ผมเจอบทความน่าอ่านเลยนำมาลงในเว็บนี้เพื่อแชร์ข้อมูลกันครับ หลายคนคงเคยอ่านแล้วถือว่าทบทวนความรู้ก็แล้วกัน ภาพประกอบผมหามาเพิ่มเองนะครับเพราะของจริงไม่มีแล้ว(หรือมีแต่ผมไม่รู้อยู่ไหน) http://www.navy.mi.th/navic/document/830104a.html
การติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL ร.ล.จักรีนฤเบศร |
นาวาเอก ชาลี ส่องสว่างธรรม |
มีผู้รู้กล่าวว่า การติดตั้งระบบควบคุมการยิง หรือระบบอาวุธ ดูแล้วมันง่ายเหมือนปอก กล้วยเข้าปาก หรือบางท่านว่ามันง่ายเหมือนการต่อ Jigsaw บางท่านก็ว่าเหมือนการต่อ Lego (ของเด็กเล่น) บางท่านที่รู้คอมพิวเตอร์ก็ว่ามันเป็น Plug&Play เสียบปลั๊กก็เล่นได้ "จริงๆแล้ว มันง่ายเช่นว่าปานนั้นเชียวหรือ"
ผู้เขียนมีส่วนร่วมในการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL ร.ล.จัก รีนฤเบศร จึง ขอถ่ายทอดประสบการณ์เป็นบทความ เพื่อให้เข้าใจถึงความยุ่งยากในการติดตั้งระบบอาวุธฯ โดยภาพรวม เน้นตั้งแต่การเริ่มติดตั้ง จนถึงการทดลองระบบฯ ในทะเล ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมอง เห็นภาพของการติดตั้งระบบควบคุมการยิง ระบบอาวุธต่างๆว่า..."มันไม่ง่ายอย่างที่ท่านคิด"
กองทัพเรือได้จัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL จากบริษัท Matra Defense ประเทศฝรั่งเศส ๓ ระบบ เพื่อติดตั้งให้กับเรือหลวงจักรีนฤเบศร ระบบที่ ๑ บริเวณหัวเรือกราบ ขวาและได้พิจารณาแต่งตั้ง "คณะกรรมการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL ร.ล. จักรีนฤเบศร " (กตจ.) และอนุกรรมการ (อกตจ.๑ และอกตจ.๒) เพื่อดำเนินการติดตั้งระบบฯ ให้แล้วเสร็จ จนสามารถรับใช้ราชการได้
อกตจ.๑ มีหน้าที่ติดตั้ง PLATFORM (ดาดฟ้ายื่นออกนอกตัวเรือ) เพื่อรองรับแท่นยิง อาวุธปล่อยนำวิถี ทั้ง ๓ แห่งซึ่ง กรมอู่ทหารเรือ (อร.) เป็นหน่วยรับผิดชอบออกแบบ และสร้าง โดย กรมโรงงานฐานทัพเรือสัตหีบ (กรง.ฐท.สส.) สำหรับ อกตจ.๒ กรมสรรพาวุธทหารเรือ (สพ.ทร.) เป็นหน่วยรับผิดชอบ ติดตั้งแท่นฐาน ระบบอาวุธ และการเชื่อมต่อกับระบบควบคุม การยิง โดย กองโรงงานไฟฟ้าอาวุธ (กฟอ.สพ.ทร.) เป็นหน่วยรับผิดชอบการติดตั้งทั้งหมด ยก เว้นเฉพาะการติดตั้งคลังอาวุธปล่อยพร้อมใช้บนเรือ ซึ่งกองอาวุธปล่อยนำวิถี (กอว.สพ.ทร.) เป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบงานมอบหมายของ กฟอ.สพ.ทร. และยังเป็น อนุกรรมการและเลขานุการ อกตจ. ๒ ด้วย
กฟอ.สพ.ทร. มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ (อจปร.อร.) ขึ้นการบังคับบัญชากับ สพ.ทร. เป็นสายวิทยาการ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ (อล.ทร.) รับผิด ชอบซ่อมทำและติดตั้งระบบอาวุธการยิง (คคย.) และระบบอาวุธให้แก่ กองเรือยุทธการ (กร.) หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ./รฝ.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) กฟอ.สพ.