การซื้อของกองทัพเรือ เป็นการเรียงลำดับความจำเป็นในการใช้งานครับ
ผมอยากให้คุณลองบอกเครื่องบินที่ใช้ในภารกิจนี้ ในปัจจุบันกองทัพเรือใช้เครื่องรุ่นไหนอยู่ และมีประจำการกี่ลำ
ส่วนตัวผม...ยังไม่เห็นด้วยที่กองทัพเรือจะ ผละจากน้ำ ขึ้นสู่ฟ้า
ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า...ที่ผ่านมา ทร.ไม่มีเครื่องบิน VIP และ VVIP (บ.พระที่นั่ง) ทร.ต้องใช้ บ.ปราบเรือแบบ FOKKER F-27 และ P-3T ทำภารกิจนี้...ซึ่งคุณคิดว่าเหมาะสมไหมครับ
.น่าจะเห็นใจและเข้าใจภารกิจสักหน่อยครับ...ว่ามันคนละประเภท..
.ในเรื่องของ การปรับปรุง AV-8S และ A-7 นั้นจบไปแล้วคือไม่ปรับปรุง รอหาเงินไปซื้อเครื่องใหม่เมื่องบประมาณอำนวยครับ....
เครื่องบิน AV-8 B + มือสองที่จอดอยู่ในทะเลทราย...พร้อมที่จะขายให้ ทร.ครับ...เพียงแต่ราคาต่อเครื่อง แพงกว่า ราคา F-16 ADF ที่ ทอ.ซื้ออีกครับ....เงินงบประมาณต้องใช้หลายพันล้าน...ความเร่งด่วน...เรื่องการซ่อมเรือฟิเกต คอร์เวต และการจัดหาเรื่องยกพลขึ้นบก(มีดาดฟ้าบิน) จึงต้องมาก่อนครับ
ERJ-135 ลำนึง ราคาอย่างเก่งที่สุดให้ 25 ล้านเหรียญครับ ราคานี้ได้ ฮ. MH-60S 1 ลำ หรืออาจจะได้ Harrier มือสองลำครึ่งครับ ..... อีกอย่าง ลำละ 500 เหรียญนี่ แพงกว่า A380 อีกนะครับผม เพราะ Gripen ใหม่เอี่ยม 6 ลำก็ราคาเท่านี้น่ะครับ
ที่สำคัญที่สุด ERJ-135 ชุดนี้ ไม่ได้ใช้ในภารกิจ VIP อย่างเดียวนะครับ ERJ-135 ทั้งของทร.และทบ.ยังใช้เป็น บ. MEDEVAC ด้วย ผมว่าก็ไม่มีอะไรเสียหายนะครับ เพราะถ้าไม่มีภารกิจ VIP ก็ใช้ขนคนเจ็บได้ด้วย ผมยังคิดว่าครั้งนี้ทบ.กับทร.ทำโครงการได้ดีมากโครงการหนึ่ง เพราะเป็นโครงการที่ซื้อเครื่องร่วมกันซึ่งนาน ๆ เราจะเห็นทีที่สองเหล่าทัพจัดหาอะไรพร้อมกัน และใช้เครื่องได้หลายภารกิจด้วยครับ
กรีซได้จัดหา A-7H ซึ่งเป็น A-7E รุ่นที่ผลิตสำหรับกรีซ(มีความแตกต่างจาก A-7E ของสหรัฐฯบางจุดเช่นไม่มีท่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศเป็นต้น) มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 1970s และต่อมาก็มีการจัดหา A-7E มือสองจากสหรัฐฯเพิ่มเติมในช่วงปี 1990s ซึ่งตอนนั้นกองทัพอากาศกรีซมีฝูง A-7 ประจำการอยู่สองกองบินครับ
โดยกรีซได้ทำการปรับปรุง A-7 ของตนเพื่อยืดอายุการใช้งาน เช่นการปรับปรุงเครื่องยนตร์ Allison TF-41 และระบบ Avionic ในทันสมัยขึ้น ซึ่งในช่วงที่กองทัพเรือไทยมีการจัดหา A-7E มือสองจากสหรัฐฯนั้น ก็มีแผนที่จะทำการปรับปรุงเครื่องโดยให้กรีซดำเนินการครับ
ปัจจุบันกรีซยังคงมีฝูงบิน A-7 ประจำการอยู่1ฝูงครับ ซึ่งกรีซมีแผนที่จะปลด A-7 ทั้งหมดภายในปี 2012 ซึ่งก่อนหน้านั้นส่วนหนึ่งก็ได้ถูกแทนที่ด้วยเครื่องที่ใหม่และทันสมัยกว่าอย่าง F-16C/D Block 52+ ไปแล้วครับ
