กองทัพเรือกำลังก่อสร้างอาคารกองเรือดำน้ำและศูนย์ฝึกเรือดำน้ำ ซึ่งจะมีกำหนดแล้วเสร็จในต้นปีหน้า โดยในศูนย์ฝึกเรือดำน้ำจะมีเครื่องฝึกจำลองเรือดำน้ำมูลค่า 200 ล้านบาท สำหรับการเตรียมความรู้ให้กับกำลังพลเพื่อรองรับการมีเรือดำน้ำในอนาคต และกองทัพเรือมีแผนจะจัดซื้อเรือดำน้ำอย่างน้อย 3 ลำในแผนพัฒนากองทัพ 10 ปี ที่จะเสนอรัฐบาลต่อไป
ที่มา - http://www.bangkokpost.com/news/local/374389/submarine-base-nears-completion-now-navy-needs-a-fleet
จัดมา จัดเต็ม ราษฏรเต็มขั้นอย่างผมเห็นด้วยเต็มที่
ผมว่ามือหนึ่ง หมดเลยนะเนี้ยเรือดำน้ำ และอาจจะได้แค่2ลำ และผมขอเดาไว้เลยว่า U209 ของเกาหลีใต้100% โครงการจัดหาเรือดำน้ำ มันต่อจากเรือฟริเกต นี้เอง หรือว่ามันจะมาในแนวแบบว่า จัดหาเรือฟริเกตก่อน1ลำ และก็เริ่มเรือดำน้ำ ลำที่1 และจากนั้นก็เรือฟริเกตลำที่2 และตกท้ายด้วยเรือดำน้ำลำที่2 หว่า
206 ถึงได้แป๊กไปใงครับ
ขอให้หวยออกไปที่ DW-1400T เพราะ ทร. ไม่ค่อยจะซื้อของเหมือนชาวบ้านในภูมิภาคนี้ 209 อินโดก็สั่งไปแล้ว ได้ DW-1400T
เหมือนที่ท่านneosiamese2 เคยโพสไว้ ดีใจกว่าได้206A อีกครับ ความคิดเห็นส่นตัวนะครับ
กลัวหวยไม่ออกเลยมากกว่า ผมว่าที่คนเชียร์เจ้า 206 กันมาก ไม่ได้เพราะมันดีที่สุดหรือเหมาะที่สุด แต่เป็นเพราะตอนนั้นมีความเป็นไปได้มากที่สุด ตอนนี้ก็ไม่ต้องมีแล้ว เจริญ
Gotland ตอนนี้ถือว่าเป็นเรือดำน้ำที่ดีและเหมาะสมกับ ทร.ไทยไหมครับ
จากผู้เสียภาษีคนหนึ่ง และเป็นประชาชนคนหนึ่งของประเทศ ผมสนับสนุนเต็มที่กับโครงการเรือดำน้ำ
คงเป็นการเตรียมการสำหรับฝึกไว้รองรับกรณีที่มีโครงการจัดหาเรือดำน้ำก็จะได้มีความพร้อมเรื่องสถานที่ ส่วนการจัดหาเรือดำน้ำคงเป็นแผนโครงการครับ คงยังไม่มีการจัดหาในช่วงเวลาอันใกล้ อาจจะต้องรอเรือฟริเกตลำที่สองต่อเสร็จก็เป็นได้ครับ
ท่าน kawsoi
Gotland ตอนนี้ถือว่าเป็นเรือดำน้ำที่ดีและเหมาะสมกับ ทร.ไทยไหมครับ
Gotland ถือว่าเป็นเรือดำน้ำที่ดีและเหมาะสมกับ ทร.ไทยครับ ทั้งขนาดและราคาที่ไม่มากเกินไป แต่ไม่รู้ว่าสวีเดนจะมีการต่อขาย มือ ๑ อยู่ไหม มือ ๒ ก็มีเพียง ๑ ลำ เท่านั้นที่เกินความต้องการของสวีเดน จะขอเช่าซื้อได้
ใน สมัยนายบรรหาร เป็นนายกรัฐมนตรี ทร.เคยพิจารณาและขออนุมัติ ซื้อ เอ ๑๙ ก็อตลานด์ 3 ลำ แต่ถูกพรรค.... โจมตีจนยกเลิกไป เอ ๑๙ ก็อตลานด์ผ่านการพิจารณาจาก ทร.นั้นเป็นเรือดำน้ำที่ล้ำสมัยที่สุดในขณะนั้น ใช้เครื่องยนดีเซล ไฟฟ้า และ snorting AIP ใช้ออกซิเจนเหลวและเชื้อเพลิงดีเซล สามาถรดำได้นาน ในขณะนั้น เรือชั้น กิโล และ อู๒๐๙ ยังไม่มีระบบนี้ใช้ครับ น่าเสียดาย
