ผู้เขียนเคยได้ยินหลายคนพูดกันบ่อยเรื่องเครื่องบินสามารถมองเห็นเรือดำ น้ำใต้น้ำ (รวมถึงวัตถุใต้น้ำอื่น) ได้ลึกหลายสิบเมตร หรือเป็นร้อยๆ เมตร รวมทั้งมีภาพหลักฐานที่เครื่องบินสามารถถ่ายภาพจากเรือดำน้ำขณะดำอยู่ใต้น้ำ ได้ ซึ่งคำกล่าวอ้างดังกล่าวมักได้ยินหนาหูบ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงที่มีข่าว โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือ แต่คำกล่าวอ้างนั้นเป็นจริงมากน้อยเพียงใดคงต้องมาพิจารณาเหตุผลและหลักฐานประกอบกันต่อไป
เริ่มจากเหตุผลทางฟิสิกส์ แสงที่เดินทางจากอากาศลงไปสู่น้ำทะเลจะมีการสูญเสียอยู่ 3 รูปแบบ คือ การสะท้อน การกระจาย และการถูกดูดกลืน โดยการสะท้อนจะเกิดจากมุมของแสงที่ตกกระทบลงบนผิวน้ำและความเรียบของผิวน้ำ โดยการสะท้อนจะเริ่มมีผลต่อการสูญเสียความเข้มแสงที่มุมตกกระทบมากกว่า 60 องศาจากมุมตั้งฉากในกรณีของผิวน้ำที่เรียบ แต่ในทางปฏิบัติที่ผิวน้ำมีคลื่นจะส่งผลต่อมุมตกกระทบทำให้การสูญเสียมี มากกว่าที่คำนวณได้จากผิวน้ำที่ไม่มีคลื่น
การสูญเสียความเข้มของแสงเนื่องจากการสะท้อนที่มุมต่างๆ (ภาพจาก Water and Light in Underwater Photography)
การกระจายของแสงใต้น้ำเกิดจากการที่แสงกระทบกับอนุภาคในน้ำ ทำให้บางส่วนของแสงที่เดินทางไปยังวัตถุที่ต้องการมองเห็นกระจายไปยังทิศทาง อื่น ผลของการกระจายของแสงนอกจากทำให้สูญเสียความเข้มแสงแล้วยังทำให้ความชัดใน การมองเห็นวัตถุใต้น้ำลดลงอีกด้วย
การกระจายแสงแบบต่างๆ ในน้ำ (ภาพจาก Water and Light in Underwater Photography)
การสูญเสียความเข้มแสงแบบสุดท้ายคือการสูญเสียเนื่องจากการถูกดูดกลืน พลังงานโดยโมเลกุลของน้ำ ซึ่งการถูกดูดกลืนพลังงานนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการสูญเสียความเข้มของแสง ใต้น้ำมากที่สุด การดูดกลืนนี้จะมีปริมาณขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นของแสง โดยน้ำทะเลสามารถดูดกลืนแสงในย่านความยาวคลื่นสีแดงได้ดี ส่งผลให้น้ำทะเลและวัตถุใต้น้ำดูเป็นสีน้ำเงิน ตัวอย่างการคำนวณจากกราฟการดูดกลืนแสงพบว่าในน้ำทะเลลึกห่างฝั่งแสงสีแดงจะ ถูกดูดกลืนไป 40% ต่อระยะทาง 1 เมตร หมายความว่าที่ความลึก 1 เมตร แสงสีแดงจะส่องผ่านไปได้เพียง 60% และที่ความลึก 2 เมตร แสงสีแดงจะส่องผ่านไปได้ 60% ของความเข้มที่ 1 เมตรแรก หรือคิดเป็น 60% x 60% = 36% ของความเข้มแสงในอากาศ
การดูดกลืนพลังงานแสงในน้ำทะเลที่ความยาวคลื่นต่างๆ (ภาพจาก Water and Light in Underwater Photography)
ภาพรวมการสูญเสียพลังงานของแสงในน้ำ จากการสะท้อน การกระจาย และการถูกดูดกลืน (ภาพจาก studyblue.com)
จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าการสูญเสียความเข้มของแสงใต้น้ำเกิดจาก การสะท้อน การกระจาย และการถูกดูดกลืนพลังงาน โดยการถูกดูดกลืนพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด โดยในพื้นที่ทะเลลึกห่างฝั่งที่น้ำมีความใสมาก (กราฟเส้น I-IA-IB) แสงจะสามารถทะลุทะลวงไปถึงความลึก 40 ม. ได้น้อยกว่า 50% และที่ความลึก 100 ม. แสงจะเดินทางไปถึงได้น้อยกว่า 5% ส่วนในพื้นที่ทะเลใกล้ฝั่ง (กราฟเส้น 1-9) แสงจะเดินทางไปถึงความลึก 40 ม. ได้ไม่ถึง 1%
กราฟแสดงร้อยละของแสงที่สามารถทะลุทะลวงความลึกต่างๆ (ภาพจาก Marine Biology and Oceanography, FIU)
ความเข้มแสงเฉลี่ยที่ระดับความลึกต่างๆ (ภาพจาก Introduction to Oceanography, SCF)
ในกรณีของการมองเห็นวัตถุใต้น้ำที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเองจากจุดสังเกต เหนือผิวน้ำ หมายความว่าแสงจะต้องเดินทางจากผิวน้ำลงไปกระทบวัตถุใต้น้ำและเดินทางกลับ ขึ้นมาหาผู้สังเกตเหนือผิวน้ำ ทำให้แสงต้องเดินทางเป็นระยะทาง 2 เท่า (ไป-กลับ) ดังนั้นที่ความลึก 50 ม. แสงจะต้องเดินทางเป็นระยะทางรวม 100 เมตร กลับขึ้นไปยังผิวน้ำ ซึ่งจะเหลือความเข้มแสงน้อยกว่า 5% ในพื้นที่ทะเลลึกห่างฝั่งที่น้ำใสมาก ดังนั้นจากเหตุผลทางฟิสิกส์แล้วการมองเห็นวัตถุใต้น้ำที่ความลึก 50 ม. จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้แม้ในกรณีที่น้ำใสมาก
