั้น ตาปี ต่อไป....ไม่เกินปี พ.ศ. 2565 หรือ ค.ศ. 2023...ทร.ก็จะมีเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ครบจำนวนความต้องการ และมีเรือ OPV ครบจำนวนความต้องการ...
ไปค้นข้อมูลมาเพิ่มเติมเรื่องการ "บริจาค" เรือ OHP ครับ ข้อมูลเก่าที่เคยมีมาจากการคุยกับ จนท.JUSMAGTHAI เมื่อหลายปีมาแล้วตอนนั้นยังคิดราคาตัวเรืออยู่ เพิ่งเห็นข่าวเมื่อต้นปีว่าตอนนี้เปลี่ยนเป็น transfer by grant not counted toward total transferred excess ก็คือให้เปล่าหรือบริจาคตามที่ท่าน Juldas ว่าไว้นั่นเอง
ในส่วนของค่าใช้จ่าย อย่างที่บอกว่าเรือชุดนี้เกิดในยุค baby boom ซึ่งน้ำมันกำลังราคาถูก และแนวคิด baby boom อีกอย่างนึงคือการเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ (เมื่อเทียบกับมาตรฐานเรือสมรรถนะสูงของสหรัฐฯ) ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายจริงในมุมมองของสหรัฐฯ ในตอนนั้น และทำให้เรือชุดนี้เคยเป็นเรือที่ต่อจำนวนมากลำที่สุดของสหรัฐฯ เพิ่งมาถูกแซงด้วย DDG เมื่อไม่นานมานี้ แต่อัตรากำลังพล 200 นายกับเครื่องยนต์ GT 2 เครื่อง (COGAG) ก็ยังนับว่าเปลืองสำหรับบ้านเราอยู่ดีครับ ในเรื่องของคุณภาพและองค์ความรู้เห็นด้วยว่าเราจะได้ update/upgrade แน่ๆ แต่ถ้าจะเอามาน่าจะใช้ในฐานะเรือฝึกมากกว่าใช้งานประจำ (นึกภาพเรือลำนี้ไปอวดธงฝึกนักเรียนในต่างประเทศอย่างเท่ห์) แค่กลัวจะไม่เหลือค่าน้ำมันให้เรือลำอื่นวิ่งกันครับ
ถ้าภายใน 1-2 ปีที่จะถึงนี้ ทร.สามารถดันโครงการเรือดำน้ำให้ผ่านได้อย่างน้อย 2 ลำ OHP อาจจะไม่พิจารณารับมาก็เป็นได้ครับ
ผมสนใจเรือฟรีเกตธรรมดานี่มากจริงๆ ในความเห็นส่วนตัว อาจจะเป็นแบบเรือที่ทร.ออกแบบเอาไว้เองแล้วก็ได้ แต่ก็ควรยึดหลักการเดียวกับเรือฟรีเกตประสิทธิภาพสูงเอาไว้ คือ ควรจะเออกแบบเผื่อพื้นที่และการจัดวางระบบ ให้สามารถทำการปรับปรุงประสิทะิภาพให้สูงขึ้นได้เป็นอย่างมากในอนาคตครับ เช่น
ถ้าต่อเรือในตอนนี้ต้องการแค่จรวดต่อต้านเรือรบ และ ESSM แค่ 12 นัด ก็อาจจะเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับระบบ VLS mk-41 หรือ K-vls ขนาด 16 cell เอาไว้ แต่อาจจะติดตั้งแค่ Mk-48/56 สำหรับ ESSM แค่ 12 ลูกเป็นพอ
หรือ ขีดความสามารถในการต่อต้านเรือดำน้ำ ก็ให้มีโรงเก็บฮ. มีตอร์ปิโดหนัก 533 mm และมีช่องด้านท้ายสำหรับโซน่าร์ลากท้าย (แต่ยังไม่จัดหาในตอนนี้) มีโซน่าร์หัวเรือดีๆสักระบบ และรองรับระบบอำนวยการรบสงครามใต้น้ำได้
จรวดต่อต้านเรือรบ อาจจะมีการจัดพื้นที่สำหรับ 16-24 ท่อยิง หรือ อาจะเผื่อพื้นที่สำหรับระบบ MLRs เผื่อไว้ว่าอาจจะมีการพัฒนา DTI-1G รุ่นใช้งานทางทะเลอะไรทำนองนั้น แต่ติดจริง 4-8 ท่อยิงเป็นพอ
