เป็นการรวบรวม การอัพเกรดของเรือชั้น Perry ของประเทศที่ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง จากของเดิม เพื่อให้ดีขึ้น
ไม่มีประเทศที่ประจำการและเป็นสเปคเรือเดิม ครับ..
เท่าที่ดู เรือชั้น Perry เป็นเรือเก่า ที่หลายประเทศ อัพเกรดได้ดูน่าสนใจ และคงจะประจำการต่อเนื่องในอนาคต ไม่ต่ำกว่า 20 ปี...
โดยเฉพาะในส่วนของ ประเทศ ออสเตรเลีย ที่ปรับปรุงและคาดว่าจะประจำการไปจนถึงปี 2020...ก็น่าสนใจสำหรับตลาดเรือมือสองในอนาคต...
ในส่วนของ ไตหวัน เป็นเรือที่ ไตหวัน ประกอบต่อขึ้นเอง และอนาคต ไตหวัน ก็กำลังขอซื้อเรือชั้น Arleigh Burke จากสหรัฐ...ซึ่งเป้าหมายก็เพื่อทดแทนกับ เรือชั้น Perry ที่ ไตหวัน พยายามจะติดตั้งระบบ Aegis แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากขนาดใหญ่ไป...ก็เลยจะซื้อ เป็นเรือใหม่ไปเลย...
แต่เดิม ไตหวัน ต้องการเรือชั้น Perry ประจำการถึง 20 กว่าลำ จึงทำการต่อสร้างขึ้นเอง...ซึ่งถ้า ประเทศไทย ไม่ติดปัญหากับ จีน แผ่นดินใหญ่...ไม่แน่ เรือ Perry จาก ไตหวัน อาจจะมาเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของ ทร. ไทย ก็ได้...
ส่วนของ ตุรกี นี่ ความเห็นผมว่า เจ๋งสุด คือ นำระบบควบคุมการรบ GENESIS ที่ตนเองพัฒนาขึ้นมาเอง นำมาปรับปรุงกับเรือชั้น Perry และจะนำไปใช้กับเรือรุ่นใหม่ ด้วย...
ปัจจุบัน ร.ล.มกุฎฯ ก็ทำหน้าที่ เรือฝึกแทน ร.ล.ปิ่นเกล้า...
ร.ล.ตาปี คีรีรัฐ จะอายุครบ 40 ปี ในปี 2554 คือ อีก 2 ปีข้างหน้า...และ ผมก็คาดว่า น่าจะประจำการ อายุครบ 50 ปี...
ดังนั้น ในอีก 2 ปีข้างหน้า เรือ OPV ลำแรก ที่ ทร. ต่อเอง...น่าจะเสร็จ...ในอีก 10 ปี ที่เหลือของ ตาปี คีรีรัฐ ก็น่าจะเป็น OPV อีก 3 ลำ ที่เหลือมาทดแทน ซึ่งก็รวมถึง แทน ร.ล.มกุฎฯ ด้วย...(ปัจจุบัน ทร. เรือรบ น้อยไป 1 ลำ จาก ร.ล.ปิ่นเกล้า ที่เป็นเรือฝึกปลดประจำการ โดย ร.ล.มกุฎฯ มารับหน้าที่แทน) ก็น่าจะพอดีกับระยะเวลา (กรณี มีความพึงพอใจ และประสบความสำเร็จ สำหรับ OPV ลำแรก)
ตามโครงการที่กำลังเริ่มในปัจจุบัน ทร. จะมีเรือใหม่ มาแทน เรือเก่า เท่านั้น...ยังไม่มีจำนวนเรือรบ เพิ่มเติม...
เมื่อเทียบจากปี 2539 บวกจากปัจจุบันไปอีก 8 - 10 ข้างหน้า ประเทศเพื่อนบ้าน จะมีจำนวนเรือรบ ที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม...ไม่ได้ทดแทน ของเก่า...
เช่น มาเลเซีย จะมี ลิเคียว เพิ่ม 2 เรือดำน้ำ 2 เรือ OPV meko-100 จำนวน 6 ลำ
สิงคโปร์ จะมีเรือสมรรถนะสูง ครบ 6 ลำ ซึ่งเพิ่มจากเดิม ที่ไม่เคยมี เรือรบสมรรถนะสูงเลย จากปี 2539...รวมกับ เรือดำน้ำ ใหม่ อีก 2 ลำจากสวีเดน...
