อยากทราบว่าเรือเรือฟริเกต ชั้น OHP. ที่สหรัฐ เสนอมาให้ทร. 2 ลํา คือ USS RENTZ ( FFG 46 ). และ USS VENDEGRIF ( FFG 48 ) น่ะครับ ว่าตกลงแล้วเป็นไงครับ เราเอาหรือไม่ แล้วเอาแล้วมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง และสุดท้ายถ้าเอาเราจะได้รับมอบเมื่อไหร่ครับ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบ
ณ.ปัจจุบัน USS VENDEGRIF ( FFG 48 ) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตัวเองอย่างเข้มแข็ง เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเรือได้มีโอกาศต้อนรับหลานสาวของท่านนายพลVandegrift ที่มีส่วนสำคัญในการเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นที่Guadalcanalในปี1942
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.606600496056952.1073741834.307694345947570&type=1
เรือยังคงประจำการกองทัพเรืออเมริกาอยู่ เร็วเกินไปที่จะพูดถึงอนาคตที่มีกับประเทศไทย แต่ก็คงอีกไม่นานหรอกครับต้นปีหน้าคงมีข่าวที่ชัดเจนแน่นอน ความเห็นส่วนตัวรู้สึกเฉยๆแล้วมาก็ได้ไม่มาก็ดีแม้จะชื่นชอบรูปทรงเรือเป็นอย่างมากก็ตาม หลังจากมหากาพเรือฟริเกตสมรรถนะสุงกับจรวดSM-2ผมก็ไม่อะไรเท่าไหร่แล้ว มองไปที่เรือฟริเกตธรรมดาลำใหม่ที่เราอาจต่อขึ้นเองในประเทศมากกว่า
แต่ก็คงอีกนานเลยหละครับอาจจะหลังการจัดหาเรือดำน้ำแล้วก็ได้ ก็ว่ากันไปครับแล้วแต่ใครจะชอบแบบไหนไม่ว่ากันระหว่างนี้จิ้นอย่างเดียว
ถ้าได้มา 2 ลำนี่แจ๋วเลย ครับ......
ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม....แค่ใช้ลอยลำเป็นฐาน บินกลางทะเล หรือฐานบินต่อระยะให้ "ฮอปราบเรือดำน้ำ" นี่ก็คุ้มแล้ว ครับ
บรรทุกฮอได้ตั้ง 2 เครื่อง....ทำให้มีประสิทธิภาพการใช้ฮอในทะเลได้ประหยัดขึ้นเยอะ ครับ...
รู้สึกจะต้องจ่ายแค่ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพ ค่าใช่จ่ายในการฝึก (ค่าเชื้อเพลิงและเสบียง ในการฝึกและนำกลับ)
เค้าคิดประมาณ 10 ล้านดอลล่าร์เท่านั้น ครับ (ประมาณ 300 ล้านบาท)
เทียบกับค่าใช้จ่ายของ "ปิน" กับเรือ Cutter ที่ต้องจ่าประมาณ 8 ล้านดอลล่าร์ กว่าๆ...(ไม่น่าจะมากน้อยกว่ากัน)
มันก็ดีนะครับ
แต่ใจผมอยากให้เราต่อเองเลย แบบสุดความสามารถเรา ไม่ว่าจะดีหรือแย่ เราก็ได้ประสบการณ์ และเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเรือเราด้วย
ผมว่ารับเอามาเถอะครับ มีประโยชน์อยู่แล้วหล่ะ ไม่มีเหตุผลอะไรที่ประเทศไทยจะหยิ่ง ที่จะไม่รับครับ ระบบอาวุธอาวุธหลายอย่างเราก็ยังพึ่งพิงเขาอยู่
ปล. ไม่ได้เรือดำน้ำก็ OHP สองลำก็ยังดีครับ
เรื่องหยิ่งนั้นคงไม่หยิ่งหรอกครับ ใครดีใครๆก็อยากได้ครับ แต่มันต้องมีการพิจารณาเรื่องค่าใช้จ่ายตั้งการนำไปปรับปรุง ค่าใช้จ่ายในการนำไปปฏิบัติภารกิจว่าเมื่อนำมาแล้วคุ้มค่าหรือไม่ครับ ถ้าหากว่าคุ้มค่ากองทัพเรือก็คงดำเนินการจัดมาครับ แต่ถ้ามีค่าใช้จ่ายสูงแล้วไปมีผลกระทบด้านอื่นก็อาจจะปฏิเสธไป ในอดีตอเมริกาเคยเสนอมอบเฮลิคอปเตอร์แบบ ซีสไปรส์ มือสองให้เราโดยเราต้องออกค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคืนสภาพอัพเป็น ซุปเปอร์ซีสไปรส์ เองซึ่งจากการพิจารณาถึงความคุ้มค่าแล้วก็ปฏิเสธไปและมีการจัดหาเฮลิคอปเตอร์แบบซุปเปอร์ลิงค์ในเวลาต่อมาภายหลังจากนั้นครับ