ส่วนตัวคิดว่าว่าถ้าดูจากระยะเวลาในการจัดหา A-7E ของ กบร.ในช่วงนั้น ร่วมกับค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโดยใช้แบบแผนของสหรัฐฯที่สูงมากหรือแบบแผนการปรับปรุงของกรีซที่กองทัพเรือเองสนใจในตอนนั้น และแผนการปลดประจำการของ A-7 ของกรีซเองในช่วงเวลาต่อมาแล้ว ก็คงเป็นเหตุผลสำคัญที่กองทัพเรือตัดสินใจที่จะไม่ปรับปรุง A-7 ต่อครับ เพราะคงไม่คุ้มที่จะทำนั้นเอง ช่วงนั้นกองทัพยังมีโครงการจำเป็นเร่งด่วนมากว่าครับเช่นการจัดหาเรือ ตกก.เป็นต้น
สำหรับ AV-8S นั้นตัวโครงสร้าง บ.เป็น Harrier รุ่นแรกเช่นเดียวกับ AV-8A ของสหรัฐฯ, Harrier GR.3 และ Sea Harrier ของอังกฤษซึ่งปัจจุบันปลดประจำการหมดแล้ว ดังนั้นอะไหล่ชิ้นส่วนต่างของเครื่องนั้นจึงปิดสายการผลิตไปนานแล้ว โดย บ.Sea Harrier FRS.51 ของอินเดียนั้นก็ยังเป็ฯเครื่องแบบเดียวที่ยังประจำการอยู่แต่จากอายุเครื่องและการจัดหาเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่และ MiG-29K นั้น อินเดียคงจะปลด Sea Harrier ในอนาคตอันใกล้ครับซึ่งตอนนี้ก็มีข่าวว่างดบินแล้ว
โดยในช่วงเกือบ10ปีที่ผ่านมานั้นทาง กบร.ก็ทำการพัฒนาระบบซ่อมบำรุง AV-8S เองมาตลอดครับซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก โดยสหรัฐฯเองก็ได้ให้การช่วยเหลือด้วยการส่งเครื่องยนตร์สำรองของ AV-8A ที่เคยประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯราว 19เครื่องแบบให้เปล่าครับ แต่จากสภาพเครื่องในปัจจุบันคงจะไม่สามารถทำการบินรบได้อย่างปลอดภัยแล้วครับ
AV-8B Harrier II ที่ประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯนั้นส่วนใหญ่จะประจำการมาตั้งแต่ราวๆปลายปี 1980s ถึงต้นปี 1990s ครับอายุการใช้งานเฉลี่ยราว 16-22ปี ซึ่งเครื่องที่มีประจำการในปัจจุบันนั้นจะถูกปรับปรุงเป็นเครื่องแบบ Night Attack หรือ Harrier II Plus ซึ่งติด Radar แบบ AN/APG-65 ซึ่งเครื่องแบบ Day Attack นั้ถ้าไม่ทำการปรับปรุงก็ถูกเก็บสำรองไว้ครับ
ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าเครื่อง AV-8B ที่สหรัฐฯทำการสำรองเก็บไว้และสามารถขายได้นั้นมีรุ่นอะไรบ้างและพร้อมจะขายได้จริงหรือไม่ครับ เพราะปัจจุบันนาวิกโยธินสหรัฐฯก็มีความต้องการในการใช้งานเครื่อง AV-8B อยู่อย่างต่อเนื่อง และความล่าช้าในการพัฒนา F-35B ซึ่งจะเข้ามาประจำการแทน AV-8B และ F/A-18C/D นั้นก็ทำให้ต้องยืดระยะเวลาประจำการของ AV-8B ออกไปอีกหลายปีครับ
สำหรับ AV-8B นั้นนอกจากสหรัฐฯเองก็ยังมีหลายประเทศจัดหาไปใช้เช่น อิตาลี และ สเปนซึ่งสเปนก็เพิ่งจะทำการปรับปรุงขีดควาทมสามารถเครื่องไปในปีที่แล้วครับ อะไหล่อุปกรณ์สบับสนุนนั้นคงจะมีให้ใช้อีกหลายปี ซึ่งกลุ่มประเทศที่ใช้ Harrier รุ่นสอง ทั้ง สหรัฐฯ อิตาลี สเปน และ อังกฤษที่ใช้ Harrier GR.9A ก็มีโครงการจัดหาอะไหล่ร่วมกันครับ
แต่อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ที่ผ่านมากองทัพเรือคงไม่น่าจะต้องการ บ.มือสองแล้วครับ
อะเช ขอบพระคุณสำหรับทุกความเห็นครับ