หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


พระเอกผมเปิดตัวแล้ว กองทัพเรือนิวซีแลนด์เลือกจรวดSea Ceptorในโครงการอัพเกรดเรือฟริเกตุชั้นANZAC

โดยคุณ : superboy เมื่อวันที่ : 21/10/2013 14:03:06

http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=1282

MBDA’s Sea Ceptor Air Defence System Selected for Royal New Zealand Navy’s ANZAC Frigate Upgrade

The New Zealand MoD has confirmed its preferred tenderers for the Royal New Zealand Navy’s (RNZN) ANZAC Frigate Systems Upgrade project to include MBDA as the provider of Sea Ceptor for the Local Area Air Defence (LAAD) system; subject to the New Zealand (NZ) Government’s final approval to proceed. Sea Ceptor will equip frigates HMNZ Te Kaha and Te Mana with the latest generation naval air defence system capable of protecting not only the host ship but also combined joint allied forces in the vicinity.

 

เนิ้อข่าวไม่มีอะไรมากนัก แค่นิวซีแลนด์ยืนยันว่าจะติดตั้งจรวดSea Ceptor บนเรือฟริเกต HMNZ Te Kahaและ HMNZ Te Mana ของตนเอง เรือรุ่นนี้ปรกติมีท่อยิงMK-41อยู่แล้ว8ท่อซึ่งสามารถบรรจุESSMได้ถึง32นัด ก็คงต้องดูกันอีกทีว่านิวซีแลนด์จะเลือกการติดตั้งแบบไหนใส่รวมในท่อหรือติดแยกออกมาต่างหาก เป็นจรวดที่อยากให้ประเทศไทยซื้อมาใช้งานเหลือเกินกับเรือลำอื่นๆที่ไม่มีจรวดต่อต้านอากาศยานและเรือฟริเกตลำใหม่ในอนาคต

 





ความคิดเห็นที่ 1


Sea Ceptor คือจรวด CAMM รุ่นใช้งานทางทะเล ซึ่งพัฒนามาจากจรวด aim-132 asraamอีกที มีระยะยิงประมาณ25กม.และเหมาะจะติดกับเรือเราหลายรุ่น เพราะไม่ต้องมีเรดาร์ติดตามเป้าหมายหรือนำวิถีให้แต่อย่างใด สามารถยิงได้จากท่อVLSหลายแบบทั้งแพค4และแพคเดี่ยวตามเรือที่ใช้งาน เป็นจรวดที่ใช้ป้องกันตัวเองได้ดีในระดับหนึ่งโดยไม่ต้องลงทุนมากมายเท่าไหร่ MBDAพร้อมขายกับประเทศที่สนใจหลังจากที่อังกฤษเซ็นสัญญาเพื่อใช้กับเรือ Type23 และ Type 26 ของตัวเองไปแล้ว อนาคตพุ่งขึ้นมาเบียดVL MICA ได้เลยนะ

Sea Ceptor does not require the dedicated tracker/illuminator radars on which semi-active systems depend


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/10/2013 20:01:39


ความคิดเห็นที่ 2


อืมมม น่าสนใจจริงๆ ด้วยครับ เพราะเรือนี้เป็นชั้นเดียวกับ Anzac ของออสเตรเลีย ซึ่งสามารถติดตั้ง VLS (Mk.41) ได้ถึง 2 ชุด 16 Cells เท่าที่ทราบในท่อยิงเดิมบรรจุเพียงแค่ Sea Sparrow ได้ท่อละลูกครับ แต่...ถ้าบนเรือมี ESSM อยู่แล้ว คงไม่น่าจะติดตั้งเพิ่มครับ น่าจะแบ่งมาใส่เจ้า Sea Ceptor สักครึ่งนึงมากกว่า เพื่อลดช่องว่างในการป้องกันภัยทางอากาศ เนื่องจากจรวดแบบ Semi Active Radar Homing อย่างเจ้า ESSM นั้น มีข้อจำกัดในการใช้ระบบ illuminater ตลอดการปล่อยจนกว่าจนชนหรือพลาดเป้า การมีเจ้า Sea Ceptor ก็น่าจะมาเสริมการป้องกันในระยะใกล้สำหรับภัยจากอวป. เพราะมันเป็นจรวดแบบ ยิงแล้วลืม (Fire and Forget) สามารถยิงได้ต่อเนื่องหลายๆ ลูก เพื่อต่อตีเป้าหมายหลายเป้าหมายในช่วงเวลาเดียวกัน 