ทร. เป็นหน่วยงานระดับโรงงานเล็กๆ แต่มีผลงานที่พิสูจน์ได้เกินตัวระดับกรม มีประ สบการณ์หลากหลายในการติดตั้งระบบอาวุธ (เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๖) อาทิ ระบบควบคุมการยิง จำนวน ๑๘ ระบบ ระบบปืน ๒๔ ระบบ (ร่วมกับ กทว.สพ.ทร.) ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRALเป็นระบบที่ ๑๙-๒๑ ที่เพิ่งแล้วเสร็จล่าสุด ซึ่งประหยัดงบประมาณให้ ทร. ได้ไม่น้อย กว่า ๕๐ ล้านบาท และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๒ ต้องติดตั้งสถานีตรวจสนามแม่เหล็ก ตัวเรือและเสียงใต้น้ำ (FACDAR)ทดแทนสถานีเดิมที่ชำรุด ตั้งแต่เมื่อประมาณ ๒๐ ปีก่อน
ระบบปล่อยอาวุธนำวิถี SADRAL ทั้ง ๓ ระบบ จะทำงานอิสระจากกัน โดยแต่ละระบบ จะรับผิดชอบย่านพื้นที่ป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีของข้าศึกตามสถานที่ติดตั้ง ดังรูปที่ ๑ โดยมี ส่วนประกอบย่อยในแต่ละระบบฯ ดังนี้
๑.ตู้ CONTROL CONSOLE ควบคุมการทำงานของระบบโดยรวม และเชื่อมต่อกับ ระบบอื่นๆ ติดตั้งในห้องศูนย์ยุทธการ จำนวน ๓ ตู้
๒. ตู้ SERVO CONTROL UNIT ควบคุมการหัน กระดกแท่นยิงทั้ง ๓ ตามคำสั่ง ควบคุมจากตู้ CONTROL CONSOLE ซึ่งติดตั้งในห้องเซอร์โวหัว ๒ ตู้ (สำหรับแท่นยิงหัว เรือขวาและซ้าย) และห้องเซอร์โวท้าย ๑ ตู้ (สำหรับแท่นยิงท้ายเรือ)
๓ แท่นยิง (LAUNCHER) ติดตั้งบริเวณหัวเรือกราบขวา หัวเรือกราบซ้ายและท้าย เรือ ขวา แต่ละแท่นยิง ประกอบด้วยท่อยิง ๖ ท่อยิง ซึ่งหมายถึงสามารถต่อสู้ด้วยระยะประชิด ป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีฝ่ายข้าศึกได้ถึง ๑๘ ลูก ในเวลาใกล้เคียงกัน (เกือบพร้อมกัน) มีกล้อง โทรทัศน์และกล้องอินฟราเรดติดตั้งบนแท่นยิง (ไม่มีกล้อง LASER RANGE FINDER)
๔. อาวุธปล่อยนำวิถี "MISTRAL" (อย่าสับสนกับระบบควบคุมการยิง SADRAL) ปกติจะเก็บไว้ในคลังพร้อมใช้บนเรือ กอว.สพ.ทร. รับผิดชอบติดตั้งคลังดังกล่าว
๕. กล่องห้ามยิง (VERTO BOX) สำหรับผบ.เรือ ๒ ชุด ใช้ยกเลิกสัญญาณการยิง อัตโนมัติของอาวุธปล่อยนำวิถี ปกติแล้วจะพร้อมยิงตลอดเวลา ติดตั้งบริเวณที่นั่งสั่งการ ผบ.เรือ ที่ห้องศูนย์ยุทธการ และสะพานเดินเรือ
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL มีหน้าที่อย่างไร
เมื่อร.ล.จักรีนฤเบศร ถูกโจมตีจากข้าศึกโดยยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่างๆ จากเรือผิวน้ำ เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ และเรือดำน้ำ เมื่อระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL อยู่ในสถาพพร้อม รบ ลูกอาวุธปล่อยนำวิถี MISTRAL จะวิ่งออกจากแท่นยิงโดยอัตโนมัติ ตรงเข้าหาอาวุธปล่อย นำวิถีของข้าศึก และระเบิดตัวเอง เพื่อให้ลูกปรายขนาดเล็กจำนวนมากระเบิดทำลายอาวุธ ปล่อยนำวิถีข้าศึกนั้นให้ตกก่อนที่จะวิ่งถึง ร.ล.จักรีนฤเบศร