นอกเหนือจากเหตุผลทางฟิสิกส์แล้ว เรายังสามารถพิจารณาหลักฐานภาพถ่ายที่มีอยู่ทั่วไปบนอินเตอร์เนต โดยภาพแรกเป็นภาพเรือดำน้ำชั้น Collins ที่ความลึกใต้ผิวน้ำ สังเกตได้ว่าน้ำค่อนข้างใสและเราสามารถมองเห็นลงไปถึงด้านบนของตัวเรือ แต่บริเวณข้างเรือที่อยู่ลึกลงไปเกือบจะกลืนไปกับสีของน้ำ ซึ่งหมายความว่าเรามองแทบไม่เห็นส่วนที่กว้างที่สุดของข้างเรือ ซึ่งดูจากแปลนเรือแล้วถ้าเรืออยู่ใต้ผิวน้ำ ข้างเรือส่วนที่กว้างที่สุดจะอยู่ที่ความลึกประมาณ 15 เมตร
เรือดำน้ำ HMAS Rankin ที่ความลึก Periscope Depth (ภาพจาก Wikipedia)
ภาพ Diagram ของเรือดำน้ำชั้น Collins (ภาพจาก Model Drawing)
อีกภาพเป็นภาพเรือดำน้ำชั้น Los Angeles ใต้ผิวน้ำเช่นเดียวกัน จะสังเกตได้ว่าน้ำจะใสเช่นเดียวกับภาพแรกและเราสามารถมองเห็นด้านบนของตัว เรือได้ชัดเจน แต่บริเวณข้างเรือที่อยู่ลึกลงไปสีจะกลืนไปกับน้ำเช่นเดียวกัน ซึ่งดูจากแปลนเรือแล้วข้างเรือดังกล่าวจะอยู่ที่ความลึกประมาณ 15 เมตร ถ้าเรืออยู่ใต้ผิวน้ำเช่นเดียวกัน
เรือดำน้ำชั้น Los Angeles ที่ความลึก Periscope Depth (ภาพจาก Wikipedia)
ภาพ Diagram ของเรือดำน้ำชั้น Los Angeles (ภาพจาก Wikimedia Commons)
จากเหตุผลทางฟิสิกส์และหลักฐานทางภาพถ่าย จึงสรุปได้ว่าเราสามารถมองเห็นเรือดำน้ำลงไปใต้น้ำได้เฉลี่ยประมาณ 15 เมตรเท่านั้น และจะไม่สามารถมองเห็นเรือดำน้ำที่ความลึกมากกว่านั้นได้ ข้อสังเกตอีกอย่างคือรูปถ่ายต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปบนอินเตอร์เนตที่สามารถมองเห็นเรือดำน้ำใต้ได้ จะเป็นรูปถ่ายเรือที่ใต้ผิวน้ำทั้งสิ้น แต่ไม่มีรูปถ่ายเรือดำน้ำใต้น้ำที่อยู่ลึกลงไปกว่าใต้ผิวน้ำเลย
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่นับรวมถึงความแตกต่างระหว่างการตรวจพบเป้า กับการยืนยันเป้า ซึ่งการตรวจพบเป้าหมายถึงการที่สามารถตรวจจับเป้าที่อยู่ในระยะไกลออกไป หมายความว่าจะต้องมีระยะตรวจจับที่เพียงพอสำหรับพื้นที่ที่ต้องการค้นหา (ตัวอย่างเช่น เรดาร์ที่มีระยะตรวจจับเป้าประมาณ 20 ไมล์ สามารถใช้ในการลาดตระเวนค้นหาเป้าในพื้นที่ขนาด 100×100 ไมล์ได้) แต่การตรวจจับเป้าที่มีระยะสั้นมาก เช่นการใช้ MAD Sensor หรือการมองด้วยสายตา ซึ่งมีระยะตรวจจับใกล้มากไม่เกิน 1 ไมล์ (ระยะการมองเห็นจากเครื่องบินอ้างอิงตามคู่มือการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบ ภัย) หมายความว่าถ้าเป็นเครื่องบินจะต้องบินอยู่เหนือเป้าเกือบตรงๆ จึงไม่เหมาะกับการใช้ค้นหาเป้าในทางปฏิบัติ แต่จะเหมาะกับการใช้ยืนยันเป้าที่ถูกตรวจพบด้วยวิธีอื่นมากกว่า
ที่มา http://kapitaennem0.wordpress.com/2013/10/20/underwater_visibility/
แล้วระยะกล้อง เพอริสโคปมัน เรือดำน้ำต้องอยู่ลึกประมาณกี่เมตร ระยะกล้องเนี่ยผมว่าน่าจะมองเห็น (ก็กล้องมันโผล่เหนือน้ำมันก็เห็นสิวะ) แต่ปกติระยะดำปกติเรือดำน้ำเค้าดำกันลึกกว่า 50 เมตรแน่ๆ ผมว่า
ไม่จริงครับ
เรียน คุณ YAKUKASE
รบกวนอธิบาย "ไม่จริงครับ"
อะไร ที่ไม่จริง
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ผมว่า มันก็มีความเป็นไปได้นะครับ จากการที่เรามองจากที่สูงแล้วเห็นเรือดำน้ำ แต่ในระดับความลึกน่าจะไม่เกิน100เมตรนะครับ เพราะว่าถ้าลึกกว่า100เมตรนั้นในทะเบนั้นมันจะมืด แสงแดดเข้าไปไม่ถึง
ภาพเรือชั้นCollinsและLos Angelesเป็นภาพในพื้นที่ที่เป็นมหาสมุทร ถ้าเรือทั้ง2ลำ มาดำใต้ผิวน่ำในอ่าวไทยเราอาจจะไม่สามารถเห็นภาพได้ชัดเจนแบบนี้ เพราะนอกจากระดับตวามลึกแล้ว ความขุ่น(Turbidity)ของน้ำก็มีผลต่อการมองเห็น ทางฝั่งอ่าวไทยจะมีตะกอนจากบนฝั่งพัดออกสู่ทะเล ทำให้น้ำมีสีขุ่นไม่ใสเหมือนฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นมหาสมุทรอินเดีย แม้ว่าอ่าวไทยจะมีความลึกไม่มากการมองเห็นเรือดำน้ำที่ดำไม่ลึกมากก็ไม่ง่ายนัก
จากภาพทั้งสองภาพนั้นจะสังเกตเห็นว่าเรือดำน้ำทั้งสองภาพจะอยู่ถึงผิวน้ำอยู่แล้ว ซึ่งถ้าหากว่าอยู่ลึกลงไปอีกประมาณ 10 เมตรคาดว่าไม่น่าจะเห็นตัวเรือแล้วครับ
คงต้องลองไปถามนักบิน ทร. ของเราดูล่ะครับว่า เวลาบินผ่านเกาะจวง เกาะจาน เคยมองลงมาแล้วเห็นซากเรือ สุทธาทิพย์ ที่จมอยู่ในร่องน้ำ ลึกประมาณ 28-29 เมตรบ้างมั้ย ... ถามทั้งนักบิน ฮ. และเครื่อง Fix wing เลยครับ ... ซึ่งคำตอบที่จะได้รับ ผมว่า คงไม่มีนักบินท่านใดเคยมองเห็นเป็นแน่.