ปล. ใจจริงผมอยากให้มีการพัฒนา Iris-T SL รุ่นใช้งานทางทะเล ที่บรรจุใน Canister แบบ Quad Pack (เหมือนเจ้า Sea Ceptor หรือ ESSM ) มากกว่าครับ ถ้ามีจริงๆ ก็จะน่าสนใจไม่น้อย เพราะมันมีระยะยิงถึง 40 กม. เลยนะครับ แต่ขนาดของมันก็คงจะใหญ่(ยาว)กว่าพอสมควร 

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 20/10/2013 07:42:17


ความคิดเห็นที่ 3


น่าสนใจตรงที่ระยะยิงมากกว่าSadralแลบะไม่ยุ่งยากกับการilluminetor แต่จะติดตั้งบนเรืออะไรดี

เรือหลวงตาปี คีรีรัฐ มงกุฏ ก็ใกล้ปลดระวางแล้ว

ถ้าเป็นเรือชั้นเจ้าพระยา กระบุรี ไม่รู้ว่าโครงสร้างเรือสามารถทำได้รึเปล่า แล้วจะคุ้มค่ามั้ย

เรือOPVชั้นปัตตานีและกระบี่ ถ้าติดตั้งคงจะเกินตวามจำเป็น

เรือจักรีมีSadral ถ้าจะติดเอาESSMดีกว่า 

แต่ถ้าทร.มีแผนต่อเรือOPVกระบี่ขยายแบบเป็นLight Frigateก็น่าจะติดตั้งได้ครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 20/10/2013 08:28:46


ความคิดเห็นที่ 4


ผมมองไปที่อนาคตมากกว่าครับเรือเก่าๆติดไปก็เท่านั้น เรือใหม่ๆอย่างหลวงอ่างทองที่ตีเป็นsuperstructrueด้านหน้าซัก16ลูกก็ได้ เรือหลวงปัตตานีใส่superstructrueฝังท่อเดี่ยวตรงปืน20มม.ฝั่งหละ4-8ลูกก็ยังไหว แล้วเลื่อนปืนกล20มม.ไปข้างหน้านิดหนึ่ง แม้แต่เรือหลวงนเรศวรและเรือฟริเกตdsmeก็สามารถจับยัดได้เลย  แต่ที่เน้นจริงๆก็คือเรือฟริเกตธรรมดาขนาด2500-3000ตันที่เราจะต่อในอนาคต ซึ่งก็คงหลังจากซื้อเรือดำน้ำไปแล้วนับจากนี้ก็คงประมาณ10ปีหละครับ

 

จรวดจะส่งให้อังกฤษได้จริงก็ปี2016 นิวซีแลนด์ก็อาจจะปี2018 เรามีความต้องการจริงเอามาใส่เรือหลวงปัตตานี อ่างทองไปก่อนพอเรือฟริเกตุธรรมดาชุดใหม่พร้อมค่อยใส่อีกที  แต่ถ้าเรารับOHPมาจริงๆแล้วใส่เจ้านี่แทนESSMซัก16นัดจะประหยัดไปได้อีกโขเลยนะ ส่วนเรือหลวงกระบี่ปปล่อยเขาไปตามยถากรรมเถอะ ไม่มีประโยชน์จะคิดถึงขนาดลำที่2ยังไม่รู้อนาคตเลย

 

ส่วนIRIS-T Naval คงเป็นแค่แนวความคิดเท่านั้นแหละครับชอบแค่ไหนก็ต้องทำใจยอมรับสภาพ

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 20/10/2013 09:19:30


ความคิดเห็นที่ 5


เรือที่มีท่อMK-41อยู่แล้วก็จับยัดได้เลย เรือที่ไม่มีเราใช้ใช้ท่อVLSตรงรุ่นของจรวดที่มีทั้งท่อเดี่ยวและแพค4แบบในภาพ เป็นที่มาของ4ท่อ16นัดที่ผมพูดถึงนั่นเอง ประหยัด สะดวกสบาย