จะรุ่นไหนของประเทศใด ก็ได้ครับ ขอให้มี ฉลามยังไง ยังไง ก็ฉลามอยู่ดี เรือดำน้ำถึงจะเก่าจะล้าสมัย ถ้ามันยังดำได้ ยิงตอร์..ได้ มันน่ากลัวทั้งนั้นละครับ อเมริกายังขี้หดตดหายเลย เรือดำน้ำจีนโผล่กลางกองเรือบรรทุกเครื่องบิน ถ้าเป็นในยามสงคราม เรือจีนคงจม แต่ก่อนจม.......... กองเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกาคงกระอักเลือด หรือจะไม่เหลือเลือดให้กระอักหว่า
ถ้าจำไม่ผิดเหมือนเราจัดหาเรือดำน้ำ A-19 ก็อตแลนด์ จากสวีเดนสองลำครับ แต่ก็ล่มไปด้วยเหตุผลบางประการ ตอนนั้นที่มีเสนอสามลำคือเรือดำน้ำชั้น กิโล ของรัชเซียครับแต่ไม่ได้รับเลือก เรือดำน้ำ ก็อตแลนด์ ในตอนนั้นมีระบบ AIP เรียกว่าระบบ Stering ที่มีการเก็บอ๊อกซิเจนอยู่ในถังในรูปแบบของเหลวทำให้สามารถเดินเครื่องดีเซลสำหรับชาร์จแบตเตอรี่ได้โดยไม่ต้องโผล่มาเหนือน้ำ(ปกติเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า จะต้องโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเพื่อใช้ออกซิเจนเดินเครื่องสำหรับชาร์จแบตเตอรี่) ตอนนั้นไม่ทราบเหมือนกันว่ากองทัพเรือได้เลือกติดตั้งระบบนี้ด้วยหรือไม่ แต่ช่วงนั้นเรือดำน้ำเยอรมันยังอยู่ในช่วงพัฒนาระบบ AIP อยู่ครับ
ท่าน Thaipc53 สะกิดแผลเก่าผ๊มม.........ปวดแปล๊บบบบบบ เจ็บใจที่สุดครับในตอนนั้น ผมเชียร์แบบสุดๆ 2 ลำ ครับที่จะจัดหาตามที่ท่าน admin บอก และมีระบบ AIP มาให้ด้วย เป็นเรือดำน้ำทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งในเอเชียและในโลกครับ นักวิชาเกินก็ร่วมแจมด้วยครับ แม้แต่ NGO ไทยและ NGO สวีเดนก็แจม ไปประท้วงที่หน้าอู่ต่อเรือเลย ถูกพวกสติเกินและพวกต้าน ทร. ถล่มจนแห้วครับ ออกสื่อสับๆๆๆแล้วก็สับๆๆๆ จากสื่อทุกแขนง ลงหน้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ออกโทรทัศน์ สรุปตามความคิดของพวกสติเกิน คือ ไม่เหมาะสมกับเมืองไทย ทั้งทร.ไทยและอู่ของสวีเ้ดนก็ต้องน้ำตาตกทันที
มาตอนนี้จึงต้องดิ้นเร่าๆไงครับ
มาคราวนี้อยากได้มือหนึ่งเลยครับ ในข่าวบอกว่า ทร. ไม่ได้มีเงินหลายๆหมื่นล้านมาสำหรับการจัดหา ดังนั้นผมก็เลยตัดในเรื่องเรือดำน้ำเยอรมันครับ แม้ผมจะชอบ Type 210 mod class มากๆ และน่าจะสามารถติดตั้ง AIP ได้ตามแต่ความต้องการของลูกค้า แต่ราคาคงจะสูงมากเกิน 15000 ล้านต่อลำแน่ๆ
ถ้าแบบนี้ ผมเลยเสนอเรือเกาหลีเหมือนเดิครับ
--เรือฝึกรบ KSS-500A mod for RTN ครับ เรืออาจจะใกญ่ขึ้นเป็น 600-800 ตัน ระบบขับเคลื่อนระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธตามแบบที่ ทร. ต้องการ ไม่ต้องมี AIP ก็ได้ เพื่อให้ราคาต่ำลงครับ เหมาะสำหรับอ่าวไทย
-- เรือรบหลัก DW-1400 T ครับ สำหรับตามกองเรือออกไปทะเลจีนใต้ และในข่าวบอกเองว่า ถ้าทะเลจีนใต้มีปัญหา เส้นทางเดินเรืออาจจะถูกปิด ดังนั้น ทร. ต้องสามารถส่งกำลังไปปฎิบัติการตรงนั้นได้ด้วย
สงสัยจัง แล้ว Jas-39 จะตามออกไปถึงได้ไง ถ้าไม่มี Harrier2+ ติดเรือไป.....