ระบบตรวจจับ และระบบอำนวยการรบ ก็มีการเผื่อไว้สำหรับการ upgrade ระบบหรือขยายระบบได้ เช่น ถ้าใช้ 9 LV mk-4 ต่อ อาจจะติดตั้ง smarts mk-2 เป็รเรด้าร์อำนวยการรบเอาไว้ก่อน (เชื่อมต่อกับ 9 LV ได้) เรด้าร์ควบคุมการยิง CEROS-200 เหมือนเดิม อาจจะยังไม่ติดตั้งเรด้าร์ตรวจการณ์อากาศระยะปานกลาง/ ไกลแบบ 3D ในเวลานี้ก็ได้ แต่อาจจะเตรียมพื้นที่เหนือโรงเก็บฮ.เอาให้ทำการ upgrade ได้ในอนาคต
ซึ่งในอานาคตเมื่อต้องการ upgrade อาจจะเปลี่ยนเรด้าร์ควบตุมการยิงจาก ceros-200 เป็น CEA-MOUNT แบบแท่นหมุนทั่วไป ติดตั้งหน้าหลัง หรือย้าย SMART-s ไปเป็นเรด้าร์ตรวจการณ์ระยะปานกลางเหนือโรงเก็บฮ. แล้วจัดหาเรด้าร์อำนวยการรบใหม่ที่ดีกว่าเดิมก็ได้
ถ้าเป็น CMS จาก Thales ก็เผื่อการติดตั้งเสาเรด้าร์ I-MAST ไว้รอได้เลย
ระบบ CIWs ก็อาจจะเตรียมพื้นที่เอาไว้เหนือสะพานเดินเรือและเหนือโรงเก็บ ฮ. แต่อาจจะยังไม่ทำการติดตั้งในเวลานี้ เป็นต้น
เมื่อเห็นว่าสถานะการเริ่มจำเป็นมากขึ้น ก็ทำการ upgrade ติดตั้งระบบต่างๆเข้าไปใหม่ในทันที เรือก็จะมีประสิทธิภาพก้าวกระโดดครับ
ทำตามแนวทางเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงเลยครับ ลองนึกภาพดูเอาได้ว่า ถ้าเรือฟรีเกตใหม่เราทำการ upgrade แบบไม่อั้นเงิน ดูนะครับ
ติดตั้งเรด้าร์ CEA-MOUNT/FAR แทน seagiraffe
เรด้าร์ ceros-200 เหนือสะพานเดินเรือเก็บเอาไว้ควบคุมการยิงปืน 76 mm ส่วนด้านหลังถอดถอนออกไปเพื่อย้ายฟาลังก์มาวางตรงนี้แทน
ติดตั้ง VLS mk-41 ผสมกับ K-VLS จำนวน 40 cell จะยัดอะไรใส่ไปเท่าไร่ได้เต็มที่เท่าที่ผู้ผลิตอาวุธจะขายให้เรา เช่น K-ASROC Hyunmoo-3 K-SAAM Ram-block-2 Nulka ESSM SM-2 เช่น ESSM 32 ลูก RAM - 32 ลูก SM-2 16 ลูก K-ASROC 8 ลูก เป็นต้น
ตามรูปของเพื่อนใน TFC ที่ทำเอาไว้รูปนี้ ถ้าย้ายฟาลังก์ไปไว้ท้ายเรือแทน Ceros-200 เอาอีก 16 cell มาใส่ ก็ได้ 40 cell เลยทีเดียว ต้องเป็นกรณีได้เงินมา upgrade ไม่อั้นนะครับ เพราะจำนวน cell ขนาดนั้น ค่าลูกจรวดก็คงปาเข้าไป 4000 กว่าล้านบาทแน่ๆ
ถ้าเรือฟรีเกตธรรมดาที่จะต่อใหม่ใช้หลักการเดียวกันนี้ ก็จะสามารถ upgrade
- ให้ติดตั้ง VLS ได้ถึง 16 cell เพื่อยิงทั้ง ESSM RAM และ K-ASROC ได้เมื่อทำการ upgrade
- ติดตั้งโซน่าร์ลากท้ายเพิ่มเข้ามาเมื่อ upgrade
- ติดตั้ง CIWs เพิ่มเข้ามาเมื่อทำการ upgrade
- รวมถึงติดตั้งเรด้าร์ active phase array เป็นทั้งเรด้าร์อำนวยการรบ(แท่นหมุนๆ) และเรด้าร์ควบคุมการยิง (แท่นหมุนๆ) แบบ CEA-MOUNT ที่ลงให้ดู หรือเป็นเสา I-MAST
- ติดตั้งระบบอำนวยการรบสำหรับสงครามปราบเรือดำน้ำเพิ่มเข้ามา เพื่อใช้ในภาระกิจ ASW ได้ทันที
เรือก็จะมีประสิทธิภพาก้าวกระโดดครับ เอาไปเป็นเรือฟรีเกต ASW ได้เลย แล้วดันเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงที่ทำการ upgrade แล้ว ไปเป็น AAW แทน เป็นต้น อะไรทำนองนั้นครับ