รบกวนถามท่านผู้รู้หน่อยครับว่า รถลำเลียงพลรุ่นใดที่มีเกราะป้องกันตัวดีที่สุด (ไม่จำกัดว่าสายพานหรือล้อ)และมันสามารถทนกระสุนใด้สูงสุดในระดับใหน (หรือแบบใด) ครับ
นาโต้แบ่งการป้องกันกระสุนเจาะเกราะ เรียกว่าข้อตกลงSTANAG 4569
แบ่งเป็น5ระดับ คร่าวๆว่าป้องกันกระสุนเจาะเกราะมาตราฐานรัสเซีย(จริงๆแล้วก็กลุ่มปืนกล7.62ทั่วโลก)ขนาด7.62มม. อันนี้คือระดับแรกๆ รถเกราะทุกคัน(และส่วนใหญ่)ที่ผลิตจากโรงงานที่เป็นเหล็กกล้าหรือวัสดุพิเศษอะไรก็ว่าไป จะกันกระสุนขนาดนี้เป็นหลัก
กระสุนอันตรายสำหรับยานเกราะคือ12.7-14.5มม.(กระสุนเจาะเกราะมาตราฐานโซเวียต) ต้องใช้ระดับป้องกันคือระดับ4 และยังอันตรายถ้ายิงในระยะต่ำกว่า200เมตรลงมา ยังไม่รวมถึงกระสุนปืนใหญ่ระเบิดแรงสูง155มม. ที่ระเบิดในระยะ25-30เมตร ตัวรถถึงจะปลอดภัย
ระดับ5คือ ปืนกลหนัก20-25มม. ระยะปลอดภัยคือ500เมตรขึ้นไป ต่ำกว่านี้อันตราย
ทำให้รถเกราะต้องเสริมแผ่นเกราะจะเป็นวัสดุอะไรก็ตามเข้าไปเพื่อกันกระสุน12.7-14.5มม. ซึ่งแค่นี้ก็ลุ้นหนักแล้ว ถามว่าทำไมรถเกราะไม่เสริมเกราะระดับ5ไปเลย แน่นอนว่าน้ำหนักรถจะเพิ่มขึ้น
ปืนกลหนักประจำป้อมของรถเลยจะเล่นกันที่25-30มม. กันซะเป็นส่วนใหญ่
ส่วนกรณีรถรุ่นใดป้องกันได้ดีที่สุด ส่วนตัวหาเจอว่ากันกระสุนได้ในระดับ14.5-30มม. เช่นรถรุ่นPUMA K21
แต่ทั้งนี้คือการดทสอบข้างต้น แต่ขั้นตอนทดสอบนั้นเกราะถูกยิงตา่มระยะที่นาโต้กำหนดหรือไม่ เช่น500เมตร ขึ้นไปเป็นต้น
ขอบคุณมากครับท่าน Mig31 เข้าไปหาข้อมูลเพิ่มคร่าวๆในวิกิ ก็เห็นว่าเจ้าตัวนี้สัญชาติเกาหลี เป็นแบบสายพาน 3crewห + 9 passengers. นน 25 ตัน. ราคาประมาณ 2.5ล้านเหรียญ... ดูแล้วก็ไม่ใด้หนัก หรือแพงมาก แฮ่ แฮ่...
ส่วนเจ้า Terrex นี่ก็หนัก 25ตัน เหมือนกัน ราคา น่าจะประมาณ 3.5 ล้านเหรียญ
ผมลองคิดเล่นๆ น่ะครับว่าถ้าเจ้า แมงมุมดำของเรา เอาเกราะแบบดีที่สุดมาใส่ นน. มันจะพอไหวมั๊ย แล้วราคามันจะไปลงเอยในย่านไหน..
ท่าน Mig31 เชียร์เกราะอะไรให้เจ้าแมงมุมดำครับ ?