อย่างน้อยก็มีศูนย์ฝึกเอาไว้รองรับ มาเมื่อไหร่ก็ได้ก็ขอแค่ให้มาและได้ของที่เหมาะกับเราก็พอ ตอนนี้ยังไงผมก็ยังมองว่าการพัฒนากองเรือผิวน้ำจำเป็นที่สุดสำหรับเราในตอนนี้ อีก 5-10 ปีค่อยมีเรือดำน้ำมันก็ยังไม่สายครับ
Jas ไปไม่ถึง...เราจึงต้องมี Tanker ซักลำไว้เติมน้ำมันกลางอากาศ 555555
จากเนื้อข่าว
Rear Adm Panu said the navy needs at least three submarines, ranging in size from 500- to 3,000-tonne displacement. He dismissed concerns the Gulf of Thailand may be too shallow for submarines to operate.
ระวางเรือ ตั้งแต่ 500 - 3000 ตัน...
ถ้าระวาง 500 ตัน ไม่ถึง 1000 ตัน มีลุ้นเรือ เกาหลี...ไม่แน่ เยอรมัน อาจจะยอมต่อเรือแบบ Type-206A ให้อีกก็ได้...
แต่ถ้ามาถึง 3000 ตัน...ยังสงสัย ว่า จีน จะเข้าป้าย หรือ รัสเซีย...ซึ่งคงถูก กำหนด ด้วยเงื่อนไข สินค้าเกษตร แลก เรือดำน้ำ เป็นแน่แท้...
เรื่องขนาดเรือ 500-3,000 ตัน เป็นช่วงที่กว้างมาก ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ครอบคลุมขนาดเรือดีเซลไฟฟ้าในปัจจุบันทั้งหมดครับ
นั่นซิครับ...ดูแล้ว ถ้าในวงเงินงบประมาณ 30,000 ล้านบาท...แล้วได้ จำนวน 3 ลำ...น่าจะระวางไม่เกิน 1500 ตัน...ซึ่งที่โดดเด่น คงมี เกาหลีใต้ กับ เยอรมัน...
ถ้ามีผู้เสนอ เรือระวาง 3000 ตัน ก็ดูจะมีแต่ จีน กับ รัสเซีย ที่จะอยู่ในวงเงินงบประมาณได้...ซึ่งคงเพิ่มในเงื่อนไข การใช้ Barter Trade มาเป็นข้อได้เปรียบ คู่แข่งอื่น...
แต่ถ้า งบประมาณ ได้รับน้อยกว่านั้นอีก...ระวางเรือ ก็คงไม่เกิน 1000 ตัน...ในปัจจุบัน ก็คงมีแต่ เกาหลีใต้ กับ เยอรมัน เท่านั้น ที่น่าสนใจ น่ะครับ...ซึ่งไม่แน่ เรือดำน้ำประมาณ Type-206 อาจจะ คืนชีพ อีกครั้ง...