เท่าที่เคยอ่านเจอ ความใสของน้ำของน่านน้ำนั้นๆก็มีส่วน แต่ส่วนใหญ่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2จะมองหากล้องเพอริสโคปที่แหวกน้ำซะมากกว่า
ส่วนใหญ่ที่เคยเห็นตามภาพจะเห็นเรือดำน้ำก็คือในระดับความลึกกล้องเพอริสโคป แต่ถ้าลึกกว่านั้นก็กลมกลืนจนมองไม่เห็นแล้วครับ
หากบินสูงสภาพอากาศ เมฆ พวกนี้เองก็มีส่วน
ขอบคุณครับท่านกัปตันนีโมสำหรับกระทู้ดีๆครับ
ข้อมูลจากเวป http://www.agri.kmitl.ac.th/elearning/courseware/aquatic/1_5.html
แสง
สีของน้ำในมหาสมุทรนั้นมีตั้งแต่สีครามในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผลผลิตทางชีวภาพไม่มากนักจนถึงสีเขียวเหลืองในบริเวณชาย ฝั่งของเขตละติจูดสูงๆ ซึ่งมีผลผลิตทางชีวภาพตามฤดูกาลสูง ในทางทฤษฎีสีของน้ำทะเลถูกกำหนดจากสเปคตรัมของแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านลงไปใน น้ำทะเลร่วมกับปริมาณสารแขวนลอยที่มีอยู่ในน้ำทะเล ในกรณีที่มีสารแขวนลอยมาก เช่นเมื่อเกิดการบลูมของแพลงก์ตอนพืชจะทำให้มีการกระเจิงของแสงอาทิตย์ที่ ส่องลงไปทำให้ความสามารถในการส่องผ่านของแสงน้อยลง สีของน้ำทะเลก็อาจแตกต่างไปจากปกติ
แสงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ารูปหนึ่งที่ประกอบด้วยหลายช่วงคลื่น หรือสเปคตรัม (ภาพที่ 6.1) แสงอาทิตย์ในช่วงคลื่นที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้เรียกว่า visible light ซึ่งแบ่งเป็น ช่วงคลื่นย่อย ๆ ได้ 7 ช่วงคลื่นด้วยกันคือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง ช่วงคลื่นที่อยู่ทางขวาหรือความยาวคลื่นน้อยกว่า visible light เรียกว่า Ultra violet จัดเป็นคลื่นที่มีอันตรายสูง ส่วนช่วงคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากกว่า visible light เรียกว่า infrared ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปของพลังงาน ความร้อนและใช้ในการสื่อสารได้
ภาพที่ 6.1 สเปคตรัมของแสง visible light และ ความสามารถในการส่องผ่านลงไปในน้ำที่ระดับความลึกต่างๆ
ที่มา: Garrison (2007)
การที่เรามองเห็นสีของวัตถุต่างๆก็เนื่องมาจากการสะท้อนกลับของคลื่นแสงที่ กระทบวัตถุ กับสีต่าง ๆ ของคลื่นที่อยู่ใน visible light ถ้าแสงที่ตกกระทบวัตถุนั้นไม่มีคลื่นแสงสีใด ๆ อยู่เราก็จะมองไม่เห็นสีนั้น เช่นถ้าแสงที่ส่องลงมาบนเลือดของคนไม่มีคลื่นของแสงสีแดงอยู่ เราก็จะไม่เห็นสีของเลือดคนเป็นสีแดงเป็นต้น น้ำทะเลในมหาสมุทรจะดูดกลืนแสงต่าง ๆ ใน visible light ได้ดีขึ้นเมื่อความยาวคลื่นมากขึ้น ดังนั้นคลื่นแสงใน visible light ที่มีความยาวคลื่นต่ำจะ สามารถส่องผ่านลงไปได้ดี
จากภาพที่ 6.1 จะเห็นได้ว่า แสงสีแดงจะถูกดูดกลืนไปหมดที่ความลึกมากกว่า 15 เมตรเล็กน้อย แสงสีเหลืองจะถูกดูดกลืน ที่ความลึกมากกว่า 100 เมตร
นี่คือเหตุผล ที่ว่าเหตุใดน้ำทะเลจึงมีสีน้ำเงินคราม ในบริเวณที่มีความลึกต่ำ ๆ เท่านั้นที่เราจะเห็นสีที่ปรากฏของวัตถุต่างๆ เป็นสีจริง
ในการวัดความสามารถในการส่องผ่านของแสงในน้ำจะวัดในรูปของความขุ่นของน้ำ (turbidity) โดยถ้าความขุ่นของน้ำมากก็จะเกิดการดูดกลืนแสงมาก ทำให้ความสามารถ ในการส่องผ่านลดลง
ผมเคยซื้อหนังสือ navalforce เมื่อสัก 20 ปีก่อนมาอ่านอยู่ครับ แต่ไม่ได้เก็บเอาไว้อีก ชั่งกิโลขายไป มีบทความเรื่องเรือดำน้ำและสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ เห็นท่อนหนึ่งในนั้นกล่าวว่า ถ้าน้ำทะเลที่อยู่ใกล้ชายฝั่งที่มีความใสมากๆ อาจจะสามารถมองเห็นเรือดำน้ำได้ลึกหลายสิบเมตรหรืออาจจะถึง 100 เมตรได้ เขาก็ไม่ได้บอกว่ามองเห็นแบบไหน ก็อาจจะเป็นการมองเห็นเป็นเงาตะคุ่มๆก็ได้ ผมเองก็ไม่ได้เชื่อบทความนั้นมากมายอะไรนักในเรื่องนี้
จากบทความที่ตัดเอามาจากเวปที่ลงให้นี้ บอกว่าปริมาณสารแขวนลอยในน้ำทะเลมีผลต่อการผ่านของแสงลงในน้ำได้มาก ดังนั้นในอ่าวไทยที่มีความขุ่นสูงเพราะใกล้ปากแม่น้ำ จึงขุ่นมาก ดังนั้น แค่ 20 เมตรก็ไม่น่าจะมองเห็นแล้วครับ แต่กรณีชายฝั่งประเทศอื่นที่ห่างจากปากแม่น้ำและอยู่ไม่ไกลจากเส้นศูนย์สูตร ก็ไม่แน่ว่า อาจจะมองเห็นเป็นเงาตะคุ่มได้ที่ความลึกมากกว่านั้นนะครับ
ถ้ามีโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นทะเลจากเพชรบุรีไปชลบุรีจริงๆ คงจะส่งผลให้ปริมาณสารแขวนลอยที่มาจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำใกล้เคียงลดลงไปมาก (ถูกกักอยู่หลังเขื่อน) คงจะส่งผลให้ความขุ่นของน้ำทะเลในอ่าวไทยลดลงมาได้ไม่น้อย ถึงตอนนั้นก็คงจะทราบกันว่าที่ระดับความลึก 50-60 เมตรนี้ เครื่องบินจะสามารถตรวจพบเงาดำตะคุ่มๆของเรือดำน้ำด้วยตาเปล่าได้หรือไม่
ถ้ามันเกิดตรวจได้ด้วยตาเปล่าจริงที่ระดับความลึกประมาณนี้และน้ำทะเลใสขึ้นเป็นอย่างมากจากผลกระทบของเขื่อนกั้นทะเล ทร. ก็คงต้องพิจารณาการก่อสร้างฐานเรือดำน้ำกันพอควรครับ แต่คงทำให้แหล่งท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทยบูมขึ้นมากครับ
อันนี้เป็นบทความเกี่ยวกับแนวปะการังใต้ทะเลครับ
เครดิตเวป http://www.sci.psu.ac.th/chm/biodiversity/coral_basic.html
ผมจะตัดเอามาส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับแสงต่อการเจริญเติบโตของปะการังนะครับ
2. บริเวณที่พบปะการัง
ปะการังต้องการสภาพเฉพาะในการดำรงชีวิตและเจริญเติบโต ความต้องการของปะการังที่สำคัญที่สุดคือแสงอาทิตย์และน้ำอุณหภูมิสูง ดังนั้นแนวปะการังจะพบเฉพาะในพื้นที่ที่มีสภาพเช่นนี้เท่านั้น ปะการังต้องการแสงอาทิตย์เพื่อการเจริญเติบโต และก่อแนวหินปะการัง
