หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


จตุภาคีในการพัฒนาอุสาหกรรมทางทหาร

โดยคุณ : Sam เมื่อวันที่ : 22/10/2013 02:26:16

อยากทราบว่าทางรัฐบาล กลาโหม และ DTI ใด้มีการระบุประเทศที่เราต้องการใด้มาเป็น Partner ในการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหารในบ้านเราหรือไม่ครับ ?  ผมคิดว่ามันจำเป็นมากๆเลยนะครับ ในการที่จะทำให้เราก้าวหน้าไปใด้อย่างยั่งยืน แนวคิดสำคัญคือการผสานผลประโยชน์ของ Partner  ในใจผมคิดถึง Sweden, Korea.  Israel และไทยครับ

เอาหัวข้อไปก่อนนะครับ แลกเปลี่ยนทัศนะกันแล้วผมจะยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมสัก 2 กรณี





ความคิดเห็นที่ 1


สวีเดน ระบบ network centric

เกาหลีใต้ เทคโนโลยีการต่อเรือรบ

จีน เทคโนโลยีจรวดและระบบนำวิถีจรวด

ยูเครน เทคโนโลยีการผลิตรถหุ้มเกราะแบบต่างๆ

โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 20/10/2013 14:00:06


ความคิดเห็นที่ 2


^

ขาดUAVอิสราเอลครับ

 

ว่าแต่เราไม่ไปทำปืนใหญ่อัตตาจรกับใครบ้างเหรอ เห็นแต่เอาM71มาโมใส่รถบรรทุกทำเอง

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 20/10/2013 14:13:35


ความคิดเห็นที่ 3


        สวีเดน น่าสนใจสุด เป็นราชอาณาจักรด้วยกัน ความสนิทสนมน่าจะดีกว่า อีกอย่างเทคโนโลยีเค้าก็พัฒนาอยู่ในขั้นเทียบเคียงกับชาติอุตสาหกรรมอาวุธอื่นๆ เรือสหรัฐ ก็ยังใช้เรดาร์ Zaab ปืนโบเฟอร์ อีก ก็เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย.. สาเหตุที่เค้าต้องมีอาวุธที่เข้มแข็งก็เพราะเค้าเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีเขตแดนติดกับโซเวียตในอดีต..เพราะฉะนั้นอาวุธที่สวีเดนสร้าง เป้าหมายหลักคือต่อกรกับพี่เบิ้มอย่าง โซเวียต..ในกรณีที่เกิดเหตุจริงๆ ในช่วงสงคราวมเย็น เพราะฉะนั้นด้วยประสบการณ์ที่ยาวนาน และเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงหลักนิยมของกองทัพสวีเดนที่ใช้กองทัพเล็ก เพื่อต่อต้านกองทัพใหญ่ น่าจะเหมาะกับกองทัพเรา จับมือกะเค้าโลด..... 55555 ส่วนประเทศอื่นๆ ก็ว่าไปตามกรณี

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 20/10/2013 14:46:29


ความคิดเห็นที่ 4


เห็นด้วยครับผมว่าสวีเดนน่าคบหาที่สุด ในด้านความร่วมมือทางทหาร เนื่องจากหลังจากเราซื้อกริพเพนเค้ามาแล้ว เค้าดูแลเราดีมาก รวมไปถึงการจัดการระบบ network ให้เราด้วย มาร่วมทุนกับบริษัทในไทย และอนาคตอาจจะมีโครงการใหม่เข้ามาอีกค่อนข้างแน่นอน การดูแลดีนี่ผมไม่ได้หมายความว่าเค้าทำให้เราฟรีนะครับ แต่หมายถึงการทำให้เรารู้สึกว่าเค้าให้ความสำคัญกับเรา

ต่อมาผมสนับสนุนเกาหลี เนื่องจากโครงการเรากับเกาหลีผมเชื่อว่ายังจะมีตามมาอีกแน่ๆ ไม่นับรวมโครงการต่อเรือฟริเกตที่ยังมีอยู่ ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจมากว่าเราจะได้ใช้บริการอาวุธของเกาหลีอีกแน่

จีนนี่ความสัมพันธ์ในปัจจุบันเข้าขั้นมหามิตรสุดๆแล้ว ก็มีโอกาสที่เราจะซื้อหาอาวุธของจีนในอนาคต แต่ด้วยความที่เทคโนโลยีไม่ขึ้นตรงกับนาโต้ ก็อาจจะทำให้ยากซักหน่อยถ้าจะจัดหาอาวุธกับทางจีน

อิสราเอลนี่ผมไม่ค่อยสนับสนุนให้ร่วมด้วยเลยไม่ค่อยถูกโฉลกอาวุธค่ายนี้เลยจริงๆ

ยูเครนนี่เราซื้ออาวุธเค้าเริ่มเยอะแล้วนะครับ แต่ไม่เห็นเค้ามาเกี่ยวข้องเรื่องอื่นกับเราเลยอ่ะ ขายๆๆแค่นั้น

 

ปล.ที่พิมพ์มาทั้งหมดเกิดขึ้นจากข้อมูลของผมที่ไม่แน่นนะครับ ผิดพลาดยังไงดักทางไว้ก่อน อิอิ

โดยคุณ mutuhagi เมื่อวันที่ 20/10/2013 19:28:03


ความคิดเห็นที่ 5


เห็นด้วยว่าอิสราเอลกับยูเครนไม่ค่อยน่าคบเท่าไหร จริงๆแล้วเกาหลีเค้าก็มีผลิตภัณท์หลายอย่างรวมถึงยานเกราะ รถถังด้วย แถมชื่อยี่ห้อ Samsung ก็คุ้นเคยเป็นอย่างดี  