ซึ่งตอนนี้ เรามี ฟิลิปปินส์ ที่จะเป็น ตลาด อีกแห่ง ที่จะช่วยเสริม เรือดำน้ำ ขนาดระวาง ไม่เกิน 1000 ตัน...รวม ออร์เดอร์ ไทย กับ ฟิลิปปินส์ ก็ไม่น้อยกว่า 6 ลำ...หรือ อาจะหมายถึง ทร.โคลัมเบีย ที่เพิ่งจัดหา Type-206A มือสอง ก็น่าจะเป็น อีกตลาด ที่น่าจะเสริมเข้าไปอีก...รวม ๆ แล้ว ตลาดของเรือดำน้ำ ระวางไม่เกิน 1000 ตัน...มีรอสั่งอยู่แล้ว ไม่น้อยกว่า 9 ลำ เป็นอย่างต่ำ...
ถ้าRebuild TYPE206ก็ดีนะ เรือขนาดนี้กำลังเหมาะสมกับไทย ขนาดเล็ก ซ่อนตัวง่าย การตรวจจับทำได้ยาก ราคาและค่าบำรุงรักษาไม่น่าจะสูงมากนัก
จากที่ผ่านมากองทัพเรือได้ส่งคนศึกษาที่เยอรมันอย่างสม่ำเสมอ และช่วงที่ผ่านมาเพิ่งจะมีการไปส่งกำลังพลไปศึกษาที่เกาหลีใต้ ส่วนตัวจึงมองว่า เปอร์เซ็นต์ความเป็นไปได้น่าจะมาจากเกาหลีใต้ครับ เพราะเรือดำน้ำเกาหลีใต้นั้นก็พื้นฐานมาจากเยอรมัน แต่คาดว่าจากเกาหลีใต้น่าจะถูกกว่าของจากเยอรมัน ส่วนของรัชเซียกับจีนนั้นไม่เคยได้ข่าวว่ามีกำลังพลของกองทัพเ้รืิอไปศึกษาเรียนรู้ คาดว่าคงต้องใช้ความพยายามและเงื่อนไขมาแข่งอย่างมากครับ
โดยความคิดส่วนนะครับผมคิดว่า กองทัพเรือไม่น่าจะเลือกซื้อเรือ Type-206 น่าจะหันไปมองเรือจากเกาหลีอย่าง Type 209 มากกว่า เพราะตอนที่เลือก Type-206 เมื่อ 2 ปีก่อนนั้นก็อย่างที่หลายๆท่านทราบนั้นแหละมันเป็นเรือมือสองที่ขายเป็นแบบ แพคเกจ ถ้าในอนาคตกองทัพเรือได้รับงบประมาณจัดหาเรือดำน้ำที่ 30,000 ล้านบาทจริง แล้วยังจะคิดจะไปซื้อเรือเก่าอย่าง Type-206 อยู่อีกหรือ?????
คิดว่าเรือดำน้ำทั้ง 3 ลำน่าจะไปจบที่อู่เรือ แดวูเหมือนๆกับเรือฟรีเกตนั้นแหละครับ และคิดว่าคงจะเป็นรุ่น TYPE 209/1400T
ส่วนเรื่องที่บางท่านกังวลในเรื่องของเรือดำน้ำอาจจะเป็นเรือจีนเพราะเป็นเรื่องของการระบายสินค้าเกษตรคิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวกันครับเพราะแว่วๆมาแล้วว่าจีนได้ชิ้นปลามันจากโครงรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปเรียบร้อยแล้ว(ในทางลับ) เพราะฉะนั้นเรื่องความกังวลและความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับไทยกับเรื่องการซื้ออาวุธน่าจะหมดความกังวลไปได้แล้ว แล้วอีกอย่างเรือดำน้ำของทั้งจีนและรัสเซีย(3000 Ton) ก็ดูใหญ่เกินและไม่เหมาะสมกับทะเลอ่าวไทยครับ