รับมาก็ดีน่ะ ถึงจะเสียค่าอัพเกรดใหม่ก็เหอะ แต่ก็จำนวนเงินไม่มากเท่ากับซื้อใหม่
เพราะยังไงโครงการซื้อใหม่เราก็มีอยู่แล้ว อย่างน้อยไม่ได้เรือดำน้ำก็เอาตัวนี้ไว้ขู่ระดับหนึ่งก็ยังดี
แต่แปลกใจนิดนึงตรงที่ทำไมในเมื่อเขาจะให้เรา เพียงแต่เราเสียค่าซ่อมอัพเกรดกลับไม่ค่อยมีคนสนับสนุน
แต่เทียบกับเรือดำน้ำ U206A มือสอง ที่เราต้องซื้อ แล้วยังต้องอัพเกรดต่ออายุอีก แต่ทำไมมีคนออกมาสนับสนุน
เรือมือสองจากอเมริกา .. ผมลอง บวก ลบ คูณ หาร แบบลวกๆในใจ ผมว่าไม่คุ้มครับ เพราะเราต้องเสียค่าเดินทาง
ค่าอัพเกรด ( + ค่าภาษี ) และ อะไรอีกหลายๆอย่าง จิปาถะ แล้วอาจจะโดนถอดอาวุธบางอย่างออก
แล้วการที่เราจะเอามาโมดิฟายอะไรเพิ่มเติมคงไม่ได้ อาจจะผิดสัญญา ( ประกันขาด อิอิ )
แล้วเรื่องราคาอะไหล่ของอเมริกานี่ บ่องตง คงจะแพงมหาโหด เพราะมันหาอะไหล่เทียมตามเชียงกงไม่ได้
ผมสนับสนุนให้เราต่อเรือเองครับ .. แม้ว่าเราต่อออกมาแล้ว พอปล่อยลงทะเลแล้วเรือเอียงกะเท่เร่ ผมก็ภูมิใจครับ
อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้อะไรอีกหลายๆอย่าง แนวเชื่อมทุกแนวเราบรรจง ใช้ใจลงไปในแนวเชื่อมด้วย
ดูอย่างเรือหลวงกระบี่สิ ฝีมือเราต่อออกมาเทพขนาดใหน .. ถ้าให้ใหญ่กว่านี้ซักสองเท่าผมว่าไม่น่าจะยาก
ส่วนระบบอาวุธ ค่อยให้ SAAB มายัดทุกอย่างลงไป 555++
.. อันนี้ เป็นแนวคิดของผมคนเดียวน่ะ อิอิ
เรื่องรับมอบเรือ OHP จากสหรัฐ ผมคิดว่าถ้าได้มาก็ดีกว่าไม่มี แต่มีข้อแม้ 2 อย่างคือ
อย่างแรก ขอติด MK13 คืนและปรับปรุงนิดหน่อยให้อยู่ในสภาพดีและให้ใช้ SM2 ได้
อย่างที่สอง เงินค่าคืนสภาพและปรับปรุง ครึ่งหนึ่งขอจ่ายในรูปการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงให้กองเรือสหรัฐที่ผ่านประเทศไทย เช่น น้ำ อาหาร น้ำมัน และเป็นค่าใช้จ่ายในการซ้อมรบร่วมไทยสหรัฐ โดยแบ่งจ่ายเป็นเวลาสัก 3 ปี
เพียงเท่านี้เราจะได้เรือ OHP 2 ลำที่สามารถใช้ต่อได้สัก 15 ปี ก็ถือว่าคุ้มค่า ตอบสนองในแง่จำนวนเรือรบที่ยังขาดอยู่ และภัยคุกคามในปัจจุบัน
ส่วนในระยะยาวตลอด 15 ปี จากนี้คงต้องทยอยต่อเรือฟริเกตใหม่ทั้งสมรรถนะสูง(ติด SM2 + Asroc + ESSM รวม 16 cell) 2-4 ลำ และเรือ ฟริเกตธรรมดา(ติดแค่ ESSM 8 cell) 4-6 ลำ ทดแทนเรือที่กำลังจะปลดประจำการไป ครับ
แค่นี้กองทัพเรือก็หางบประมาณแย่แล้วครับ ยังไม่รวบเรือ OPV และเรืออื่นๆ อากาศยานอีกเยอะแยะ
กลัวมันจะมาแต่เรือไม่มีmk13 มีแต่ตอปิโด ฟาลังโดนถอด เหลือแต่ปืนกลางลำเรือนะสิครับ มีแต่เรือ ฮ ก็ไม่มี. เอาเงินไปต่อเรือกระบี่จะคุ้มกว่าครับ