เมื่อระบบอำนวยการรบของเรือชี้เป้า (Target Designation)แท่งยิงจะหันและ กระดกไปยังเป้าอาวุธปล่อยนำวิถีข้าศึกนั้นโดยอัตโนมัติ กล้องโทรทัศน์ และกล้องอินฟราเรด บนแท่นยิง จะจับเป้าเห็นภาพเป้าบนจอ เมื่อเป้าเข้าใกล้ระยะที่ IR SEEKER ในหัวลูกอาวุธปล่อยสามารถทำงานได้ จะเริ่มติดตามเป้าอัตโนมัติควบคุมแท่นยิงให้หันกระดก ตามเป้านั้น เมื่อได้ระยะยิงลูกอาวุธปล่อยนำวิถีจะออกจากท่อยิงวิ่งเข้าหาเป้า และทำลายเป้าใน ที่สุด
การติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL
ในการติดตั้งระบบควบคุมการยิง หรือระบบอาวุธใดๆรวมทั้งการติดตั้งระบบอาวุธปล่อย ฯ SADRALนี้ด้วยแบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
๑. การติดตั้งแท่นฐาน (FOUNDATION) หมายรวมถึงแท่นฐานของแท่นยิง หรือระบบปืนแท่นฐานตู้ต่างๆ (SEATING) จะต้อง เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดของแต่ละ บริษัทผู้ผลิต
๒. การเดินสายและเข้าหัวสาย (CABLING) เป็นการเดินสายระหว่างตู้ต่างๆ ผ่านที่ ต่างๆ ตามตัวเรือ จะต้องออกแบบเส้นทางเดินของสายไฟ การเข้าหัวสาย (CONNECTING) ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคต่างๆและประสบการณ์มาก และต้องการความประณีตสูงมาก
๓. STW/SIT (SETING TO WORK/SYSTEM INTEGRATION TEST) เป็น การเริ่มการเชื่อมต่อระหว่างตู้ต่างๆของระบบ ตรวจสอบการจ่ายไฟต่างๆ เข้าระบบ ตรวจสอบ อุปกรณ์หรือระบบอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกันกับระบบอาวุธนั้น เชื่อมต่อกันเพื่อรับ/ส่งสัญญาณต่างๆ มีการตรวจสอบเป็นรายการย่อยต่างๆ ตามที่บริษัทผู้ผลิตได้กำหนดไว้
๔. HAT (HARBOUR ACCEPTANCE TEST) ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบการ ทำงานของระบบว่าสามารถทำงานตามขีดความสามารถต่างๆของระบบนั้นได้หรือไม่ ตรวจสอบการทำงาน/การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ควบคุมการยิง รวมทั้งโปรแกรม เป็นการตรวจสอบเมื่อเรือจอดหน้าท่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้เป็นการทำงานจริงๆของระบบ อย่างแท้จริง
๕. SAT(SEA ACCEPTANCE TEST/TRIAL) ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบ/ ทดลองการทำงานของระบบในทะเล ว่าสามารถทำงานตามขีดความสามารถจริงต่างๆ ของ ระบบ นั้นได้หรือไม่ กล่าวคือจะต้องพยายามให้เหมือนจริงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งถือว่าเป็น ขีดความสามารถ/การทำงานอย่างสมบูรณ์ของระบบนั้นๆอย่างแท้จริง ในบางระบบจะต้องมีการ ทดลองการยิงต่อเป้าสมมติหรือจำลอง เช่น การยิงอากาศยานลากท้ายเครื่องบิน (ติด MDI) การยิงเป้าพื้นน้ำลากท้ายเรือลากเป้า เพื่อวัดความแม่นยำ ของระบบอาวุธนั้น บริษัทผู้ผลิตมัก จะไม่ยอมผูกพันการยิงทดสอบฯ นี้ไว้ในสัญญาฯ เพราะโอกาสผ่านเกณฑ์ตรวจรับยาก และยุ่ง ยากมาก