มันจะดีกว่าไหมละครับถ้าเรือดำน้ำของเราสามารถแล่นเข้าไปในพื้นที่ระดับความลึกที่ต่ำกว่า30เมตรได้โดยไม่ต้องโผล่ขึ้นจากใต้น้ำ เรือดำน้ำนอกจากจะช่วยป้องกันภัยคุกคามใต้ทะเลได้แล้วยังใช้สนันสนุนส่งหน่วยรบพิเศษ แอบลักลอบส่งกำลังพลขึ้นบกในพื้นที่ทะเลตื้นในเวลากลางคืนได้อีกด้วย โดยที่ไม่ถูกตรวจจับด้วยเรด้าร์ทางทะเล แล้วอีกอย่างงบประมาณ 30,000 ล้านกับเรือ SSKType 209/1400T ของเกาหลีน่าจะมีความเป็นไปได้อยู่พอสมควร
และอีกอย่างที่บอกว่า 2 เรือพร้อมรบจริงบวก 1 เรือฝึก นั้นอันนี้ผมไม่แน่ใจนักว่ากองทัพเรือต้องเรือดำน้ำไว้สำหรับฝึกจริงหรือไม่ ไม่แน่อาจจะเป็นเรือสำหรับทำภาระกิจสงครามทั้ง 2 ลำเลยครับโดยไม่มีเรือฝึก แล้วในเวลาฝึกอาจจะฝึกกับเรือดำน้ำเก่าที่ทางเกาหลีให้ยืมมาใช้ฝึกก่อนในระหว่างรอเรือต่อเสร็จ คล้ายๆกับกรณีของทางมาเลเซียงัยครับ
ถ้าลองเทียบกับ KILO Classแล้ว TYPE209/1400 ขนาดเล็กกว่า และน่าจะเหมาะกับทะเลเรา
อันนี้ทางอินโดนีเซีย เขาทำเปรียบเทียบ
แหมเรือดำน้ำอเมริกาที่มาซ้อมรบให้เราเล่นซ่อนหาตอนนั้นมันกี่ตันนะ ได้ข่าวกองเรือเราถึงกับตาแตกเลย
จำนวนเรือ 3 ลำ เป็นแนวคิดมาตรฐานของการเตรียมความพร้อมเรือรบทั่วไปครับ คือโดยปกติแล้วตามตารางการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเรือ รวมถึงการเข้าอู่แห้งเพื่อทำ overhaul จะใช้เวลาประมาณ 1/3 ของอายุการใช้งานทั้งหมดของเรือ ดังนั้นแนวคิดก็คือหากมีเรือจำนวน 3 ลำ โดยเฉลี่ยแล้วก็จะมีเรือที่อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง (maintenance and upkeep) อยู่ 1 ลำ ส่วนที่เหลือจะเป็นเรือที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานจริง 1 ลำ กับอีก 1 ลำจะเป็นเรือเตรียมพร้อมและฝึกกำลังพล เนื่องจากเรือรบไม่เหมือนจักรยานที่ขี่เป็นแล้วก็เป็นเลย แต่ต้องใช้คนทำงานร่วมกันจำนวนมาก (ต่อให้เป็นเรือขนาดเล็กก็มีกำลังพล 10-20 คน ซึ่งต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมอย่างมาก) และต้องมีการฝึกความชำนาญอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งต้องมีการฝึกกำลังพลใหม่เพื่อทดแทนกำลังพลเดิมที่เติบโตไปตามอายุราชการด้วย จึงเป็นที่มาของสูตรพร้อม 1, ฝึก 1, ซ่อม 1 ครับ
ถึงคุณ pop04 (อันนี้ไม่แน่ใจนะว่าคุณทราบข้อมูลอยู่แล้วหรือเปล่า)
เป็นเรือแอลบูเคอร์กี (USS Albuquerque -SSN 706) ครับ Los Angeles CLASS (7,900 ton) กลเม็ดเด็ดพรายของเรือดำน้ำพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ความใหญ่ของเรือไม่ใช่เรื่องจะมาตัดสินว่าจะตรวจเจอหรือตรวจหาได้ง่ายหรือไม่ง่าย มันอยู่ที่ว่าใต้ผิวโลหะของตัวเรือดำน้ำมันได้ถูกฝังด้วยแผ่นดูดกลืนคลื่นโซน่าหรือเปล่าและขีดความสามารถมากน้อยแค่ไหน +ไปถึงระบบ Buoys Decoy (ทุ่นใต้น้ำเป้าลวง) ครับ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเรือดำน้ำใหญ่กว่า 7,900 ton กองเรือรบของไทยเราจึงหากันไม่เจอคือ รู้ตำบลแต่ไม่รู้พิกัดและตำแหน่งของเรือ (อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีระบบโซน่าของเรือรบไทยที่มีอยู่ด้วยครับ) ก็ต้องขอบคุณสหรัฐที่ช่วยให้คนไทยและผู้ใหญ่ในบ้านเมืองหลายต่อหลายคนได้ตาสว่างกันซะทีว่า ทะเลอ่าวไทยที่ระดับความลึกเกินกว่า 30 เมตรขึ้นไป ไม่ใช่ว่าจะใช้เฮลิคอปเตอร์บินหาทางอากาศด้วยตาเปล่าแล้วจะหากันเจอ
เรื่องที่206aโดนค้านมันเป็นเพราะมีคนนึกว่าจะเอามาประจำการเป็นเรือดำน้ำหลัก แต่ความจริงเราเอามาเพือฝึกเรือดำน้ำถูกมากๆแถมใด้ฝึก ถ้าสมมุติว่าไปปถอยของใหม่มา3ลำๆเราก็เอาออกพื้นที่ใด้เลย เพราะเรือดำน้ำฝึกเรามีตั่งหลายลำอาจจะ4หรือ2ลำ แต่ก็อยางว่าคนไทยมีนิสัยดันทุรังยิ่งใด้รับข้อมูลผิดๆยิ่งต่อต้าน เรามีเรือดำน้ำฝึก10-15ปีราคา7700ล้าน 4ลำหรือเปล่าคิดว่ามันดีแค่ใหนครับ มาเลเขายั่งเอาเรือเก่ามาฝึกก่อนเลย แต่ไม่เป็นไรเราเจ๋งเรารอเรือใหม่มาฝึกเลย แต่คิดเล่นๆเรามีเรือด้ำน้ำ4ลำที่จะไปโผล่ที่ใหนก็ใด้ถึงแม่มันอาจจะต่อกรกับเรือดำน้ำสมัยใหม่ไม่ค่อยใด้แต่ผมว่าเรือแถวเพื่อนบ้านคงใด้กลัวกันบ้างถึงจะเก่ายิงตอปิโดใด้โดนนัดเดียวเรือฟริเกตุลำล่ะหลายหมืนล้านก็คงต้องไปนอนใต้ทะเลแน่คุณว่ามัย ผมคิดถึงtype206aทีไรก็เจ็บแปลบๆที่หัวใจจริง ต้องขอโทษด้วยน่ะครับที่รือฟื้น type206aมันก็เป็นเรือฝึกที่ดีราคาถูก ใครที่อยากถอยมือหนึ่งมาฝึกคงสมใจเพราะมันดีกว่าtype206aแน่นอน แต่ราคามากกว่า3เท่า อีกกี่ปีเราถึงจะใด้เรือดำน้ำต้องขอโทษจริงน่ะครับ ผมแค่อยากบอกความรู้สึกเสียดายขอมผม นี้แค่ความคิดของผมคนเดียวน่ะครับ ถ้าพิมพ์ผิดก็ขอโทษด้วย
คิดเล่นๆ ไหนๆเราก็ขาดทั้งเรือผิวน้ำและใต้น้ำ ก็ไปเจรจาขอซื้อ F122 ที่ปลดประจำการไป 2 ลำ แล้วรวมค่าตัวเรือ 206 มาด้วยสัก 2 ลำ
โดยให้เขาถอดอาวุธออก (ใส่กลับทีหลัง) แล้วอ้างว่าเยอรมัน แถมเรือดำน้ำมาใช้ในการฝึกปราบเรือดำน้ำก็สิ้นเรื่อง คงไม่มีใครค้านหรอก
ผมว่าดีลนี้ไม่น่าจะถึง 200 M$ แต่ได้ครบเลย U206 ใช้ฝึก 10 ปีก็ได้ของใหม่พอดี
เห็นด้วยกับท่าน Obeone ครับ ถ้าทร.จะได้งบจัดหาเรือดำน้ำ 3 ลำ 30,000 ล้านบาทจริง คงไม่จัดหาเรือมือสองอีกแล้วครับ
