พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัยชาการทหารอากาศ ให้สัมภาษณ์ถึงบทบาทของกองทัพอากาศต่อสถานการณ์บ้านเมืองในปี 2552 ว่า กองทัพอากาศจะปฏิบัติภารกิจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องมีการเตรียมกำลัง และมีแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยุทธศาสตร์แผนระยะยาวตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2562 หรือเรียกว่าวิสัยทัศน์ 2562 โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ๆ ละ 4 ปี รวม 12 ปี โดยระยะแรกถือว่าเป็นช่วงสำคัญทำให้กองทัพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่อีกเจเนเรชั่นหนึ่ง ฉะนั้นในช่วงปี 2551 - 2552 ต้องการก้าวไปสู่ดิจิตอลแอร์ฟอร์ด คือกองทัพอากาศค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี เพราะกำลังทางอากาศ จะเป็นคุณลักษณะที่สำคัญ และเด่นของกำลังทางอากาศ ดังนั้นดิจิตอลแอร์ฟอร์ด คือการเปลี่ยนโฉมหน้าจากแอตนาล็อกจากเทคโนโลยีเก่าก้าวไปสู่เทคโนโลยีใหม่ ๆ
จะเห็นได้ว่าทำไมกองทัพอากาศถึงได้ดำเนินการเพื่อจัดหาเครื่องบินทดแทน สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เพิ่งดำเนินการ แต่เราได้วางแผนมาตั้งแต่ 2546 เพราะการจัดหาเครื่องบินครั้งหนึ่งจะต้องใช้เวลาถึง 5 ปี เราดิ้นรนตั้งแต่ปี 2550 และมีการเซ็นต์สัญญาเมื่อปี 2551 กว่าจะได้เครื่องก็ปี 2554 ฉะนั้นช่วงนี้เมื่อเราได้เครื่องบินกริพเฟน รวมถึงได้รับเทคโนโลยี ระบบบัญชาการและการควบคุมซึ่งมี แอร์บอร์น เมอร์ซี วอร์นนิง รวมถึงการอัพเกรดในการพัฒนาระบบบัญชาการและการควบคุมในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อให้ก้าวไปสู่เน็ทเวิร์ค ดังนั้นในช่วงปี 2552 จะใช้งบประมาณค่อนข้างมาก เพราะเพิ่งเริ่มต้นการก้าวไปสู่ดิจิตอลแอร์ฟอร์ด ทั้งนี้เราไม่ได้จัดหาเครื่องบินอย่างเดียว แต่เราจะต้องหาตัวเน็ทเวิร์ค และระบบสื่อสารคมนาคม เพื่อให้ก้าวไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย พล.อ.อ.อิทธพร กล่าว
พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวอีกว่า การที่เรามีอาวุธยุทโธปกรณ์จะเป็นตัวขับเคลื่อนบุคลากรให้มีการพัฒนาให้ทันกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ ดังนั้นประเด็นนี้เราได้พยายามชี้แจง และก็ตกเป็นเป้าตลอด แต่เราก็ยืนยันว่ากองทัพอากาศดำเนินการอย่างโปร่งใส และตั้งใจ และจะต้องทำต่อไปเพราะเป็นความจำเป็นจะต้องจัดซื้อมาทดแทนเครื่องบินที่จะหมดประจำการ และระยะที่ 2 และ ระยะที่ 3 ก็จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2562 เราก็ตั้งเป้าหมายไว้ว่าเราต้องการเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค หรือ วันออฟเดอะเบส แอร์ฟอร์ด อิน อาเซียน ทั้งนี้ปัจจุบันกำลังทางอากาศนับด้วยความทันสมัย และความได้เปรียบ ทั้งนี้ตนเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนที่ 21 เหมือนกับเป็นศตวรรษที่ 21 เป็นการเปลี่ยนถ่ายเจเนเรชั่นไปจะต้องพัฒนาทุกด้าน ๆ ทั้งบุคลากร ยุทโธปกรณ์ที่จะจัดหาจะเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดค่อนข้างมาก จะต้องเตรียมบุคลากร และยุทโธปกรณ์ให้มีความสอดคล้องสมบูรณ์