โดยคุณ jeepy เมื่อวันที่ 21/10/2013 14:18:19


ความคิดเห็นที่ 6


ขอบพระคุณที่แสดงตวามคิดเห็นครับ ขอยกกรณีตัวอย่างเพื่อต่อยอดนะตรับ

ในปี 2006-07 บ.อุตสาหกรรม Electronics แห่งหนึ่งในสหรัฐต้องการหาฐานการผลิตใหม่สำหรับชิ้นส่วน Electronicsที่ใช้ในการควบคุมการนำวิถีของ Tomahawk, Patriot และ จรวดร่อนแบบอื่นๆ ซึ่งเดิมชิ้นส่วนเหล่านี้ผลิตในสหรัฐแต่ประสพปัญหาที่ Supplier ในสหรัฐ ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคำสั่งผลิตเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชั่วโมงแรงงานสูง ประกอบด้วยงาน Manual มากมาย เมื่อพิจารณาจากรายได้แล้วพบว่าสามารถทำเงินได้มากกว่าเมื่อเอาเครื่องมือ+แรงงานที่มีอยู่ไปทำการผลิตงาน Commercial ที่มี Demand มากกว่าเป็นหลายๆพันเท่า

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 22/10/2013 00:52:44


ความคิดเห็นที่ 7


มี บ.ขนาดกลางแห่งหนึ่งในไทยที่ทำธุรกิจกับบริษัทสหรัฐที่ว่า แต่ไม่ใด้รับงานใน tomahawk control subunit เพราะในตอนนั้นเราไม่มีเครื่องมือที่จำเป็นและ บ.สหรัฐที่เป็นเจ้าของ Productยังไม่มั่นใจใน บ.ของเราในหลายๆเรื่อง. กลางปี 2006 หัวหน้าคณะทำงานของ บ.ไทยแห่งนั้นได้เดินทางไป USA เพื่อเลือกซื้อเครื่องจักรมือสอง และประชุมรูปแบบการจัดการโครงการ และรายละเอียดในการจัดการเงินทุนสำหรับโครงการ ผลคิอ Test run เกิดขึ้นในปลายปี 2006 โดยใช้เครื่องมือเท่าที่มีในโรงงานไปก่อน ผลการทดสอบเบื้องต้นพบว่างานมีคุณภาพดีพอๆกับที่ผลิตใน USA.

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 22/10/2013 01:09:18


ความคิดเห็นที่ 8


ต้นปี - กลางปี 2007 เครื่องมือสองที่ได้รับการ Overhaul เดินทางมาถึงไทยและติดตั้งทดสอบเสร็จ ทาง บ.ได้ทำ Qualification lot ส่งไปทดสอบที่สหรัฐพร้อมทั้งปรับปรุงวัตถุดิบในการผลิตบางส่วน  ผู้ตรวจสอบจาก NASA เข้าตรวจรับรองกระบวนการผลิตในเดือน สิงหาคม 2007 แล้ว อุปกรณ์ส่วนย่อยในการควบคุม Tomahawk นี้ก็ผลิตในไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จากกรณีศึกษานี้จะเห็นได้ว่า 1) แม้จะเป็นแค่ส่วนเล็กๆในระบบอาวุธไฮเทคขนาดใหญ่ แต่มันเป็นสิ่งขาดไม่ได้  2) อุตสาหกรรมประเภทนี้ได้มาแล้วอยู่ยาว ถ้าเราไม่ทำเสียชื่อเสียเอง  3) เป็นอุตสาหกรรมที่มีความมั่นคงในตัวเอง ไม่หวือหวาตามสภาพเศรษฐกิจมากนัก 4) คู่ Partner ของเราจะมีความมั่นใจในศักยภาพของเรามากที่สุดเมื่อเรารู้/ยอมรับขีดความสามารถของตัวเองและไม่โอ้อวดความสามารถเกินตัว แต่ทำในสิ่งที่ให้คำมั่นเอาไว้อย่างจริงจังจนสำเร็จ

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 22/10/2013 01:32:17


ความคิดเห็นที่ 9


ทีนี้ก็ในทางปฏิบัตินะครับ การหา Partner นั้นเราต้องมองให้ไกลๆ เลยการซื้อขายในปัจจุบันไปไกลมากๆ ( สำหรับผม ระยะไกล้คือ 5ปี  ระยะกลาง 15-20 ปี  ระยะยาวที่ > 20 ปี )  และการตั้งโจทย์ในการที่จะทำให้ไครมาเป็น Partner กับเรามันไม่ใช่ว่าเขาอาจจะได้ขายอะไรให้เราในอนาคต  แต่ควรถามว่า เรามีข้อเสนอที่จะช่วยแก้ปัญหา(หรือสร้างโอกาส) ให้กับธุรกิจของเขาได้อย่างไร เน้นนะครับว่าธุรกิจ เพราะทุกชาติทุก บ. ที่มาเสนอขายอาวุธนั้นมีเป้าหมายคือผลกำไรทั้งนั้น

และในความเห็นผม Sweden คือสุดยอด Partner ในฝันตอนนี้ครับ ถ้าเราเสนอแผนในอนาคตให้เขาเห็นได้ว่าจะได้ประโยชน์อะไรในระยะยาวบ้าง..  และผมขอทำนายเอาไว้เลยว่าถ้าไทยไมีรีบ(อย่างชาญฉลาด)  Saab มีสิทธืแต่งงานกับประเทศแถวนี้ใน 3-5 ปี... ไม่เกินนี้

เอาแค่นี้ก่อนนะครับ กลัวเพื่อนบ้านมาอ่าน ถึงจะรู้ว่าเค้าก็คิดเองได้แต่ก็ไม่ไปช่วยเค้าคิด

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 22/10/2013 02:26:16