ในวันพรุ่งนี้จะมีสุริยุปราคา (บางส่วน)
ที่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย ในช่วงเย็นๆ ตั้งแต่เวลา 1600
เป็นต้นไป (ดวงอาทิตย์ถูกบังมากที่สุดที่เวลาประมาณ 1700)
ซึ่งปรากฏการณ์นี้หากมองจากบริเวณซีกโลกใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตร (แถวๆ
ประเทศอินโดนีเซีย) ก็จะเห็นเป็นสุริยุปราคาวงแหวน
แต่สำหรับในประเทศไทยจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังไปประมาณ 40% ตามภาพ animation
นี้ โดยบวกเวลา Universal Time ในภาพไปอีก 7
ชม.เพื่อให้เป็นเวลาท้องถิ่นในประเทศไทย
(ภาพดวงอาทิตย์หายไปหมายถึงเวลาดวงอาทิตย์ตก)
<object classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000"
codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,29,0"
width="648" height="450"><param name="allowScriptAccess"
value="never"> <param name="movie"
value="http://shadowandsubstance.com/20090126%20solar%20eclipse/VietnamB.swf">
<param name="quality" value="high"> <embed
allowscriptaccess="never"
src="http://shadowandsubstance.com/20090126%20solar%20eclipse/VietnamB.swf"
quality="high"
pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer"
type="application/x-shockwave-flash" width="432"
height="300"></object>
เครดิตภาพจาก
http://shadowandsubstance.com/สำหรับรายละเอียดการโคจรดูได้จากภาพ elipse plot ของนาซ่า (กดที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดเต็ม)

สำหรับ
การดูสุริยุปราคาในครั้งนี้ ตอนเวลาประมาณ 1600
ดวงอาทิตย์จะอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (WSW) สูงจากขอบฟ้าประมาณ 30 องศา
(Az 240, Alt 30) และจะค่อยๆ เคลื่อนต่ำลงไปทางทิศตะวันตกเรื่อยๆ
จนตกที่เวลา 1815 (Az 251)
แต่เนื่องจากสุริยุปราคาครั้งนี้ดวงอาทิตย์ถูกบังไปแค่ประมาณ 40%
ทำให้ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ ส่วนวิธีการดูแบบง่ายๆ
ถ้าหากไม่มีแว่นสำหรับดูสุริยุปราคาโดยเฉพาะ
สามารถทำได้โดยใช้หลักการฉายภาพจากกล้องรูเข็ม อุปกรณ์ก็ไม่ยุ่งยากอะไรมาก
เพียงใช้กระดาษสองแผ่น แผ่นหนึ่งใช้เป็นฉากรับภาพ ส่วนอีกแผ่นเจาะรูเล็กๆ
(ยิ่งเล็กยิ่งดี) สำหรับฉายภาพ วางห่างกันประมาณ 1 เมตร ตามภาพ

วิธี
ใช้ให้นำกระดาษที่เป็นฉากมารับภาพกระดาษที่เจาะรูไว้
โดยขนาดของภาพที่ได้จะขึ้นอยู่กับความห่างของกระดาษทั้งสองแผ่น
ยิ่งวางกระดาษห่างกันมากก็จะทำให้ภาพที่ได้มีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย
แต่ความสว่างของภาพก็จะลดลงตามระยะห่างที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ควรมองภาพบนกระดาษที่เป็นฉากรับภาพเท่านั้น
ไม่ควรมองผ่านรูที่เจาะในกระดาษโดยตรง เพราะอาจทำให้ตาบอดได้
เรื่องการดู และการถ่ายภาพ ใช้ฟิล์มเอกซ์เรย์ไม่พอครับ ที่ใช้ได้คือฟิล์มขาวดำที่ถ่ายภาพแสงจ้าๆ ไว้ (ตัวฟิล์มที่ล้างออกมาแล้วจะดำ) ส่วนฟิล์มอื่นใช้ไม่ได้ครับ เนื่องจากฟิล์มขาวดำมีธาตุเงินเคลือบอยู่ ช่วยกรองรังสีจากดวงอาทิตย์ได้ ส่วนฟิล์มประเภทอื่นจะไม่มี
ถ้าไม่มี filter สำหรับถ่ายดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ แนะนำให้ฉายภาพบนฉากแล้วถ่ายภาพภาพฉายดีกว่าครับ การเอากล้องถ่ายรูปส่องกับดวงอาทิตย์ตรงๆ ถึงจะไม่เป็นอันตรายกับสายตา แต่ก็อาจทำให้กล้องเสียหายได้ครับ
สำหรับรายละเอียดว่าอะไรใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้บ้าง รบกวนดูที่เวบนี้ครับ เป็นภาษาอังกฤษ แต่สั้นๆ ไม่ยาวมาก แยกเป็นประเภทไว้ด้วย
http://www.mreclipse.com/Totality2/TotalityCh11.html