การติดตั้งระบบอาวุธประเภทในส่วนของระบบตรวจจับ (SENSOR) ของระบบควบคุม การยิงและระบบอาวุธ จะต้องติดตั้งตามหลักการ "การขนาน" (PARALLELISM) กล่าวคือ ทั้งทางหัน (TRAINNING) ของทุกอุปกรณ์ต้องขนานกัน และในทางกระดก (ELEVATION) ของทุกอุปกรณ์ก็ต้องขนานกัน ประสิทธิภาพและความถูกต้องแม่นยำในการยิงทำลายเป้าของ ระบบอาวุธต่างๆ ก็ขึ้นกับคุณภาพและความประณีตในการติดตั้งขึ้นตอนนี้เอง
การติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL ร.ล.จักรีนฤเบศร เป็นการติดตั้งระบบฯ ที่ยุ่ง ยากมาก ที่สุดเท่าที่เคยประสบมาของกฟอ.สพ.ทร. ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ติดตั้งระบบฯ ควบคุมและกำกับให้เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดการส่งมอบให้ กร. ทั้งนี้การเริ่มงานติดตั้ง ระบบฯ ช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ ๒ เดือนครึ่ง จึงจำต้องระดมศักยภาพ และทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ ทั้งหมดเพื่อให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย สำหรับกำหนดแผนงาน
ในตอนต้นของบทความได้กล่าวนำความเป็นมาของระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRALพอสมควร หลังจากนี้จะเน้นเนื้อหาการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL โดยเฉพาะ เพื่อให้เป็นตามจุดประสงค์ของบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอเรียบเรียงเป็นลำดับดังนี้
๑. ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL เป็นผลงานการติดตั้งระบบควบคุมการยิง (คคย.) ระบบอาวุธในลำดับที่ ๑๙ - ๒๑ ของกฟอ.สพ.ทร. ผู้เขียนจึงมั่นใจว่าการติดตั้งฯ จะเป็น ไปด้วยความเรียบร้อย และเสร็จทันตามแผนที่กำหนด แต่นับได้ว่าเป็นการติดตั้งระบบ คคย. ที่ มีความยุ่งยากมากที่สุดเท่าที่เคยประสบมา กล่าวคือ เป็นการติดตั้งระบบฯขณะเรือลอยน้ำ ซึ่งมีอาการโคลงตามปกติการติดตั้งระบบอาวุธจะต้องทำในอู่แห้งเท่านั้น การติดตั้งระบบ ดังกล่าวในครั้งนี้เรือยังคงปฏิบัติราชการตามปกติ แทนที่จะงดปฏิบัติราชการเช่นเรืออื่นๆ ทางเรือมีบทบาทในการพิจารณาเกี่ยวกับการติดตั้งมากที่สุด มีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งต้องประสานงานอย่างดี ติดตั้งพร้อมกันทั้ง ๓ ระบบ ในห้วงเวลาอันสั้นประมาณ ๖ เดือน และติดตั้งนอกพื้นที่อจปร.อร. ซึ่งเป็นที่ตั้งของ กฟอ.สพ.ทร. เป็นครั้งแรก
๒. อร.ออกแบบ PLATFORM ดาดฟ้าติดตั้งแท่นยิงทั้ง ๓ แห่ง โดย กรง.ฐท. สส. สร้างตามแบบนั้น หลังจากสร้าง PLATFORM ทั้ง ๓ เสร็จเรียบร้อย พบว่ามีปัญหาเนื่องจาก ความแข็งแรง และความสั่นสะเทือนที่หัวเรือกราบขวา และกราบซ้าย สำหรับทางท้ายเรือ กราบขวายอมรับได้ จึงต้องเสียเวลาแก้ไขช่วงหนึ่ง เป็นผลให้การเริ่มติดตั้งระบบฯ งานในความ รับผิดชอบของกฟอ.สพ.ทร. ช้ากว่าแผนที่กำหนด ๒ เดือนครึ่ง โดยที่กำหนดเสร็จสิ้นโครงการ ยังเหมือนเดิม นับว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้เขียนที่จะต้องทำให้ได้ เมื่อพิจารณาโดยรวมจึง เริ่มงานติดตั้งแท่นฐานท้ายก่อน ทั้งนี้เพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ ๑ ระบบ เพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยฝึก อบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของทร. ในต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ตามข้อตกลงกับบริษัท MATRA