ตอบคุณ Koongkamoo เรื่องการเปรียบเทียบระหว่างโครงการเรือดำน้ำ 206A กับโครงการเรือ OHP นะครับ เทียบตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการจัดหาขั้นต้น เรือ 206A จำนวน 4+2 ลำ ราคาประมาณ 7 พันล้านบาท รวมทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ทั้งตัวเรือ ค่าปรับปรุงเรือ 4 ลำ อะไหล่ เครื่องมือ เครื่องฝึก ส่วนโครงการ เรือ OHP เราได้ตัวเรือฟรีๆ แต่ต้องเสียค่าปรับปรุงเอง ซึ่งรวมถึงการติดตั้งแท่น MK13 (ถ้าเราต้องการ อวป.) ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 40-100 ล้านดอลลาร์ต่อลำ หรือประมาณ 3-6 พันล้านบาทสำหรับเรือ 2 ลำ
ต่อมาเรามาดูสิ่งที่เราจะได้ กับสิ่งที่เราต้องจ่ายต่อไปในอนาคตกัน
โครงการเรือ 206A เราจะได้องค์ความรู้เกี่ยวกับปฏิบัติการเรือดำน้ำ ซึ่งเดิมเรามีเพียงกำลังพลที่ ทร.ส่งไปเรียนหลักสูตรเรือดำน้ำจำนวนไม่กี่นาย บวกกับประสบการณ์ด้านเรือดำน้ำซึ่งเรียกได้ว่าเราสูญเสียประสบการณ์ของเรือ ดำน้ำเดิมที่เคยมีไปหมดแล้ว รวมถึงโอกาสที่เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำที่จะได้มีโอกาสฝึกกับเรือดำน้ำจริงได้เป็นประจำ กับสิ่งที่เราต้องจ่ายต่อไปในอนาคตคือค่าใช้จ่ายสำหรับกำลังพลประจำเรือดำน้ำลำละ 20 กว่าคน (ต่อให้ใช้กำลังพล 2 ชุดแบบ ทร.สหรัฐฯ ก็แค่ลำละ 40 กว่าคน) กับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อถึงกำหนด overhaul ซึ่งใช้เวลาเกือบๆ 10 ปี หมายความว่าถ้าต้องการใช้เรือ 20 ปี ก็เปลี่ยนแบตเตอรี่แค่ครั้งเดียว (ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ชดเชยด้วยค่าใช้จ่ายประจำในช่วง 10 ปีที่ต่ำ และค่าจัดหาเรือที่ถูกมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้)
โครงการเรือ OHP เราได้ update องค์ความรู้ด้านปฏิบัติการปราบเรือดำน้ำด้วยเรือผิวน้ำและ ฮ. (ซึ่งเราฝึกกับสหรัฐฯ เป็นประจำอยู่แล้ว) กับได้เรือปราบเรือดำน้ำอย่างค่อนข้างดีมาทดแทนเรือเดิม กับส่วนที่เราต้องจ่ายต่อไปในอนาคตคือ ค่าใช้จ่ายสำหรับกำลังพลประจำเรือลำละประมาณ 200 คน กับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์กังหันก๊าซ (เครื่องยนต์แบบเดียวกับเครื่องบินเจ็ท) ซึ่งกินน้ำมันมากกว่าเครื่องดีเซลอย่างน้อย 3 เท่า หรือเท่ากับว่ามีภารกิจออกเรือครั้งนึงมีค่าใช้จ่ายเท่ากับเรือฟริเกตลำเดิมออกเรือพร้อมกัน 3 ลำ แต่เรือปราบเรือดำน้ำของเราก็ยังแทบไม่มีโอกาสได้ฝึกกับเรือดำน้ำจริงเหมือนที่เป็นอยู่เดิมในปัจจุบัน และเมื่อถึงกำหนดเวลาก็ต้องยกเครื่องขึ้น overhaul เช่นกัน
ไม่นับรวมว่าการมีใช้เรือดำน้ำ 1 ลำ ต้องใช้เรือปราบเรือดำน้ำพร้อม ฮ.ประจำเรืออย่างน้อย 2-3 ลำ หมายความว่าในเชิงศักย์สงครามแล้วโครงการเรือ OHP จำนวน 2 ลำ เพิ่งจะเทียบได้กับโครงการ 206A แค่ 1/4 โครงการ ในแง่การใช้งานจริง
โดย สรุปผมจึงมองว่าโครงการเรือ 206A มีความคุ้มค่ามากกว่า และน่าสนับสนุนมากกว่าโครงการเรือ OHP หรือถึงแม้ว่าโครงการเรือ 206A จะเป็นไปไม่ได้แล้ว และจะเอาเรือ OHP มาเป็นเรือฟริเกตธรรมดาเสริมจากเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่เราเพิ่งทำสัญญาไป ก็ยังดูไม่คุ้มค่ากับการใช้งานประจำอยู่ดี (ค่าน้ำมันแพงหูฉี่) จะคุ้มก็ในกรณีที่เราจัดหามาเป็นเรือฝึกโดยไม่ต้องปรับปรุงระบบอาวุธ เนื่องจากการวางระบบในเรือที่ดี (ตามสไตล์เรือสหรัฐฯ) ที่เหมาะจะเป็นแม่แบบในการฝึกกำลังพล