ปริมาณของแสงอาทิตย์จำกัดกับความลึกที่ปะการังขึ้นอยู่ ปะการังส่วนมากพบในบริเวณชายฝั่งน้ำตื้นที่มีความลึกน้อยกว่า 50 เมตร ในพื้นที่ที่ลึกมากกว่า 100 เมตรจะมีแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของปะการัง (รูปที่ 2.1)
น้ำบนชั้นทวีปและรอบ ๆ เกาะนั้นจะมีความตื้นเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของปะการัง
อุณหภูมิของน้ำมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของปะการังเช่นกัน ปะการังจะก่อแนวหินปะการังเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส เท่านั้น น้ำในเขตร้อนนั้นร้อนมากกว่า 18 องศาเซลเซียส ดังนั้นพื้นที่เขตนี้จะพบแนวปะการังมากที่สุดในโลก พื้นที่เขตร้อนอยู่ระหว่าง tropic of Capricorn (บริเวณใต้เส้นศูนย์สูตร) และ the tropic of Cancer (เหนือเส้นศูนย์สูตร) พื้นที่นี้รวมทั้งมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก แอตแลนติก ทะเลแคริบเบียนและทะเลแดง
จากบทความท่อนนี้ จะเห็นว่าปริมาณแสงที่เพียงพอต่อปะการังนั้นมักจะไม่เกินระดับความลึก 50 เมตร แสดงว่าบริเวณแนวปะการังที่น้ำใสมากๆ แสงสามารถส่งผ่านไปอย่างเพียงพอสำหรับปะการังที่อยู่ลึกลงไปถึง 50 เมตรทีเดียว จะมีแสงไม่เพียงพอสำหรับการปรุงอาหารและดำรงชีวิตอยู่ได้ที่ระดับความลึกเกินกว่า 100 เมตร
คราวนี้มาดูกันที่เรือดำน้ำครับ ถ้าระดับความขุ่นของอ่าวไทยลดลงไปเป็นอย่างมากและน้ำใสมากจากเขื่อนกั้นทะเล พื้นทรายสีน้ำตาลอ่อนๆ หรือ เทาอ่อนๆ เป็นฉากหลัง มีเรือดำน้ำอยู่ในระดับความลึก 50-60 เมตร
แสงสีเหลืองสามารถทะลุผ่านไปได้ถึงระดับ 100 เมตร ดังนั้นมันจะสะท้อนสีของเม็ดทรายที่เป็นฉากหลังออกมาได้นะครับ ส่วนเรือดำน้ำสีดำ...................
ดังนั้นที่ระดับความลึก 50-100 เมตรนั้น แสงสีเหลืองยังคงผ่านลงไปใต้น้ำได้ดีครับ โอกาสที่แสงสีเหลืองจะไปสะท้อนพื้นทะเลที่ลึกน้อยกว่า 100 ลงมามีความเป็นไปได้สูง
ส่วนในเขตทะเลลึกนั้น เราจะเห็นทะเลเป็นสีคราม และลึกลงไปเกิน 100 เมตรจะดำมืดสนิท เพราะพื้นทะเลอยู่ลึกมาก และแสงจะสะท้อนกลับมาไม่ได้ทุกๆความถี่เลย
แบบนี้ เรือดำน้ำที่ทาสีดำสนิท แค่ดำลึกลงไปในช่วง 50 -100 เมตร เราก็สังเกตด้วยตาเปล่าไม่เห็นแล้วครับ เพราะสีดำของเรือจะกลืนไปกับสำดำสนิทของพื้นทะเลข้างล่าง แต่ถ้าลองทาสีเรือดำน้ำให้เหลืองอ๋อยสะท้อนแสงดีๆ ผมว่าช่วง 50-100 เราก็อาจจะยังคงตรวจหาเรือดำน้ำด้วยตาเปล่าได้ครับ
บทความของท่านกัปตันนีโมดีมากๆเลยนะครับ เพราะมันอาจจะเป็นแฟคเตอร์ที่กระทบต่อกองเรือดำน้ำโดยไม่คาดฝัน เพราะรัฐบาลในซีกนี้มีความต้องการก่อสร้างเขื่อนกั้นทะเลเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพและปริมนฑล เพราะเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญ แต่มันอาจจะกระทบต่อการปฎิบัติการของเรือดำน้ำของกองทัพเรือในอนาคตก็เป็นได้
และก็คงกระทบต่อการท่องเที่ยวเกาะต่างๆในอ่าวไทยมากด้วย คราวนี้น้ำทะเลคงใสแจ๋ววว.....
มิน่าทำไมฐานเรือดำน้ำของจีนถึงต้องมีร่องน้ำเดินเรือจากฐานทัพไปโผล่กลางทะเลเลย.....................
ยอมรับว่าอาจจะเป็นเรื่องที่คาดกันไม่ถึงจริงๆ
พูดคุยกันด้วยข้อเท็จจริงและข้อมูลทางวิชาการ สร้างปัญญา เพิ่มพูนความรู้ แต่มีบางคนเป็นพวกขวางโลก ใช้แค่ความเชื่อความคิดส่วนตัวที่ไม่มีเหตุผลทางวิชาการ
จากที่ท่านกัปตันนีโม และท่านนีโอ ได้โพสมาก็เป็นข้อมูลในทิศทางเดียวกัน เพียงแต่ท่านนีโอพิจารณาเพียงการส่องผ่านลงไปในน้ำทะเล ยังไม่ได้รวมถึงการที่แสงจะต้องสะท้อนกลับขึ้นมา (แสงที่สะท้อนจากวัตถุมาเข้าตาเรา จึงทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้นได้) ด้วยระยะทางที่เท่ากันอีกนะครับ และยังมีแสงสะท้อนจากผิวน้ำ โดยเฉพาะในทะเลและมหาสมุทรที่มีคลื่นอยู่มากมายตลอดเวลา ย่อมเป็นสภาวะแวดล้อมที่ทำให้การมองเห็นลดลงเป็นอย่างมาก
ความจริงการสำรวจ/รวบรวมข้อมูลความโปร่งแสง(Transparency)ของน้ำทะเลในอ่าวไทยนั้น เป็นงานที่กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือจัดทำ/บันทึกไว้มากมาย เพราะเป็นภารกิจโดยตรง และมีข้อมูลที่ตำบลที่ต่างๆ ในฤดูกาลต่างๆ เวลาต่างๆ รวมทั้งลักษณะ/สีพื้นท้องทะเลด้วย(อีกทั้งข้อมูลอุณหภูมิ ความหนาแน่น ปริมาณสารแขวนลอย สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ฯลฯ ) เพราะเป็นข้อมูลสำคัญทางยุทธการ การใช้ทฤษฎีมาอธิบายนั้นถูกต้องแล้ว แต่เป็นเพียงพื้นฐานกว้างๆ ข้อมูลที่แท้จริงมาจากการสำรวจ กองทัพเรือมีเรือสำรวจของ อศ.ที่ปฏิบัติภารกิจเหล่านี้อยู่เป็นประจำ (เพราะข้อมูลย่อมเปลี่ยนไปตามระยะเวลาด้วยเช่น ทะเลสกปรกมากขึ้น) การตรวจวัดทำด้วยเครื่องมือ มิใช่คำนวนอย่างเดียว ขอให้เชื่อเถอะครับว่าเรามีข้อมูลที่ทันสมัยเหล่านี้ แต่เมื่อเอาข้อมูลให้ดูเมื่อเราจะจัดหา ด.จะมีสักกี่คนที่เชื่อ คนที่เชื่อว่าขึ้นเครื่องบินแล้วจะเห็นเรือดำน้ำที่ดำอยู่80เมตรในอ่าวไทยก็ยังเชื่ออยู่เช่นนั้น ผมเอาบางตอนที่สรุปมาซึ่งกว้างจนไม่น่าเป็นความลับมาให้อ่านครับ
" ในอ่าวไทย ส่วนใหญ่ความโปร่งแสงของน้ำทะเลบริเวณน้ำลึกมากกว่า 40 ม.จะมีค่าความโปร่งแสงอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 15-25 ม. ในบริเวณใกล้ฝั่งที่น้ำลึกน้อยกว่า 40 ม.และบริเวณด้านใต้อ่าวไทยรูปตัว ก. บริเวณเกาะกูดจะมีความโปร่งแสงประมาณ 10 ม. พื้นท้องทะเลส่วนใหญ่ของอ่าวไทยมีลักษณะเป็นโคลนและโคลนปนทรายซึ่งมีสีเทาดำ ทำให้การค้นหา ด.ด้วยสายตาจากผิวน้ำหรืออากาศยานเป็นไปด้วยความยากลำบาก "
ผลการสำรวจโดยสหรัฐฯในพื้นที่ทั่วโลก(แต่เก่าหน่อย-ปี1970) http://www.dtic.mil/docs/citations/AD0718333 ให้ข้อมูลใกล้เคียงกันคืออ่าวไทยมีค่าความโปร่งแสง 4-28 ม.