๓. ติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL กำหนดมาตรฐาน การติดตั้งระบบฯไว้ สูงมาก และสูงกว่าทุกระบบฯ ที่กฟอ.สพ.ทร. ได้เคยติดตั้งมาก่อนแล้ว เช่น
๓.๑ ในการติดตั้งอาวุธหรือเรดาร์ต่างๆทั้งลำ จะต้องติดตั้งขนานกับแผ่น MASTER DATUM ซึ่งติดตั้งที่กระดูกงูและเป็นพื้นระนาบอ้างอิงของเรือโดยอาศัยหลักการ "การขนาน" สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL กำหนดให้ค่าความเอียงของแท่นฐานกับแผ่น MASTER DATUM ของเรือยอมให้มีอัตราผิดได้ไม่เกิน ๓ ลิปดา (MINUTE) ซึ่งเทียบเท่ากับการติดตั้ง ระบบปืน ๗๖/๖๒ ในอู่แห้ง ในขณะที่ ร.ล.จักรีนฤเบศร ลอยน้ำสามารถวัดอาการโคลงได้ ๖๐ ลิปดา นี้ ทำให้ยิงเป้าระยะ ๑ กิโลเมตร จะทำให้ยิงผิดทางสูง/ข้าง ๑ เมตร ถือว่าเป็นเรื่องไม่ เล็กน้อย สำหรับระบบนี้จะมีผลกับการติดตามเป้าอัตโนมัติ
๓.๒ ในการติดตั้งระบบอาวุธหรือเรดาร์ต่างๆทั้งลำ จะต้องติดตั้งศูนย์ทางหันของ อุปกรณ์ ให้ขนานกับเส้นกลางลำของเรือ (CENTER LINE) ซึ่งเป็นเส้นอ้างอิงทางหันเรือ โดยอาศัย หลักการ "การขนาน" ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL กำหนดให้แนวเส้นศูนย์ทางหัน ของแท่นยิงจะต้องขนานกับเส้นกึ่งกลางลำยอมให้มีอัตราผิดได้ไม่เกิน ๑๐ ลิปดา (มีผลกระทบ กับการติดตามเป้าทางแบริ่ง) ในการทำต้องใช้กล้อง THEODOLITE ซึ่งใช้ใน การสำรวจ ถนนได้รับผลกระทบจากเรือโคลงอย่างมาก ต้องรอจังหวะที่เรือนิ่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะต้อง ถ่ายเส้นอ้างอิงหลักอยู่ที่แผ่น MASTER DUTAM ที่กระดูกงู นำขึ้นมาไว้ที่ดาดฟ้า ลานบิน แล้วถ่ายลงที่ PLATFORM ทั้งสามอีกทีหนึ่งและต้องควบคุมอัตราผิดปกติให้อยู่ใน เกณฑ์ ให้ได้ ถ้าเรามีกล้อง GYRO THEODOLITE สักตัวคงไม่ลำบากแบบนี้ผู้อ่านคง เห็นภาพว่า มันยุ่งยากเพียงใด
๓.๓ แท่นฐานที่จะติดตั้งสายอากาศเรดาร์ อุปกรณ์ตรวจจับ (SENSOR) ต่างๆแท่น ปืน แท่นยิงระบบอาวุธต่างๆจะต้องมีผิวหน้าเรียบมาก (FLATNESS) ทั้งนี้เพื่อให้ติดตั้งกับ แท่นฐานได้อย่างมั่นคง
เรือหลวงจักรีมีระบบซาดรัล3ระบบจึงมีจรวดมิสตรัลพร้อมใช้งานในช่วงเวลาเดียวกันถึงจำนวน18นัดรอบตัวเรือทุกมุม ในอนาคตหลังการปรับปรุงเรือแล้วเสร็จแล้วจะมีเรดาร์ควบคุมการยิงแบบSTIR180จำนวน2ชุด(จากเรือหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสิน) มาช่วยเสริมให้ระบบซาดรัลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่จะออกมาในรูปแบบไหนดีมากขึ้นอย่างไรผมยังไม่กล้ายืนยันครับ ปริศนาข้อนี้อีกไม่เกิน1ปีน่าจะรู้แจ้งได้
ข้อมูลเฉพาะของจรวดมิสตรัล
Specifications | |
---|---|
Length | 1.86 m |
Diameter | 90 mm |
Crew | 1 |