รถเกราะลำเลียงพลล้อยางรุ่นใหม่ๆ ที่พิกัดน้ำหนัก24-25ตัน (ตัวรถเดิมหนัก16ตัน) น้ำหนักขนาดนี้เครื่องยนต์กำลังที่ใช้กันไม่ต่ำกว่า500แรงม้า ง่ายๆว่ายิ่งหนัก ยิ่งช้า เปลืองน้ำมันเยอะ
กลับมาที่เกราะบ้านเราเรื่องวัสดุศาสตร์อาจยังไม่ก้าวไกล แต่สามารถขอความร่วมมือจากประเทศในยุโรปหรือสหรัฐ(จริงๆมันก็คิดค้นตามแบบฉบับเทคโนโลยีตัวเอง)เทคโนโลยีเช่นเกราะ AMAP ของเยอรมัน MEXASของสหรัฐ เป็นต้น คร่าวๆว่าเป็นพวกวัสดุคอมโพสิต นาโนเซรามิค-อัลลอย์ด เป็นต้น เราเองตามข่าวว่าได้รับความมือร่วมจากบริษัทในอังกฤษ ฉะนั้นเรื่องเกราะคงไม่ใช่ปัญหา
แต่การกำหนดเกราะบางชาติไม่เหมือนกัน อย่างรถเกราะเซนทูโร่ บี-1 เกราะเดิมกันกระสุน14.5มม. เกราะเสริมกัน25มม.ในด้านหน้า
จึงกลับมาที่เราว่าจะกำหนดเกราะด้านหน้าให้กันกระสุนขนาดเท่าใด ด้านข้างขนาดเท่าใด ส่วนตัวด้านหน้ากระสุนต้องกันระดับ30มม.ได้ ด้านข้าง12.7-14.5มม.
เหตุว่ารอบบ้านเราใช้อาวุธรัสเซียเกลื่อนเลย รถเกราะอาวุธหลักก็14.5-30มม.ในกลุ่มรถBTR ปืนกลหนักและปตอ.ก็12.7-14.5มม. เช่น NSVและKPV พวกนี้สามารถเคลื่อนย้ายไปวางแนวยิงตรงไหนก็ได้
ตัวอย่าง ปืน30มม. ที่แพร่หลายในกลุ่มรถเกราะBTR3/80 BMP-2 ปืนที่ใช้คือ ชิปูนอฟ 2A42
กระสุน30มม. มีผลิตใน6ชาติ กระสุนเด่นๆคือ 30มม.RAPIT-C ของบัลกาเรีย
ที่ลงไว้ว่า เจาะเกราะมุมลาดเอียง30องศา โดยในระยะ1000เมตรเจาะได้45มม.
ส่วนรัสเซียกระสุน 3UBR6 เจาะได้25มม. ในระยะ500เมตร เกราะลาดเอียง60องศา
ส่วนกระสุนที่ว่ากันว่าเจาะได้หนาสุดๆแต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน คือM929 กระสุนพลังงานจลล์ของเบลเยี่ยม
ท่าน Mig31 ข้อมูลแน่นจริงครับ... แต่ฟังดูแล้วเหมือนรถลำเลียงพลที่มีเกราะดีๆ ก็ยังเป็นเหยื่อกระสุนเจาะเกราะใด้ง่ายๆเหมือนกันนะครับ นี่ท่านยังไม่ใด้พูดถึงพวก RPG หรือ ปรส เลย แล้วผมว่าสมรภูมิแถวบ้านเราโจทย์มันจะยิ่งยากขึ้น เพราะสภาพภูมิประเทศแถบเราส่วนใหญ่มันก็จะไม่เอื้ออำนวยให้หันหน้าเข้าหากันตรงๆ (เอาเกราะหนาๆเข้ารับไว้ก่อน) ต้องซิกแซกหลบต้นไม้ หลบคู เนิน ฯลฯ
จรวดRPG-7 พวกนี้แน่นอนว่าเอาไว้เจาะเกราะรถถังเหล็กหนา100มม.+ ฉะนั้นรถเกราะลำเลียงพลที่บางกว่าจึงรอดยาก
แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีทางป้องกัน ที่นิยมกันมีทั้งแบบติดตั้งเกราะ ERA ติดลูกกรงเพื่อให้หัวรบพุ่งชนในชั้นแรก
โปแลนด์เองก็วางโปรเจ็คพัฒนาเกราะคอมโพสิต น้ำหนักเบาสำหรับยานเกราะเหมือนกันชื่อ CAWA-1