ทางฝั่งอันดามันน้ำลึกมากจน ด.สามารถดำลึกได้อยู่แล้วจึงไม่ค่อยมีปัญหานี้แม้ปกติน้ำทะเลจะใสกว่าในอ่าวไทย
ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นที่เข้ามาแลกเปลี่ยนกันครับ โดยส่วนตัวก็แค่อยากนำเสนอหลักการและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เพื่อมารองรับในหัวข้อการมองเห็นเรือดำน้ำขณะอยู่ใต้น้ำ ซึ่งได้ยินกันบ่อยมากโดยเฉพาะในช่วงที่มีข่าวการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือ แต่หลายครั้งที่ความเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้านไม่ได้มีพื้นฐานจากข้อเท็จจริงแต่มาจากความรู้สึกหรือการคาดเดาว่ามันน่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ ซึ่งในส่วนของกองทัพเรือเองก็ยังถือว่าตอบคำถามได้ไม่ชัดเจนและทำให้ยังมีหลายคนคิดว่าใช้เครื่องบินบินผ่านก็สามารถมองเห็นเรือดำน้ำใต้น้ำได้แล้ว ซึ่งในทางปฏิบัติมีการฝึกค้นหาเรือผิวน้ำด้วยเครื่องบินยังเจอบ้างไม่เจอบ้าง หรือเจอแล้วแต่ไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ และการพิสูจน์ทราบเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าในขั้นตอนการตัดสินใจใช้อาวุธ ตัวอย่างเช่นกองเรืออังกฤษยิงตอร์ปิโดใส่เป้าใต้น้ำเป็นจำนวนมากในสงครามหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ แต่แทบทั้งหมดเป็น false contact ซึ่งสุดท้ายแล้วกลายเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่ยิงเรือดำน้ำด้วย อวป.อากาศ-สู่-พื้น ขณะเรืออยู่บนผิวน้ำ
ย้อนกลับมาเรื่องเดิมต่อ ในส่วนของข้อมูลของกองทัพเรือก็คงจะละเอียดมากเกินไปจนกระทั่งไม่สามารถเปิดเผยได้ หรือส่วนที่เปิดเผยได้ก็ดูเป็นข้อมูลจากแหล่งเดียวกับคนที่เสนอโครงการซื้อเรือ ซึ่งอาจจะทำให้ดูน่าเชื่อถือน้อยลงไปบ้าง (คนเสนอซื้อก็ต้องหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอยู่แล้ว) และถึงแม้ว่าตอนนี้กองทัพเรือยังไม่ได้เสนอโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ แต่ในอนาคตอันใกล้ก็คงจะมีโครงการออกมาอีก (เพราะเป็นสิ่งที่ ทร.กำลังขาดอยู่จริงๆ) จึงอยากจะนำเสนอข้อมูลทางวิชาการเพื่อจุดประกายการถกแถลงกันด้วยเหตุผลที่อธิบายได้มากกว่าการคาดเดากันไปตามความรู้สึก เผื่อว่าเมื่อถึงวันที่มีโครงการจัดหาเรือดำน้ำของ ทร.ขึ้นมาอีกประเด็นเรื่องนี้จะไม่เป็นหนึ่งในจุดอ่อนของ ทร.อีกต่อไปครับ
ต้องขอขอบคุณมากครับท่าน TWG ท่าน Sboot และท่านเจ้าของกระทู้ กัปตันนีโม สำหรับความเอื้อเฟื้อเรื่องข้อมูลและความใจกว้างสำหรับการถกเถียงในลักษณะวิชาการ และมีการใช้ข้อมูลในการแสดงความคิดเห็นกันครับ ซึ่งเป็นเสน่ห์ของ TFC มาช้านาน
จากความขุ่นของอ่าวไทยเพราะตะกอนจากปากแม่น้ำสายสำคัญๆที่ไหลลงอ่าวไทย จึงทำให้ระดับความโปร่งแสงมีแค่ 4-28 m ตามที่เพื่อนๆลงไว้ครับ คราวนีเรามาดูแม่น้ำสายไหนบ้างที่เพิ่มระดับความขุ่นและนำพาน้ำจืดปริมาณมหาศาลลงมาลดระดับความเค็มของอ่าวไทยลงครับ
แม่น้ำสายหลักที่น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทย คือ
-แม่น้ำท่าจีนไหลลงอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสาคร
-แม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ
-แม่น้ำแม่กลองไหลลงอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงคราม
-แม่น้ำบางปะกงไหลลงอ่าวไทยที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
-ส่วนแม่น้ำตาปีจะไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แม่น้ำเหล่านี้จะพัดพาตะกอนหรือสารแขวนลอยในน้ำจำนวนมหาศาลลงสู่อ่าวไทยและทำให้อ่าวไทยมีความขุ่นสูง ดังนั้นระดับความลึกแค่ 20 m. ก็คงไม่สามารถมองเห็นเรือดำน้ำที่อยู่ใต้น้ำได้แล้ว นอกจากนี้ยังนำพาน้ำจืดปริมาณมหาศาลลงสู่อ่าวไทยด้วย จึงทำให้ระดับความเค็มในอ่าวไทยน้อยกว่าด้านนอกอ่าว ระดับความลึก 20m. นี่สูงประมาณตึกแถว 7 ชั้นเท่านั้นครับ
ถ้ามีการสร้างเขื่อนกั้นทะเลที่ปากแม่น้ำจากจังหวักเพชรบุรียาวไปจนถึงชลบุรี ระยะทางประมาณ 90 km. จะทำให้เขื่อนปิดบังการไหลลงมาของตะกอนจากแม่น้ำสำคัญ 4 สาย จาก 5 สาย คงจะส่งผลต่อปริมาณตะกอนในอ่าวไทยเป็นอย่างมาก น่าจะทำให้น้ำทะเลในอ่าวไทย “ใส” ขึ้นเป็นอย่างมากทีเดียว
รวมถึงทำให้น้ำจืดไหลลงอ่าวไทยน้อยลงและทำให้ระดับความเค็มของน้ำทะเลสูงขึ้น
ตะกอนมีผลขนาดไหน ลงนึกถึงบ่อปลาคราฟที่มีตะกอนสาหร่ายเซลเดียวขนาดเล็กสีเขียวๆเต็มบ่อสิครับ แค่ระดับความลึกบ่อ 1 เมตรก็แทบไม่เห็นก้นบ่อหรือไม่เห็นเลย แต่เมื่อติดตั้งเครื่องกรองและทำการกรองน้ำจนใสแจ๋ว จะพบว่าเราสามารถเห็นก้นบ่อได้ชัดเจน
รูปประกอบจากวิกิพีเดียครับ หัวข้ออ่าวไทย
ภาพความลาดชันของอ่าวไทย
ฝั่งอ่าวไทยจะมีระดับความลึกไล่จากปากแม่น้ำไปจนถึงเขคแดนทางทะเลเป็นดังนี้
20 m. 30m. 40m. 50m. 60m. 70m. 80m.