และอินโดนีเซีย ก็มีส่วนที่เพิ่มจากปี 2539 คือ เรือ OPV ใหม่ จำนวน 4 ลำ ที่ต่อจาก เนเธอร์แลนด์ และต่อภายในประเทศ รวมถึง เรือดำน้ำ กิโล จากเงินกู้ของรัสเซีย
ในส่วนของ ทร.ไทย ที่จะมีเรือรบเพิ่ม ก็มีเพียง โครงการเรือรบสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ...เท่านั้น ที่จะมีโอกาสเป็นไปได้...ส่วน เรือดำน้ำ...ผมไม่ค่อยหวังเท่าไหร่...
เมื่อมองถึง สมดุลทางทหารในภูมิภาค เพื่อนบ้านมี จำนวนเรือ ที่เพิ่ม และมีสมรรถนะที่เพิ่ม ในขณะที่ ทร.ไทย ยังมีจำนวนเท่าเดิม และสมรรถนะ เท่าเดิม หรือ ปรับปรุงให้เป็นไปตาม สเปคเดิม (เช่น นเรศวร)
ผมจึงมองโอกาสว่า เรือมือสอง ก็จะเข้ามาแทรกได้...ถ้า งบประมาณ และสภาพเศรษฐกิจ ไม่เอื้ออำนวย...ที่จะจัดหาเรือใหม่ได้...
นั่นแหล่ะครับท่าน AAG_th1 ในเรื่องความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง...ซึ่งผมว่า ทร.สหรัฐ ปัจจุบัน ก็ใช้งาน Perry เหมือนเรือ OPV อยู่ในปัจจุบัน...ได้ถอนเครื่องยิงจรวดออกหมด...
ซึ่ง สหรัฐ น่าจะแก้ไขในเรื่องสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์...ไปตามข้างต้นน่าจะหมดแล้ว...สำหรับเรือในชั้นนี้...ในเรื่องความสิ้นเปลือง ผมว่าไม่น่าจะมากเหมือนอดีตแล้ว...
แต่อันนี้ มันเป็นเรื่อง สมมติ ที่ผมเกริ่นขึ้นมา...
ซึ่งในเรื่องเรือมือสอง ผมว่า ทร. คงไม่สามารถให้หลุดไปจากตัวเลือกได้...
เพราะปัญหาของ ทร. ที่ผ่านมา คือ งบประมาณ ในการจัดหาอาวุธเข้าประจำการ....สำหรับ เรือใหม่ จำนวน 1 ลำ ราคาปัจจุบัน ผมว่าไม่ต่ำกว่า 200 - 300 ล้านเหรียญ ที่ระบบเรดาร์ และระบบอาวุธ จะเป็นระบบพื้นฐานในปัจจุบัน ถ้าเอาแบบครบชุด ผมว่า 400 ล้านเหรียญ ต่อลำ คงได้เห็น...ยกเว้น...ทร.จะจัดหา เรือใหม่โดยซื้อจาก จีน หรือ ต่อเอง...ที่ราคาอาจจะต่ำไปกว่านั้น...
ในขณะที่ งบประมาณ OPV จำนวน 3 ลำ ก็รออยู่...(เพื่อเตรียมมาทดแทน ร.ล.ตาปี คีรีรัฐ และมกุฎราชกุมาร ในระยะอันใกล้)
และสถานะเศรษฐกิจประเทศไทย กว่าจะเห็นแสงสว่างคงไม่ต่ำกว่า 2 ปี นั่นหมายถึง มาเริ่ม โปรเจคงบประมาณจัดหาอาวุธ กันใหม่...
ผมเลยกะว่า ในอีกประมาณ 2-3 ปี ข้างหน้า...ถ้า ทร. ยังไม่เห็นแวว งบประมาณขนาด 200 - 300 ล้านเหรียญ ต่อ เรือรบใหม่ จำนวน 1 ลำ เกิดขึ้น...โอกาสที่พิจารณา เรือมือสอง ในราคา 200 - 300 ล้านเหรียญ แต่ได้ 2 - 4 ลำ ก็น่าจะเกิด...เพราะ เรือชั้น Knox แม้จะเป็นเรือใหม่ของ ทร. ไทย แต่ก็เก่ามาจาก สหรัฐ แล้ว และความสิ้นเปลือง ก็มีอยู่เช่นเดียวกัน...ก็น่าจะเป็นโอกาส ของ Perry หรือ เรือมือสองอื่นๆ เหมือนกัน...ที่จะมาเสริมเรือชั้น Knox และ เสริมจำนวน ให้ใกล้เคียง หรือ ครบ ตามความต้องการของ ทร. ที่มากกว่าปัจจุบัน...