ส่วนการที่เยอรมันจะต่อเรือชั้น type 206A หรือ ทำการ redesign แบบเรือ type 206A ใหม่เพื่อเราโดยเฉพาะตามที่ท่าน RAF เสนอนั้น ทางเยอรมันอาจจะทำให้ได้ แต่ราคามันจะสูงแน่ครับ เพราะสร้างจำนวนน้อย ซึ่งแบบนี้ตัดใจเลือก type-210 mod ไปเลยดีกว่าครับ ไม่เอา AIP ก็ได้ ซึ่งราคาจะต่ำลงมา
อย่างน้อย 3 ลำ และน่าจะงบไม่มากนัก ก็ออกมาแนวๆฟิลิปปินส์ ซึ่งต้องการ 3 ลำเข่นกันและงบไม่มาก ผมว่าเกาหลีคงไม่ทิ้งโอกาสนี้แน่นอนครับ คิดเหมือนป๋าจูลดาสครับว่า มียอด 6 ลำจาก 2 ประเทศให้ลุ้นแบบนี้ ถ้ามีการออกแบบให้มีระวางไม่เกิน 1000 ตัน ในราคาราวๆ 4000-5000 ล้านบาท หรือไม่ถึง 200 ล้านเหรียญ แบบนี้ผมว่ามีแต่เกาหลีที่จะทำราคาแบบนี้ได้ครับ อาจจะมีการปรับแบบเรือชั้น KSS-500A ใหม่ทั้งหมดก็เป็นได้ และถ้า ทร. เกิดโชคดีได้งบจัดหาไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาทจริง ก็คงไม่ได้มาแค่ 3 ลำครับ
อ่าวไทยตื้นตั้งแต่ 20-30 เมตร และใกล้แหลมญวณก็ลึกไม่ถึง 200 เมตรเท่านั้นครับ(ถ้าจำไม่ผิดน่าจะประมาณ 150-180 เมตร) เรือ ขนาด 1000 ตันหรือต่ำกว่าน่าจะเหมาะสม แต่ ทร. วางขนาดเรือไว้ 500-3000 ตันเลย แสดงว่าคงต้องการเรือไว้ออกไปทำภาระกิจนอกอ่าวไทยด้วย ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า เรืออาจจะไม่ได้ต้องการแบบเดียว อาจจะต้องการ 2 แบบ 1 แบบสำหรับพื้นที่อ่าวไทย และ อีก 1 แบบสำหรับนอกพื้นที่อ่าวไทย
อ่าวไทยมีตะกอนจากปากแม่น้ำเยอะครับ ทำให้น้ำขุ่นมาก ระดับความลึกเท่านี้ ใช้สายตามองหาเรือผมว่าไม่น่าจะเห็น ถ้าตะกอนจากปากแม่น้ำน้อยมากแบบฝั่งอันดามัน ความลึกไม่ถึงไม่ถึง 100 เมตร คงขึ้นฮ.ไปมองหาได้เลย
เรื่องการมองเห็นเรือดำน้ำใต้น้ำได้จากอากาศยาน สามารถมองเห็นได้จริงครับ ซึ่งความลึกที่สามารถมองเห็นเรือดำน้ำใต้น้ำได้ขึ้นอยู่กับความใสของน้ำและ ความสว่างของแสงแดด แต่ถ้าจะเห็นลึกไปเป็นร้อยเมตรนี่น่าจะลำบาก โดยเหตุผลรองรับสามารถแบ่งออกได้เป็นเหตุผลในทางฟิสิกส์และเหตุผลในทาง ปฏิบัติ
สำหรับเหตุผลในทางฟิสิกส์ความเข้มแสงถูกลดทอนในน้ำได้จาก 3 ตัวแปร ได้แก่ การสะท้อนที่ผิวน้ำ การกระจายเนื่องจากแสงกระทบอนุภาคในน้ำ และการถูกดูดกลืนพลังงานจากโมเลกุลของน้ำ ซึ่งการถูกดูดกลืนพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการลดทอนความเข้มแสงในน้ำ โดยน้ำทะเลสามารถดูดกลืนแสงในย่านสีแดงได้ดี (ทำให้น้ำทะเลดูเป็นสีน้ำเงิน) ตัวอย่างจากกราฟทางซ้ายจะเห็นได้ว่าแสงในย่านความยาวคลื่น 450-500 nm (แสงสีน้ำเงิน) จะมีอัตราการถูกดูดกลืนน้อยที่สุด ส่วนกราฟทางขวาแสดงให้เห็นว่าที่ความลึกตั้งแต่ 40 เมตรเป็นต้นไปแสงจะทะลุทะลวงไปได้น้อยกว่า 50% และที่ความลึก 100 เมตรจะเหลือความเข้มแสงอยู่ไม่ถึง 5% โดยเส้น I II III และ 1-9 แสดงถึงความใสของน้ำในระดับต่างๆ (คลิกที่รูปเพื่อดูเวบต้นฉบับ)