|
|
Effective range | up to 6 km |
Warhead | High Explosive with high density Tungsten balls |
Warhead weight | 2.95 kg |
Detonation mechanism |
Laser proximity or impact triggered |
|
|
Engine | Solid Rocket Motor |
Speed | 800 m/s, approx. Mach 2.6 (high supersonic) |
Guidance system |
Infrared homing |
กล้องโทรทัศน์และกล้องอินฟราเรดติดตั้งบนแท่นยิง (ไม่มีกล้อง LASER RANGE FINDER)
THAI MILITARY COUP, THE NAVY ORDERS MATRA-BAE AIR DEFENCE SYSTEM
European Report; December 19, 2006
MATRA DEFENSE ESPACE, the French defence procurement group, said on
December 18 the Thai navy ordered several Sadral/Mistral air defence
systems from its Matra-BAe Dynamics joint venture. A defence industry
source said the order was worth between FF300 and FF500 million. This is
a second order of Sadral/Mistral missiles systems from Thailand following
an initial deal in 1996. The defence industry source said the Sadral/Mistral
systems were bought to equip the two Pattani class offshore patrol vessels and
the two Naresuan class frigates ( Type 25T ). The company said Thailand bought
the Sadral/Mistral system after United States refused to deliver notably the American Phalanx and Sea Sparrow missile systems. The military coup in Thailand already has
had a negative on U.S. aid to the Thai government for programs such as military
financing, military training and peacekeeping operations. (See related article.)
Under Section 508 of the Foreign Operations Act for Fiscal Year 2006, the United States
may not use appropriated funds to finance directly any assistance to the government of any country whose duly elected head of government is deposed by military coup or decree, with the exception of assistance to promote democratic elections or public participation in
democratic processes.
http://www.defence.gov.au
เคยมีข่าวว่ากองทัพเรือไทยสั่งซื้อซาดรัลอีก4ระบบเพื่อนำมาติดตั้งบนเรือหลวงชั้นนเรศวรและเรือหลวงชั้นปัตตานี แต่ข่าวก็เงียบหายไปในที่สุดเราจึงยังคงมีแค่เรือหลวงจักรีลำเดียวใช้งาน
ดูเหมือนอนาคตของจรวดมิสตรัลกับกองทัพเรือไทยจะถอยห่างออกไปมากขึ้นทุกวัน ปัจจุบันนี้ระบบSADRAL ไม่มีขายแล้วยังเหลือแค่เพียงระบบTETRAL ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเบากว่าบรรจุจรวดได้4นัดขายอยู่(น่าจะหยุดการผลิตในอีกไม่นานนี้แล้ว) และอีกระบบที่เล็กกว่าคือ Simbad RC บรรจุจรวดได้2นัดควบคุมด้วยรีโมท ซึ่งมีขนาดเล็กและเบาติดกับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งได้เลย ก็คงต้องรอดูกันต่อไปครับว่าจะมีการจัดหาในอนาคตอีกหรือไม่