เพราะปัจจุบัน แม้ ทร. จะจัดหาเรือใหม่ ก็ยังมีจำนวนเรือรบ เหมือนปี 2539
อันนี้ ผมเทียบจำนวนเรือ ที่ประจำการมาทดแทน ของเก่านะครับ...ไม่ได้ หมายถึง เรือรบที่มีภาระกิจ ตามความต้องการของ ทร.
ปลด ร.ล.ประแส ท่าจีน ได้ ร.ล.ปัตตานี นราธิวาส
ปลด ร.ล.ปิ่นเกล้า ได้ เรือ OPV ต่อเอง ลำใหม่
ในระยะอันใกล้ ร.ล.ตาปี คีรีรัฐ มกุฎราชกุมาร ก็จะทะยอยตามลำดับ...ซึ่งก็จะได้ เรือ OPV ตามโครงการ จำนวน 3 ลำ มาแทน...
ถามว่า กองทัพเรือไทย สนใจเรือชั้นนี้ไหม
ตอบว่า สนใจแน่นอน
ถามว่า มีโอกาสไหมที่จะจัดหาเข้าประจำการ
ตอบว่า มีโอกาสแต่ไม่มาก
ถามว่า ถ้าจัดหา จะจัดหากี่ลำ
ตอบว่า 3 ลำ (อาจจะเป็น เรือหลวงแม่กลอง,ท่าจีน,ประแส ลำใหม่)
ขอให้ย้อนดู ที่กระทู้เรือหลวงธนบุรี
เคยมีข้อมูลออกมาว่ากองทัพเรือไทยเคยพิจารณาเรือชั้น Oliver Hazard Perry ตั้งแต่มีการปลดเรือรุ่นลำตัวสั้น(Flight I)แล้วครับ แต่มีการสรุปว่าเรือชั้นนี้ไม่เหมาะกับกองทัพเรือไทยเนื่องจากเรือชั้นนี้ใช้ ย.Gas Turbine ล้วน 2เครื่องไม่มี ย.ดีเซลเลย ซึ่งมีความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในการปฏิบัติการสูงเกินไปสำหรับกองทัพเรือครับ
เรือชั้น Oliver Hazard Perry นั้นเป็นเรือที่ออกแบบมาตั้งแต่ปี 1970s ซึ่งส่วนตัวคิดว่าแนวคิดของกองทัพเรือในปัจจุบันคงไม่ต้องการเรือมือสองในขณะนี้ เพราะการต่อเรือใหม่ถึงแม้ว่าจะใช้งบประมาณมากกว่าใช้งานได้ในระยะยาวคุ้มค่ากว่าครับ
สหรัฐอเมริกา
มีอีก 1 ประเทศ ที่ได้รับประจำการล่าสุด คือ ทร.ปากีสถาน จำนวน 1 ลำโดย ปากีสถาน มีแผนปรับปรุงแต่ยังไม่มีข้อมูลออกมา ว่าจะพัฒนาไปในแนวทางใด เบื้องต้น งบประมาณในการปรับสภาพจาก สหรัฐ ประมาณ 65 ล้านเหรียญ...
โดย สมมติ ว่า ถ้า สหรัฐ มีการจำหน่าย หรือให้ความช่วยเหลือทางทหาร ในส่วนของเรือชั้น Perry
ในแง่ตลาดมือสอง List เรือข้างบนตามความเห็นที่ 1 จะเป็นเรือที่น่าสนใจมากที่สุด...
ในส่วนเรือที่นอกเหนือจากนี้ ที่สหรัฐปรับเป็นซากเรือ และ มีเรือ FFG-12 กับ FFG-14 อีก 2 ลำ...ที่ผมว่า ไม่น่าสนใจนัก...เพราะเรือ 12 กับ 14 มีการจะขายให้ประเทศอื่นมาหลายครั้ง แต่ก็ไม่สมหวังสักที...ปัจจุบัน เรือ 2 ลำนี้ ประเทศที่น่าจะได้ไป น่าจะเป็น ปากีสถาน แต่เดิม ตุรกี ได้ไป...ก็รู้สึกว่า ตุรกี ยกเลิก 2 ลำนี้...แต่ก็ไม่แน่ใจว่า สุดท้าย ตุรกี จะกลับมาเอาไปอีกหรือไม่...