ส่วนฝั่งอันดามันจะมีเส้นแสดงระดับความลาดชันดังนี้
100m. 200m. 600m. 1000m.
จากวิกิพีเดีย เฉลี่ยความลึกของอ่าวไทย(ในเขตรั้วบ้าน) แค่ 45 m. เท่านั้น ส่วนจากฐานทัพเรือที่สัตหีบมีระดับความลึกลาดลงมาตั้งแต่ 30m. เป็นต้นไป
และจากการที่แสงสีเหลือง (รวมถึงสีเขียวด้วย) สามารถส่องลงไปใต้น้ำได้ถึงระดับความลึก 100 เมตร ดังนั้นถ้าพื้นทะเลลึกเพียงแค่ 50 เมตร แสงสีเหลืองที่ส่องลงไปเมื่อถึงพื้นทะเลจะสะท้อนทรายสีเหลืองแล้วสะท้อนกลับขึ้นมาที่ผิวน้ำอีกครั้ง รวมเป็นระยะทาง 100 เมตร ดังนั้นมีโอกาสสูงที่แสงจากพื้นทะเลจะสะท้อนภาพที่พื้นทะเลให้เราเห็น
ดังนั้นถ้าน้ำทะเลในอ่าวไทย “ใส” ขึ้นมามากๆ สีของท้องทะเลในอ่าวไทยน่าจะออกเหลืองอมเขียวมากขึ้น ดังนั้นเรือดำน้ำที่มีสีดำสนิท เมื่อแล่นผ่านพื้นทะเลช้าๆ ที่ระดับความลึกขนาด 50 เมตร จึงมีความเป็นไปได้ที่เครื่องบินที่ลาดตระเวนอยู่ข้างบนสามารถมองเห็นครับ
และเนื่องจากระดับความลึกเฉลี่ยแค่ 45 m ดังนั้นในทางปฎิบัติเรือดำน้ำจะต้องแล่นโดยห่างจากพื้นทะเล 10-20 m เพื่อความปลอดภัย ดังนั้นจึงเหลือระยะทางจากตัวเรือไปถึงผิวน้ำเฉลี่ยแค่ 25-35 m เท่านั้นครับ ถ้าทะเลในอ่าวไทยใสขึ้นเป็นอย่างมาก จึงมีโอกาสที่เครื่องบินจะตรวจพบเรือดำน้ำได้ด้วยตาเปล่าครับ
อ้าว ภาพไม่มา ลองอีกทีครับ
ในมุมมองผม ถ้าเกิดมีการสร้างเขื่อนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความใสของน้ำทะเลในเขตอ่าวไทยตอนในขึ้นมาก ความใสที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้เหมือนกับว่าสนามหน้าบ้านมีการติดไฟฟ้าส่องสว่างเอาไว้ครับ ใครเข้าใครออกสามารถมองเห็นได้ง่าย เมื่อเรือดำน้ำไม่ปรากฎสัญชาติพยายามเดินเรือเข้ามาในรั้วบ้านเรา เราจะสามารถตรวจสอบได้ง่ายด้วยเครื่องบินตรวจการณืและดาวเทียม ส่วนเรือฝ่ายเราในช่วงแรกตอนออกจากท่าเรือน่าจะตรวจพบได้ง่าย แต่เมื่อพ้นจากรั้วบ้านไปแล้ว น่าจะยากแก่การตรวจหาแล้วครับ
นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวด้วย เพราะน้ำทะเลที่ใสขึ้นจะทำให้ปะการังเจริญได้ดีมากขึ้นและแหล่งท่องเที่ยวจะมีน้ำทะเลที่ใสระดับเดียวกับทะเลอันดามัน จะยิ่งน่าสนใจมากขึ้น
สีของเรือดำน้ำปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นสีดำทั้งหมดนะครับ ขึ้นอยู่กับสภาพท้องทะเลของประเทศนั้นๆ ดูจากU212ของเอยรมันกับอิตาลี
U212 ของเยอรมัน
ผมลองเอารูปบางรูปที่ถ่ายไว้ที่แท่นผลิตกาซธรรมชาติ บงกช และ อาทิตย์มาให้ดูเป็นตัวอย่างครับ แท่นพวกนี้อยู่ห่างฝั่งประมาณ 100 กม. แท่นอาทิตย์นั้นอยู่เกือบถึงเส้นแบ่งเขตเศรษฐกิจจำเพาะไทย-เวียดนาม น้ำลึกพอสมควร ลองดูที่ขาของแท่นว่าเรามองลงไปเห็นขาของมันได้ลึกเท่าไร(อย่าไปสับสนกับเงาของแท่นนะครับ-ดูขาsupportที่เอนก็ได้) ผมว่าเห็นลงไปไม่กี่เมตรหรอกครับ นอกจากนั้นก็เลยลองเอารูปถ่ายจาก ฮ.และ บ.แถวสงขลา สมุย(ซึ่งจัดว่าน้ำใส) มาให้ดูด้วย ขนาดเรือผิวน้ำขนาดเรือ ตกป.ถ้าไม่เห็นพริ้วน้ำยังมองลำบากเลยครับ
เงาดำๆบนพื้นน้ำนั่นก็เป็นเงาของเมฆทั้งนั้น ไม่ใช่เห็นหินหรือที่ตื้นครับ
ภาพที่นำมาให้ดูถ่ายไว้ 3-6 ปีมาแล้วครับ ลองไปค้นของเก่าๆมาให้ดูเท่านั้น
แล้วถ้าฝ่ายตรงข้ามแล่นเรือดำน้ำเข้ามาในเวลากลางคืนหรือ เข้ามาในช่วงเกิดมรสุมมีเมฆหมอกหนาจัดๆ ถามว่าอย่างนี้แล้วยังจะสามารถใช้สายตามองจากเครื่องบินเห็นอยู่อีกหรือไม่ ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีนักบินคนไหนจะสามารถมองตรวจตราท้องน้ำได้แบบละเอียดและทั่วถึง และด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงด้วยประการทั้งปวง อย่างไรไทยก็มีความจำเป็นต้องมีเรือดำน้ำอยู่ดีครับ
เห็นหรือไม่เห็นจะเถียงกันทำไมให้ยาก...หา มหามิตรใจดี ซักประเทศที่มีเรือดำน้ำ แล้วเชิญเค้ามาซ้อมรบแล้วเราก็นั่ง ฮ ดูตั้งแต่มันเริ่มดำจนมันโผล่ จะได้รู้กันจะๆไปเยย 555555
ก็มีมหามิตรมาซ้อมแล้วนี่ครับ เรือดำน้ำลำใหญ่กว่าเรือฟริเกตเราอีก กองเรือเราหาไม่เจอ ย้ำนะครับกองเรือ ซ้อมในอ่าวไทยที่ว่าตื้นๆนี่ละ
ผู้สื่อข่าว Mthai News พร้อมนายทหารชั้นนาวาโท จากสำนักเลขานุการกองทัพเรือ พาตลุยถิ่นทหารเรือทัพเรือสหรัฐอเมริกาบน เรือ USS Emory S. Land (AS 39) และ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ USS Buffalo (SSN 715) บรรทุกขีปนาวุธ น้อยคนนักจะได้ยลโฉม เรือดำน้ำจากประเทศมหาอำนาจโลก
โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ได้จัดส่งเรือดำน้ำ USS Buffalo SSN 715 และ เรือ USS Emory S.Land เพื่อเตรียมการฝึกภาคทางทะเล รวมถึงการฝึกการปราบเรือดำน้ำร่วมกับเรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงรัตนโกสินทร์ ของกองทัพเรือไทย ตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. ถึงวันที่ 20 ส.ค.นี้
นอกจากนี้จะมีการฝึกร่วมกับเรือหลวงสุโขทัย และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ S-70B อีก 3 ลำ โดยจะมีการฝึก Anti-Submarine ระหว่างวันที่ 2- 4 ส.ค.2555
ซึ่งการเดินทางมาน่านน้ำไทยครั้งนี้ก็เชื่อว่า เกิดจากการที่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกา และได้ขอความร่วมมือทางด้านการทหารในการฝึกปราบเรือดำน้ำ
ซึ่งทางกองทัพได้มีการขอไปกว่า 2 ปีแล้ว แต่ทางกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาติดภารกิจจึงไม่สามารถนำเรือดำน้ำ USS Buffalo SSN 715 และ เรือUSS Emory S.Land เข้ามาทำการฝึกได้ ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาส่งเรือดำน้ำ USS Buffalo SSN 715 และ เรือUSS Emory S.Land เข้ามาฝึกในครั้งนี้
ซึ่งการที่กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาส่งเรือดำน้ำ USS Buffalo SSN 715 และ เรือUSS Emory S.Land เข้ามาร่วมฝึกในครั้งนี้ จะทำให้กำลังพลของกองทัพเรือไทยจะได้ความรู้ และประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากเราได้มีการฝึกฝนของจริง ซึ่งจากเดิมกองทัพเรือไทยไม่มีเรือดำน้ำมาทำการฝึกปราบปราม
ที่ผ่านมาทำได้เพียงนำสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาฝึกฝนเท่านั้น แต่การนำเรือดำน้ำ USS Buffalo SSN 715 และ เรือUSS Emory S.Land จะเป็นการฝึกชี้เป้าในการค้นหา ซึ่งถือว่าเป้าการค้นหาเรือดำน้ำถือว่ายากที่สุด
นอกจากนี้ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่กำลังพลจะได้มีโอกาสฝึกฝนของจริง โดยเฉพาะการจับหาเป้าว่าจะมีความยากง่ายอย่างไร ทุกทีฝึกแค่เป้าจำลองก็ไม่เหมือนกับของจริง เรือดำน้ำเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการฝึกกำลังพลได้เป็นอย่างดี
สำหรับเรือดำน้ำ USS Buffalo SSN 715 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาใช้เวลาเดินเรือไม่นาน เนื่องจากมีความเร็วสูงใต้น้ำกว่า 20 น็อต ที่สำคัญคือการขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ ปัจจุบันเรือดำน้ำลำดังกล่าวอยู่บริเวณอ่าวแปซิฟิก หรือ บริเวณเกาะกวง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา หรือ ทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ด้วย
ขณะที่คุณสมบัติ ของเรือ USS Emory S.Land (AS 39) เรือประเภท Submarine Tender จะมีไว้ดูแลหรือเป็นพี่เลี้ยง เรือดำน้ำโดยเฉพาะ ทั้งซ่อมบำรุง ฝึก และเป็นเรือที่ลูกเรือเรือดำน้ำจะหมุนเวียน ย้ายมาประจำเรือแบบนี้ 1 ปีเมื่อขึ้นจากเรือดำน้ำ พร้อมทั้งจะมี ห้อง Chamber ไว้ฝึก และการปรับเรื่องสภาพอากาศแรงดันใต้น้ำ
ขณะที่ เรือดำน้ำ USS Buffalo เป็นเรือลำดับที่สองของกองทัพเรืออเมริกา สัญญาสร้างเรือได้รับรางวัลในการต่อเรือนิวพอร์ต ที่เวอร์จิเนียวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1976 เเละถูกล่องเมื่อวันที่ 25 มกราคม 1980 ถูกเปิดตัวเมื่อ 8 พฤษภาคม 1982
ได้รับการสนับสนุนจาก Mrs. Joanne Kemp วันที่ 5 พฤศจิกายน 1983 โดยมีผู้บัญชาการไมเคิลฮิววิท G. สั่งปี 1999 บัฟฟาโลที่ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อดำเนินการ Shelter Deck
เครดิตรhttp://news.mthai.com
USS Buffalo (SSN-715)
Class & type: | Los Angeles-class submarine |
Displacement: | 5,771 tons light, 6,142 tons full, 371 tons dead |
Length: | 110.3 m (361 ft 11 in) |
Beam: | 10 m (32 ft 10 in) |
Draft: | 9.7 m (31 ft 10 in) |
Propulsion: | S6G nuclear reactor |
Complement: | 12 officers, 98 men |
Armament: | 4 × 21 in (533 mm) torpedo tubes |
ก็นั่นแหละครับ นักวิชาการความรู้เยอะพวกนี้ไม่ยอมหยุดพูดกันง่ายๆหรอก ต้องตอกให้หงายเงิบถึงจะได้รู้ จับมันขึ้น ฮ แจกกล้องส่องทางไกลคนละอัน...ไอ้ตัวไหนที่ว่าเห็นให้มันหาให้ตาเหลือก ดูซิจะหาเจอมั้ยจะได้หยุดพูด 55555