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 20/10/2013 09:56:05


ความคิดเห็นที่ 6


ผมคิดว่า คงมีเรือรบของเราที่จะติด Sea Ceptor ได้ไม่กี่ลำ

ถึงแม้ว่าเจ้า Sea Ceptor จะเป็น Active ที่ไม่ต้องการนำทางตลอดเวลาจนถึงเป้าหมาย แต่ก่อนที่จะยิงเจ้า Sea Ceptor ออกไปได้ อย่างน้อยเรดาห์ประจำเรือต้องตรวจจับได้ก่อนว่า มีอาวุธปล่อย(ขนาดเล็กๆ บินเรี่ยน้ำ) มุ่งหน้ามาจากทางไหน กำลังจะไปทางไหน ความเร็วประมาณเท่าไหร่ เพื่อป้อนข้อมูลเบื่องต้นให้กับเจ้า Sea Ceptor (ดังนั้นเรือจีน ที่ใช้เรดาห์จีน คงไม่สามารถป้อนข้อมูลให้เจ้า Sea Ceptor)

ซึ่งคงจะมีเพียงไม่กี่ลำของกองทัพเรือไทยที่มีเรดาห์ที่ตรวจจับได้ละเอียดแม่นยำขนาดนั้น

ผมว่า Sea Ram หรือ ว่า RIM 116 ที่เป็นชุดพร้อมเรดาห์ในตัวยังจะติดตั้งง่ายกว่า(แต่กองทัพเรือไทยก็ยังไม่เคยสนใจ เพราะเนื่องจากจากเรื่องราคามั้ง)

 

โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 20/10/2013 12:35:31


ความคิดเห็นที่ 7


Sea Ceptorเป็นจรวดที่ต้องใช้ท่อยิงแบบVLS เพราะฉะนั้นมันจำกัดอยู่เฉพาะเรือรบที่มีพื้นที่ว่างอยู่แล้วหละครับ แต่อย่างเรือที่ผมยกตัวอย่างก็มีทั้งพื้นที่ว่างและระบบรองรับอยู่แล้ว แม้จะไม่ดีเลิศเลอแต่ก็ไม่ขี้เหร่พอใช้เตือนภัยให้กับตัวเองได้

 

เรือหลวงปัตตานีใช้เรดาร์ Selex RAN-30X/I SHIPBORNE MULTIMODE SURVEILLANCE RADAR ของอิตาลี ใช้Atlas Elektronik เป็น CMS

 

เรือหลวงอ่างทองใช้เรดาร์ Terma SCANTER 4100 และTERMA C-Flex เป็น CMS ของเดนมาร์คทั้งคู่

 

ส่วนจรวดRAMมันยิงได้แค่11กม.เองห่างกันตั้งเยอะ เป็นได้แค่CIWSไม่ถึงกับShort Range Missileเทียบกันตรงๆไม่ได้ แต่ราคาผมว่าเทียบกันได้อยู่นะจะว่าไป

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 20/10/2013 15:51:50


ความคิดเห็นที่ 8


   เห็นด้วยกับท่าน superboy ตรงที่ว่าเรือใหม่ๆที่เพิ่งต่อลงน้ำนั้นน่าจะมีการปรับปรุงติดตั้งระบบจรวดระยะใกล้ที่มีขีดความสามารถเป็น  CIWs และต่อตีอากาศยานได้  เช่นเรือชั้นปัตตานี   เรือหลวงอ่างทอง  หรือ แม้แต่ 911 

    ระบบนี้ก็มีระบบอื่นที่เทียบเท่าในท้องตลาดอยู่  เช่น

K-SAAM  จากเกาหลี  ระยะยิง 20 KM.   ที่มีหัวค้นหา 2 แบบ   มีขีดความสามารถต่อตีได้ทั้งอากาศยานและ เป็น CIWs  เช่นกัน    และจากภาพเรือ  FFX  เห็นท่อยิง  K-VLS แบบ 4 cell  ด้วย   ก็น่าจะออกมาเพื่อการแข่งขันกับเจ้าอื่นๆ

RAM  block-2    จากเมกา   ระยะยิงประมาณ 20 Km.  เช่นกัน   แต่ยังคงหัวค้นหาอินฟาเรดอยู่   ก็เป๋็นแบบ fire and forget  เหมือนกับ 2 เจ้าข้างบน  และสามารถยิงจากท่อ  Exls  stand alone ได้  ซึ่งสั้นและเบา

 

   ทั้ง  3 แบบน่าจะติดตั้งบนเรือทั้งสองที่ว่านั่นได้ครับ




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/10/2013 11:53:46


ความคิดเห็นที่ 9


   เรือชั้นปัตตานีนั้น   ผมว่าพื้นที่ดาดฟ้ายกข้างโรงเก็บฮ.  น่าจะสามารถยัด  VLS แบบ  Exls ได้    โดยอาจจะติดตั้งอีกด้านที่ตรงข้ามกับปืน 20 mm  ได้    จริงๆติดตั้งแค่ชุดเดียวยิงได้ 16 นัด  ก็เหลือเฟือแล้วครับ  