และเท่าที่สังเกตุการขายเรือชั้น Perry ของ สหรัฐ จะขายเรือเก่าจริง ๆ ดังนั้น...สมมติ ถ้ามีตลาดเรือมือสอง ชั้น Perry ขึ้นอีก...เรือลำดับต่อไป ที่สหรัฐจะขายให้กับประเทศที่สนใจ ก็น่าจะเริ่มเรียงจากเลขที่ 29 ลงมา....
ก็จะกลายเป็นว่า ใครซื้อช้า ก็จะได้เรือประจำการล่าสุดไป ตามลำดับ...ดังนั้น เรือชั้นนี้ อย่า รีบ ซื้อ เชียวนะ ต๊ะเอง....
และเท่าที่ดูทั้งหมด ผมชอบของ ตุรกี มากที่สุด...ระบบอำนวยการรบ GENESIS พัฒนาเอง มาใช้เอง...ไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างอะไรมากมาย ในเบื้องต้น ระบบอาวุธคงเดิม...แต่ดูแล้ว ช่วยสร้างความเชื่อมั่น และหวังผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากอาวุธระบบของเดิม ดี...
ต๊ายยยยยย....เชย อิ๊บเปง.....ใช้รูปผิดครับ...ขอโทษ อย่างแร๊งงงงง...
ความเห็นข้างบน และในแผ่นภาพของ ตุรกี เป็นรูปจำลอง ของห้องควบคุมการรบ แบบเดิมของเรือชั้น Perry....
ภาพจำลองของ ห้องควบคุมการรบระบบ GENESIS จะเป็น ดังนี้ครับ..
แก้ใหม่...
การปรับปรุงเครื่องจักรของเรือชั้น Perry ในส่วนของกองทัพเรือสหรัฐฯข้างต้นนั้นเป็นการเปลี่ยน "เครื่องกำเนิดไฟฟ้า"(Electrical Generator) ใหม่ครับไม่ใช่เครื่องยนตร์หลัก
การเปลี่ยนเครื่องยนตร์หลักเรือใหม่นั้นดูเหมือนจะเป็นเรือที่ทำไม่ได้ครับ เพราะเป็นสิ่งที่ติดตั้งมาตั้งแต่ออกแบบและต่อเรือ สร้างเรือใหม่ดูจะคุ้มกว่าครับ
ในส่วนเรื่องเครื่องยนต์ อันนี้ ผมก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน...อิ อิ อิ
ว่าสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ดังกล่าว จะเกี่ยวกับเครื่องจักร แก๊สเทอร์ไบ หรือไม่... อันนี้เป็นข้อมูล สินค้าของ CATERPILLAR
ON-BOARD POWER GENERATORS FOR NAVAL SHIPBUILDERS
Caterpillar is also a major supplier of both propulsion engines and on-board power generation systems to naval shipbuilders. The US Navys Virginia Class nuclear submarine and San Antonio Class Amphibious Transport, Dock have Caterpillar generator sets on board, as do the Royal Navys new River Class offshore patrol vessels. Other recent Caterpillar successes include the Spanish Navys Alvaro de Bazán Class frigates, the Mexican Navys Justo Sierra Mendez Class gunships and the Royal Malaysian Navys A 100 type offshore patrol vessel.
Caterpillars engineering equipment, diesel engines and generator sets all incorporate cutting-edge technology developed for the demanding commercial marketplace. Availability, reliability and affordability, combined with total global support, means that Caterpillar can deliver military mission solutions whenever and wherever they are required.
และโปรเจค การปรับปรุงของ สหรัฐ เป้าหมายหลัก คือ การลดค่าใช้จ่าย ในการปฏิบัติงานของ Perry...ผมจึงมองว่า เมื่อปรับปรุงตามนี้ ค่าใช้จ่าย ในการปฏิบัติงานของ Perry ต้องลดลงจากเดิม และในส่วนค่าใช้จ่ายที่ลดลงนั้น ก็ต้องมากกว่า เงินที่ลงทุนที่ใช้ในการปรับปรุงด้วย ครับ...
โปรเจคการปรับปรุง เรือชั้น Perry และ ความคืบหน้า...