การพัฒนาทุกอย่างจะต้องมีแผน และมีงบประมาณ ซึ่งงบประมาณจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ถ้าเราไม่ได้รับงบประมาณตามที่ได้วางแผนไว้ก็จะเลื่อนไปหมด นอกจากนี้การช่วยเหลือประชาชนก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กองทัพจะต้องเข้าไปช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยทางกองทัพยินดีที่จะเข้าไปร่วมช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ทั้งนี้เราจะมีงบประมาณอยู่จำนวนหนึ่งที่จะเข้าไปช่วยเหลือ รวมถึงเงินบริจาคจากภาคเอกชนก็จะมาให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้เรามีกองบินทั้งหมด 11 แห่ง ก็จะใช้ทรัพยากรเข้าไปช่วยเหลือทันที ในที่เมื่อเรารับหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ก็จะต้องมีความมุ่งมั่นใจตั้งใจ ต้องแสดงว่าเราไม่หวั่นไหว และย่อท้อ ปัญหาต่าง ๆ เราพร้อมที่จะไปแก้ไขปัญหา พล.อ.อิทธพร กล่าว
พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวถึงบทบาทกองทัพอากาศต่อสถาบันว่า บทบาทของทหารทุกคนที่เป็นทหาร ในวันที่เราสาบานตนต่อธงชัยเฉลิมพล ได้ปฏิญาณตนจะปกป้องและพิทักษ์รักษาสถานบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นราชองครักษ์ ทุกปีในวันที่ 2 ธ.ค. จะมีการสวนสนามแสดงให้เห็นว่าทหารมีความจงรักภักดี และมีความต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์แค่ไหน ส่วนกองทัพอากาศ ก็มีภารกิจที่เกี่ยวข้องได้รับเกี่ยวกับการจัดเครื่องบินราชพาหนะ เราได้จัด และได้นำเสด็จไปสถานที่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และในปี 2553 เราได้รับเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งที่ทันสมัยมาทดแทน 3 เครื่อง และในปีหน้าเราก็จะได้เครื่องบินพระที่นั่งขนาดกลาง 4 เครื่อง ฉะนั้นภารกิจของกองทัพอากาศจะต้องเตรียมการถวายความปลอดภัยอย่างสูงสุดในการเสด็จไปในสถานที่ต่าง ๆ ถือเป็นความภาคภูมิใจของกำลังพล
|
จากhttp://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=th&newsid=356463
|
ความคิดเห็นที่ 1
เขาก็ลอกกันมาละครับพวกนักข่าว รู้จักกันทุกสำนักนั่นแหละ เหมือนลอกการบ้านตันฉบับผิดคนลอกก็ผิดตาม
โดยคุณ mcot1047 เมื่อวันที่
05/01/2009 01:09:28
ความคิดเห็นที่ 2
อีกแล้ว ...... แอร์บอร์น เมอร์ซี วอร์นนิงอีกแล้ว ..... ระบบแจ้งเตือนความเมตตากลางอากาศ ..... โอ้พระเจ้า ...... สื่อเจ้านี่เขียนทีไรผิดแบบนี้ทุกที ..... โอ่ย เหนื่อย -*-
ฝาก ...... ไฟล์ PDF นะโยบายของทอ.ครับ
http://www.rtaf.mi.th/news/n08/rtaf_vision_2552.pdf
โดยคุณ
Skyman 
เมื่อวันที่
01/01/2009 11:54:54
ความคิดเห็นที่ 3
โดยคุณ
nok 
เมื่อวันที่
01/01/2009 20:24:14
ความคิดเห็นที่ 4
ถามเป็นความรู้นะครับ
ถ้าทอ.ไทยกำลังจะก้าวไปสู่ดิจิตอลแอร์ฟอร์ดจริง ถ้าทุกระบบสั่งการ และสื่อสารแบบดิจิตอล วันหนึ่งสงครามเกิด โรงไฟฟ้าถูกทำลาย ระบบสื่อสารทั้งของราชการและเอกชนถูกตัดขาด โดยการก่อการร้าย
เครื่อง SAAB 340 ติดตะเกียบ 2 ลำที่บินช้าๆ บินได้ไม่สูง และยังบินได้ไม่กี่ชั่วโมง ถูกสอยลงมา แถมอนาคตข้าศึกอาจส่งไวรัสคอมพิเตอร์ เข้าเครื่อง Gripen ของเราได้อีก หรืออาจแจมระบบบนเครื่อง Gripen ....ในเมื่อไม่ระบบเข็มวัด หรือระบบอนาล๊อกอีกต่อไปบนเครื่อง แล้วนักบินจะบินเข้าหาเป้าอย่างไร ฐานบินข้างล่างก็ตาบอด ตาบนฟ้าก็ถูกสอย ติดต่อกันไม่ได้
ลงมาเติมน้ำมัน ติดอาวุธใหม่ ก็ต้องหาทางกลับฐานเองเพราะหน้าจอมืดสนิท .....