 ไม่ทราบว่า  VLS -ของ  sea ceptor  นั้นมีขนาดมิติใกล้เคียง  Exls  แค่ไหน     ถ้าใกล้เคียงกันก็น่าเล่น

ส่วน  K-VLS  แบบ  4 cell  (ถ้ามีจริง เห็นแต่ภาพโมเดลติดตั้งกับเรือ FFx )   คงจะติดตั้งยากหน่อย  เพราะค่อนข้างลึกทีเดียว  ประมาณ 7 เมตร  ในขณะที่ EXls  น่าจะลึกไม่เกิน 4-4.5 เมตร 

 

ส่วนระบบเรด้าร์ของเรือชั้นปัตตานีที่ใช้เรด้าร์อำนวยการรบแบบ  RAN 30 X/I  นี่  มันมี mode  สำหรับ X-band ที่ให้  update rate สูง 40 รอบ/วิ  และมีระยะตรวจจับที่ 25 Km.  พอดีเลย     สามารถทำการตรวจจับเป้าบินเรี่ยน้ำแบบจรวดต่อตีเรือได้     ซึ่งป้อนข้อมูลให้เรด้าร์ควบคุมการยิง  TMX/EO  เพื่อเล็งปืน super rapid ได้เพื่อจัดการจรวดต่อตีเรือรบ

  ดังนั้น   ระบบตรวจจับบนเรือชั้นปัตตานีน่าจะรองรับระบบจรวด SAM  ระยะใกล้ทั้ง 3 แบบได้อยู่แล้ว      แต่ไม่แน่ใจว่าสำหรับ  sea  ceptor  ต้องการเรด้าร์ชี้เป้าในช่วงต้นเหมือน  RAM   และ  K-SAAM  หรือเปล่า     พอจรวดวิ่งออกไปแล้วที่เหลือก็ให้จรวดนำวิถีด้วยตนเองต่อไป     แต่ผมว่าควรจะมี    เพราะทั้ง  K-SAAM   RAM  ก็ไม่ต้องพึ่งพาการ illuminate  จากเรด้าร์   แต่เห็นยังต้องใช้เรด้าร์ควบคุมการยิงอยู่          ซึ่งถ้าจำเป็นต้องมี    ก็คงต้องติดตั้งเรด้าร์ควบคุมการยิงตัวที่สองบนหลังคาโรงเก็บฮ.

  การปรับปรุงน่าจะใช้เงินปรับปรุงในช่วง 500-800  ล้านบาทสำหรับเรือ 1 ลำได้นะครับ (ราคาทั้งจรวด 16 นัด  แท่นยิง และเรด้าร์ควบคุมการยิง)

  ราคา  RAM  block-2 ที่ผู้ผลิตส่งมอบให้เยอรมันและทร.อเมริกา  ในล๊อตการผลิตต่ำ  ราคาตกลูกละประมาณ  22  ล้านบาทครับ   ผมว่า  sea ceptor  น่าจะราคาไม่หนีกันนัก    ยกเว้น  K-SAAM  ที่น่าจะถูกกว่าเพื่อน

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/10/2013 12:11:24


ความคิดเห็นที่ 10


เขาว่ากันว่า  Sea Ceptor จะใส่ในท่อExls แบบบรรจุ4นัดด้วยหนะครับท่านนีโอ แต่ยังทดสอบไปไม่ถึงผมก็เลยไม่กล้ายืนยัน ส่วนเรือของอังกฤษที่จะติดตั้งคือType 26 ผมไม่เห็นเรด้าร์ควบคุมการยิงเลยนะ หรืออาจจะตาไม่ดีก็ได้มั้งครับ

เรือฟริเกตสมรรถนะสุงติดESSM SM-2 ของเราจะมีก็มีไปไม่ได้แปลกอะไร แต่ผมอยากให้ติดจรวดแบบนี้กับเรือฟริเกตทั่วไปและเรือรบหลักเพิ่มด้วย เลือกซักรุ่นให้เป็นมาตราฐานเอาของที่ไม่ใช่อเมริกา เพราะไม่อย่างนั้นมันจะผูกขาดเกินไปไม่ดีนัก

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 21/10/2013 14:03:06