ส่วนของแหล่งกำเนิดพลังงานในเรือรบผิวน้ำปัจจุบันนั้นจะมีหลักๆสองส่วนครับคือ เครื่องยนตร์หลักซึ่งใช้ในการขับเคลื่อนใบจักรให้เรือแล่นได้ อีกส่วนอีกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งจะผลิตไฟฟ้าให้กับระบบต่างๆในเรือ ความต้องการในการต่อเรือใหม่แต่ละลำก็จะมีรายละเอียดในส่วนนี้ครับ ก็ตามที่กล่าวไปในข้างต้นครับว่า การเปลี่ยนเครื่องยนตร์หลักของเรือใหม่นั้นเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะทำได้ครับ
เรือชั้น Perry ที่อยู่ในส่วนกองเรือสำรองตามข้อมูลข้างต้นเป็นรุ่น Flight III ลำตัวยาวครับ ซึ่งจะต่อในช่วงปี 1982-1986 ครับ ซึ่งปัจจุบันเรือหลายลำยังคงปฏิบัติการอยู่ครับ
ลองไปดูข้อมูลใน Globalฯ รายละเอียดการอัพเกรด ก็เป็นตามที่ท่าน AAG_th1 ว่าไว้ เป็นในส่วนของ Ship Service Generator...
เลยลองหาข้อมูลถึง Operating Cost ต่อปี ของเรือ แก๊สเทอไบ
ในส่วนของข่าว ที่พูดถึงการพัฒนาเรือ LCS และกล่าวถึง Operating Cost ต่อปี ในเรือชั้นต่าง ๆ
Ticonderoga 35 ล้านเหรียญ / ปี
Spruance 34 ล้านเหรียญ / ปี
Burke 26 ล้านเหรียญ / ปี
Perry 19 ล้านเหรียญ / ปี
ในโครงการ LCS ซึ่งจะมาทดแทนเรือชั้น Perry สหรัฐ วางเป้าหมาย Operating Cost ที่ 14 ล้านเหรียญ / ปี
สหรัฐ จึงมีการอัพเกรดทั้งเรือชั้น Ticonderoga และ Burke รวมถึง Perry เพื่อให้มี Operating Cost ต่ำลงมา เช่น Ticonderoga ให้เหลือประมาณ 28 ล้านเหรียญ / ปี Burke ประมาณ 20 ล้านเหรียญ / ปี...แต่ไม่ได้พูดถึง Perry....
ผมจึง เดา ว่า ในส่วนของ Perry เป้าหมาย ก็คงจะเป็นให้ลดลงมาที่ประมาณ 14 ล้านเหรียญ / ปี..ตามเป้าหมายของเรือ LCS
Operating Cost นี่ น่าจะหมายรวมถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลูกเรือ ด้วย...และอื่น ๆ ที่ไม่ได้ หมายถึง ค่าเชื้อเพลิง หรือ บำรุงรักษา อย่างเดียว...
ถัวเฉลี่ย ค่าใช้จ่ายต่อปีของ Perry แบบยังไม่อัพเกรด ก็น่าจะอยู่ประมาณ 16-19 ล้านเหรียญต่อปี...คำนวณเป็นเงินไทยแบบคร่าว ๆ ที่อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาท ก็ประมาณ 480 - 670 ล้านบาท ต่อปี....ซึ่งก็เป็นมูลค่าถัวเฉลี่ย...ในแง่การใช้งานของ สหรัฐ ที่มีการใช้งานอย่างเต็มที่...
เรื่อง สมมติ ว่า ถ้า ทร. มีการใช้งานประมาณ 50% ของที่ สหรัฐ ใช้งานอยู่ ค่าใช้จ่าย ต่อ ปี ของเรือ Perry ก็น่าจะอยู่ประมาณ 240 - 335 ล้านบาท ต่อ ปี...
ก็ไม่รู้ว่า ปัจจุบัน ทร. มีค่าใช้จ่าย เรือรบที่เป็นกำลังหลัก ถัวเฉลี่ยต่อปี ประมาณเท่าไหร่...
แผ่นนี้ เป็นตารางเปรียบเทียบ สมมติ ต้องมีการจัดหาเรือประจำการ สำหรับ เรือใหม่ กับ เรือชั้น Perry โดยคำนึงถึงสภาพงบประมาณ ถ้าต้องเลือก แบบใด แบบหนึ่ง...
โดยค่าใช้จ่ายต่อปี ของ เรือชั้น Perry ใช้มาตรฐานการใช้งานของ สหรัฐ....