ระบบสำรองไฟฟ้าของทอ.ไทย มีสำรองได้กี่วันครับ หรือว่าสงครามทางอากาศสมัยใหม่ตัดสินกัน แค่ช่วงข้ามคืน
โดยคุณ
Mr. Bean 
เมื่อวันที่
01/01/2009 22:23:13
ความคิดเห็นที่ 5
เข้าใจว่าถึงแม้ระบบดิจิตอลจะล่ม (ซึ่งน่าจะเป็นสูนย์ควบคุมและอำนวยการรบ)
แต่การสื่อสารระบบอนาล๊อกยังคงมีอยู่ในตัวเครื่อง และบนภาคพื้น
ถึงแม้ว่าไม่มีการควบคุม จี้เป้าหรือแจ้งเตือนจากสถานีภาคพื้น และลอยฟ้า
แต่เครื่องก็ยังทำภาระกิจได้ ด้วยระบบของตัวเองโดยนักบินนะครับ
ผิดพลาดประการใด ขออภัยครับ..
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่
02/01/2009 00:04:06
ความคิดเห็นที่ 6
ความจริงคำว่า digital air force นั้นไม่ได้หมายความว่าเครื่องบินจะไม่มีเข็มวัดหรือระบบอนาล็อกบนเครื่องหรืออะไรประมาณนั้นครับ มันเป็นคนละส่วนกัน คำขวัญว่า digital air force เป็นเพียงคำขวัญแสดงการเปลี่ยนถ่ายยุคของกองทัพอากาศเท่านั้นเองครับ
ปล. ฝากรูประบบอาวุธล่าสุดของ digital air foce ครับ........
โดยคุณ
Skyman 
เมื่อวันที่
02/01/2009 04:54:06
ความคิดเห็นที่ 7
Airborne Mercy Warning ถ้ามีจริงก็ดีครับ จะได้ไม่มีสงครามอีกต่อไป (ชาตินี้จะได้เห็นหมัยเนี่ย) แต่เวเกทิอุสบอกไว้แล้วครับ Si vis pacem, para bellum
12 ปีขึ้นเป็นผู้นำทางอากาศอาเซียน!? เล็งสูงขนาดนั้นเชียว จะไปไหวหรือเปล่าต้องดูกัน
โดยคุณ
Praetorians 
เมื่อวันที่
02/01/2009 05:00:26
ความคิดเห็นที่ 8
แสดงว่าภายใน12ปีข้างหน้ากองทัพอากาศจะต้องมีการจัดหา บ.ขับไล่ยุคที่5เข้าประจำการครับ โดยมีการวางระบบสนับสนุนต่างๆอย่างสมบูรณ์ด้วย รวมถึงจุดอื่นๆเช่นขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงอากาศภายในประเทศที่สูงขึ้นกว่าปัจจุบัน การผลิต บ.ฝึกใบพัดเพื่อใช้งานได้จริงได้เองในจำนวนมากๆ หรือถึงขั้นประกอบ บ.ที่มี Technology ขั้นสูงเช่น บ.JET ได้ในประเทศครับ
แต่ถ้าจะเป็นกำลังทางอากาศอันดับต้นๆของ ASAEN นี้อาจจะต้องมีการพิจารณาถึงการเพิ่มความสามารถการปฏิบัติการทางลึกครับ เช่น การจัดหา บ.ขับไล่สองเครื่องยนตร์ขนาดใหญ่ แต่ส่วนตัวคิดว่าถ้าอนาคตของกำลัง บ.ขับไล่กองทัพอากาศคือ บ.ขับไล่ยุค 4.5 คือ Gripen และ บ.ขับไล่ยุคที่ 5 (เป็นไปได้สูงมากว่าคือ F-35A) แล้ว บทสรุปอาจจะเป็น บ.เติมเชื้อเพลิงทางอากาศมากกว่าครับ
โดยคุณ
AAG_th1 
เมื่อวันที่
02/01/2009 07:10:00
ความคิดเห็นที่ 9
หึหึ ถ้าเป็นไปได้ก็ดีสิครับ แล้วจะเอาเงินมาจากไหนล่ะครับเนี๊ยะ บ.ฝึกคงเกิดไม่ยากหรอกครับ ถ้า ทอ.สั่งซัก 100 ลำ ล่ะก็ รับรองมีคนไทยอยากผลิตหลายรายเลย หึหึ เพราะอะไร
1. จะพัฒนาเอง ก็ไม่อยากเกินไป ถ้านำเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ มา แล้วพัฒนาโครงสร้างเอง เราก็น่าจะทำไป
2. ซื้อลิขสิทธ์มาผลิตเอง ก็ได้
3. จอยส์ เวนเจอร์ ก็ได้
ปล. แต่ ทอ.จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อ 100 ลำ นี่สิ ปัญหาใหญ่
โดยคุณ tantongs เมื่อวันที่
02/01/2009 21:30:04