ตัวอย่าง อีกภาพแสดงให้เห็นถึงการทะลุทะลวงของแสงลงไปใต้น้ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแสงส่วนมากจะไม่สามารถทะลุทะลวงลงไปได้เกินความลึก 50 เมตร มีเพียงแสงสีเขียวและม่วงที่ลงไปได้ถึงประมาณ 100 เมตร และแสงสีน้ำเงินที่ลงไปได้ถึงประมาณ 200 เมตร (ที่ความลึก 200 เมตร ความเข้มแสงจะเหลือเพียงไม่ถึง 0.01% โดยที่ความลึกดังกล่าว จะเป็นความลึกสูงสุดที่สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตด้วยการสังเคราะห์แสงได้)
การ ดูดกลืนแสงดังกล่าวหมายถึงการเดินทางของแสงทางเดียว ซึ่งการมองเห็นวัตถุใต้น้ำที่ไม่ส่องแสงด้วยตัวเองจะต้องอาศัยการเดินทางของ แสงเป็นระยะทาง 2 เท่า (ไปและกลับ) ซึ่งหมายความว่าที่ความลึก 50 เมตร แสงจะต้องใช้เดินทางไป-กลับเป็นระยะทาง 100 เมตร และความเข้มแสงจะถูกดูดกลืนไปกว่า 95% หมายความว่าเราแทบจะมองไม่เห็นอะไรใต้น้ำที่ความลึก 50 เมตรได้เลย
ส่วน เหตุผลในทางปฏิบัติสามารถดูได้จากตัวอย่างภาพถ่ายเรือดำน้ำจากทางอากาศที่่ มีอยู่ทั่วไปในอินเตอร์เนต ซึ่งภาพแรกเป็นภาพเรือดำน้ำชั้น Collins ที่ความลึกใต้ผิวน้ำ โดยสังเกตว่าน้ำค่อนข้างใสและเราสามารถมองเห็นลงไปถึงด้านบนของตัวเรือ แต่บริเวณข้างเรือที่อยู่ลึกลงไปแทบจะกลืนไปกับสีของน้ำ ซึ่งหมายความว่าเรามองแทบไม่เห็นส่วนที่กว้างที่สุดของข้างเรือ ซึ่งดูจากแปลนเรือแล้วถ้าเรืออยู่ใต้ผิวน้ำ ข้างเรือส่วนที่กว้างที่สุดจะอยู่ที่ความลึกประมาณ 15 เมตร
อีกภาพเป็นภาพเรือดำน้ำชั้น Los Angeles ใต้ผิวน้ำเช่นเดียวกัน จะสังเกตได้ว่าน้ำจะใสเช่นเดียวกับภาพแรกและเราสามารถมองเห็นด้านบนของตัวเรือได้ชัดเจน แต่บริเวณข้างเรือที่อยู่ลึกลงไปสีจะกลืนไปกับน้ำเช่นเดียวกัน ซึ่งดูจากแปลนเรือแล้วข้างเรือดังกล่าวจะอยู่ที่ความลึกประมาณ 15 เมตร ถ้าเรืออยู่ใต้ผิวน้ำเช่นเดียวกัน
จากเหตุผลทางฟิสิกส์และหลักฐานทางภาพถ่าย จึงสรุปได้ว่าเราสามารถมองเห็นเรือดำน้ำลงไปใต้น้ำได้ประมาณ 15 เมตรเท่านั้น และหากเรือดำน้ำอยู่ที่ความลึกมากกว่านั้น ก็จะไม่สามารถมองเห็นเรือดำน้ำได้ ข้อสังเกตอีกอย่างคือรูปถ่ายต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปบนอินเตอร์เนตที่สามารถมองเห็นเรือดำน้ำใต้ได้ จะเป็นรูปถ่ายเรือที่ใต้ผิวน้ำทั้งสิ้น แต่ไม่มีรูปถ่ายเรือดำน้ำใต้น้ำที่อยู่ลึกลงไปกว่าใต้ผิวน้ำเลย