ในส่วนเรือใหม่ ถ้า ทร. จัดหามา ก็จะเป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์ ดีเซล ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่า ค่าใช้จ่ายของ เครื่องยนต์ดีเซล กับ แก๊สเทอร์ไบน์ จะเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ เลยตั้งสมมติฐาน ที่ 50% ของ แก๊สเทอร์ไบน์ หรือ ที่เรียกว่า ค่าใช้จ่ายเครื่องยนต์ แก๊สเทอร์ไบน์ เป็น 1 เท่าตัว ของ เครื่องยนต์ดีเซล...
และใช้สมมติฐานที่ว่า ในระยะเวลา 50 ปี สำหรับการประจำการของเรือรบ ทร.ไทย ระหว่าง จัดซื้อเรือใหม่ตอนนี้ กับ มีความจำเป็นต้องจัดหา เรือมือสอง โดยสมมติว่า เป็น เรือชั้น Perry...โดยเรือชั้น Perry จะใช้ประจำการเพียง 20 ปี (โดยรวมอายุเดิมของ Perry ด้วย) และ ทร. ต้องจัดหาเรือใหม่ในปีที่ 20 ปี และใช้ต่อไปอีก 30 ปี...ก็จะเท่ากับ อายุประจำการ ของเรือใหม่ ถ้าจะจัดหาในระยะเวลาเดียวกัน...
ซึ่งเมื่อครบ 50 ปีแล้ว ทร.ก็ต้องจัดหาเรือใหม่มาทดแทน เพื่อให้เรือมีจำนวนประจำการครบเท่าเดิม...
แผ่นภาพ จึงเปรียบเทียบว่าในระยะเวลา 50 ปี ประมาณการการใช้งบประมาณ จะใช้ประมาณไม่ต่ำกว่าเท่าใด...
ทั้งนี้ ในแง่ของการหามูลค่าที่แท้จริง มันจะมีสูตรคำนวณทางการเงิน ซึ่งมันจะเป็นการคำนวณชั้นสูง และสูตรคำนวณอัตราเงินเฟ้อ...ซึ่ง ผมคงไม่สามารถใช้ได้ขนาดนั้น...
จึงเป็นการคำนวณ แบบง่าย ๆ โดยใช้ อัตราค่าใช้จ่ายคงที่ เป็นดอลล่าร์ ตลอดระยะเวลา 50 ปี ไปเลยครับ...
ถ้าเรามีตัวเลขที่ชัดเจน สำหรับค่าใช้จ่ายต่อปี ของเรือใหม่ และใช้สูตรคำนวณทางการเงินชั้นสูง...จะทำให้เห็นความชัดเจนได้ใกล้เคียงมากขึ้น...
จากแผ่นภาพข้างบน...
ถ้า ทร.จัดหาเรือใหม่ในตอนนี้ ในระยะเวลาอีก 50 ปี ข้างหน้า
ทร.จะยังคงมีเรือประจำการ จำนวน 1 ลำ อายุใช้งานเหลืออีก 50 ปี จะใช้งบประมาณ ประมาณ 1,200 - 1,325 ล้านเหรียญ
ถ้า ทร.จัดหาเรือมือสอง (สมมติเป็น Perry) ในระยะเวลาอีก 50 ปีข้างหน้า
ทร.จะยังคงมีเรือประจำการ จำนวน 1 ลำ อายุใช้งานเหลืออีก 20 ปี จะใช้งบประมาณ ประมาณ 610 - 685 ล้านเหรียญ
ซึ่งทั้งหมดเป็นตัวเลข ที่ใช้ข้อมูลโดยทั่ว ๆ ไป ไม่ได้จะทำให้ตัดสินใจอะไรได้ แต่จะทำให้มองภาพได้มากขึ้น ถ้าเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายระหว่าง เรือใหม่ กับ เรือมือสอง...
คราวนี้ ก็คงจะอยู่ที่ว่า ในความเป็นจริงตัวเลขต้นทุน เรือใหม่ควรจะอยู่ประมาณเท่าไหร่ในสภาพปัจจุบัน และค่าใช้จ่าย ต่อ ปี ของเรือใหม่ จะประมาณเท่าไหร่ ต่อปี...
และราคาจัดซื้อ เรือมือสอง จะเป็นเท่าไหร่สำหรับ ทร.ไทย และ คชจ. ต่อปี ของเรือมือสองแบบนั้น ๆ จะเป็นเท่าไหร่...