ตามปกติเมื่อฝึกปราบเรือดำน้ากับสหรัฐ CASEX(Combined Anti Submarine Exercise) แรกๆ จะเริ่มด้วยการให้เรือปราบทำความคุ้นเคยกับลักษณะของเรือดำน้ำและอุปกรณ์ก่อน โดยเรือดำน้ำจะแล่นเคียงข้างเรือปราบในระยะปลอดภัย บนผิวน้ำก่อน จากนั้นจะดำลงระดับเปอริสโคป แล้วเริ่มโชว์อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เปอริสโคป เสาเรดาร์ เสาอากาศต่างๆ ESM ฯลฯ จากนั้นจะค่อยๆดำลงใต้น้ำ ก็เหมือนกับที่บางท่านว่า เขาทำกันอยู่แล้วครับ ด.นิวเคลียร์ลำใหญ่ๆดำแล้วก็หายไปในพริบตา โซนาร์จับได้พักเดียวก้หายเหมือนกัน คนที่ฝึกมาด้วยตนเองถึงจะรู้ครับ
หลังจากที่ซ้อมรบกับ อเมริกา กองทัพเรือเราถึงได้ดิ้นเป็นโครงการเร่งด่วนไงครับหลังจากถูกแช่แข็งไว้นานแต่ก็ไม่วายโดนล้มโครงการอีก
ขอบคุณ ท่านกัปตันนีโม สำหรับข้อมูลดีๆค่ะ และน่าจะให้ความรู้หลายท่านที่ยังสงสัยอยู่
คำถามนี้เคยเป็นเป็นหนึ่งในคำถามสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเรือดำน้ำประจำการของไทยในอดีต ซึ่งอิงกับความเชื่อโต้แย้ง การมองว่าเรือดำน้ำต่างชาติเป็นภัยคุกคามของน่านน้ำไทย แต่อ่าวไทยน้ำตื้น หากมีเรือดำน้ำล่วงล้ำเข้ามาสามารถเห็นได้ง่าย การค้นหาเรือดำน้ำจึงสามารถทำได้โดยการใช้เครื่องบิน และโซนาร์จากอากาศ หรือเรือผิวน้ำ ไม่จำเป็นต้องใช้เรือดำน้ำในการค้นหา รวมไปถึงการจัดซื้อเรือดำน้ำเพื่อลาดตระเวนในน่านน้ำของเราอาจมีปัญหาเพราะอ่าวไทยน้ำตื้น เรือดำน้ำไม่สามารถปฏิบัติการได้ดี
จากคำถามนี้ ท่านพลเรือเอกประพัฒน์ จันทวิรัช อดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือ จึงเขียนบทความโต้แย้งความคิดดังกล่าว และนำเสนอข้อมูลทางสถิติความสูญเสียของเรือไทย - ญี่ปุ่น ในน่านน้ำไทย จากการถูกเรือดำน้ำสัมพันธมิตรเข้ามาโจมตี ค่ะ
อะถ้าพูดในแบบของนักพัฒนาโปรแกรม ก็จะพูดว่าทางด้านเทคนิค ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้
แต่ตอนนี้ดูแล้วจะยังไม่สามารถทำได้นะครับ เพราะขนาด เรือพิฆาต เอง ยังมีรัศมีการค้นหาเรือดำน้ำ น้อยกว่า เรือดำน้ำด้วยกันเลย
การค้นหาวัตถุใต้ผิวน้ำ ต้องลองมองด้านเทคนิคกันก่อนครับ ว่าเราจะใช้อะไรเป็นสื่อในการค้นหา
1. แสง แน่นอน ว่าไปได้ไม่ไกล และมีความคลาดเคลื่อนสูง แค่ด่านแรก ก็โดนผิวน้ำสะท้อนเสียแล้ว ยังไม่รวมมวลของน้ำ แพรงต้อน ปลา อะไรต่อมิอะไร
2. คลื่นความถี่วิทยุ อะ อันนี้น่าสนนะ ขนาดเอามาทำเรด้าได้เลย แต่ !! ข้อเสียเยอะเหลือเกิน หลายท่านคงเข้าใจเรื่องความถี่วิทยุนะครับ สมมติ ความถี่ 10 Hz ก็แปลว่า มันต้องวิ่งขึ้นวิ่งลงเป็นคลื่น 10 รอบต่อ 1 วินาที ถ้าในอากาศ ก็ไม่เท่าไหร่ แต่ในน้ำนะ ก็แปลว่า ที่ความถี่ 10 Hz ในเวลา 1 วินาที มันต้องวิ่งซิกแซ็กผ่านน้ำ 10 รอบ แถมพอไปโดนผิวของเรือดำน้ำ แล้วสะท้อนกลับ ก็ต้องวิ่งผ่านน้ำ 10 รอบต่อ 1 วินาทีอีก สรุปคือ แรงไม่พอสะท้อนกลับ เหมือนยิงปืนลงน้ำ ไป แล้วไม่กลับ ก็ไม่มีค่าอะไรเลย ยิ่งความถี่สูง ๆ สัก 12 Ghz จบเลย ><
3.คลื่นเสียง แน่นอน วิ่งผ่านน้ำได้ในระยะทางที่น่าพอใจ ปัจจุบัน เรือดำน้ำก็ใช้หลักการนี้ในการค้นหาวัตถุในน้ำ ขอเสียก็ใช่ว่าจะไม่มี ถ้าใช้หลักการของเสียงที่ยิงออกไป แล้ววัดเสียงที่สะท้อนกลับมา เอาความสูญเสียขากลับมาคำนวณเป็นระยะทางและรูปร่าง ถ้าหากสิ่งนั้นมันดูดซับเสียง หรือสะท้อนกลับน้อย ค่าที่ได้ก็จะคลาดเคลื่อน การแก้ไข เหมือนระบบ เรด้าของ วิทยุเลย คือใช้โหมดพาสซีพ หรือรับอย่างเดียว ดักจับคลื่นโซน่าของศัตรูที่ส่งมา เอามาประกอบกับ คลื่นที่เราส่งไปรอบแรก ก็จะได้ตำแหน่งที่แม่นยำมากขึ้น
การจะพัฒนาการตรวจจับเรือดำน้ำจากเครื่องบิน ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่อยู่ที่การวิจัยและพัฒนาของแต่ละประเทศซะมากกว่า
อีกนิด ๆ ขนาดเวลา เรือดำน้ำจะใช้วิทยุสื่อสาร ยังต้องขึ้นมาผิวน้ำก่อนเลย ฉนั้น คลื่นวิทยุ จึงเป็นสื่อกลาง ที่ไม่เหมาะสมสำหรับค้นหาวัตถุใต้น้ำ ><
จุดเด่นทางยุทธการของเรือดำน้ำจริงๆมันคืออะไรครับ นอกจากการอำพรางตัว แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่การตรวจจับ มันดีขึ้นทุกๆวัน กับปัจจัยการอำพรางตัวของเรือดำน้ำที่ยังคงเหมือนเดิม ฉนั้น เรือดำน้ำจะเป็นอาวุธที่ลดทอนคุณค่าลงทุกๆวันเช่นกันครับ
เรามาว่ากันต่อครับ :-)
ทะเลไทยกับเรือ ส.
เทคโนโลยี่การพรางตัวและอาวุธโจมตีเรือของเรือดำน้ำก็พัฒนาขี้นทุกวันๆ เหมือนกัน
จำนวนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยครับ :-)