ถ้าได้ตัวเลขที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ก็น่าจะทำให้ตัดสินใจได้ถูกกับสภาพงบประมาณของ ทร. ที่จะได้รับในปีต่อ ๆ ไป....ว่าควรจะเป็น เรือใหม่ หรือ เรือมือสอง ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน...
เฮ่อออ...เซ็งงงง....สูตรผิด...ใช้โปรแกรมของฟรี...ก็มักจะเป็นแบบนี้ กั๊ก กั๊ก กั๊ก...
ผมใช้ Openoffice โปรแกรมเหมือน excel แต่เวลาใช้สูตร มันจะวุ่นวาย กว่าสูตร excel มาก...เวลาใช้สูตร บวก ถ้าเป็น excel มันจะวิ่งลงหาคอลัมพ์ข้างล่าง...แต่ของ Openoffice มันจะวิ่งขึ้นข้างบนแทน...ผมถึงว่า ทำไม ตัวเลขมันต่างกันเยอะ จัง...
ของสรุปใหม่ครับ...ว่า
ถ้าซื้อเรือใหม่ ในระยะเวลา 50 ปี ทร.จะยังมีเรือประจำการ 1 ลำ อายุใช้งานเหลืออีก 50 ปี จะใช้งบประมาณประมาณ 1,200 - 1,325 ล้านเหรียญ
ถ้าซื้อเรือมือสอง ในระยะเวลา 50 ปี ทร.จะยังมีเรือประจำการ 1 ลำ อายุใช้งานคงเหลืออีก 20 ปี จะใช้งบประมาณประมาณ 955 - 1,130 ล้านเหรียญ....
ท่าน juldas นี่ถ้าอยู่แผนกการเงินทร.น่าจะรุ่งระดับนายพลเลยนะครับ เห็นภาพและเหตุผลการจัดหาเรือแต่ละแบบเข้าประจำการในทร. ทำให้เพื่อนๆในเปเห็นระดับรายจ่ายของเรือที่จะนำเข้าประจำการเลย
รู้สึกว่าเรือชั้นใหม่ๆนั้นจะมีค่าใช้จ่ายในระยะยาวดีกว่ามากเลยนะครับ แต่เสียอย่างเดียวว่าถ้าต่อที่ต่างประเทศจะทำให้ต้องใช้เงินมากมายมหาศาลในการจัดหา
เพื่อนบ้านรอบตัวพยายามจัดหาเรือใหม่เพิ่มเติมจากเดิมมากทำให้กำลังรบของเราด้อยลงไปมากเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน เพราะเราย่ำอยู่กับที่ แต่เพื่อนบ้านนั้นก็เริ่มมาจากกองเรือเล็กๆที่มีค่าใช้จ่ายไม่มาก แต่ระยะหลังพวกเขาสามารถหาเงินได้ดีขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับเรา ก็ไม่แปลกที่ทางเขาจะสามารถจัดหาเรือขนาดใหญ่มาใช้งานได้มากขึ้น และที่สำคัญเขาจัดหาใหม่เลยเพราะของเก่าไม่มี มันก็ง่ายขึ้นมากในการตัดสินใจ แต่เอาเป็นว่าพวกเขาจะต้องแบกรับรายจ่ายค่าปฎิบัติการที่คาดว่าตลอดช่วงอายุเรือแล้ว มีราคาเกือบเท่าราคาเรือตอนต่อใหม่มาเลย ....... กึ๋ยย
มิน่าว่าทำไม่ทางทร.เกาหลีใต้ถึงสามารถจัดหาเรือใหม่ได้จำนวนมากๆ นอกจากรวยขึ้นมากแล้ว การที่สามารถต่อเรือเองได้เกือบทั้งหมดทำให้ต้นทุนในตอนแรกต่ำ (ราคาเรือใหม่ต่อเองถูกกว่าจากยุโรปอเมริกา 50%-80%) และเนื่องจากเรือใหม่มีค่าปฎิบัติการต่ำ ดังนั้นในระยะยาวแล้วทร.เกาหลีใต้จะมีค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อคำนวณต้นทุนทั้งหมด
เงินเท่ากัน ต้นทุนเท่ากัน แต่สามารถคงระดับความสามารถในการป้องกันประเทศสูงกว่ามาก
ดูแล้วประเทศเราน่าจะรีบๆก้างเข้าสู้การพึ่งพาตนเองในการต่อเรือขนาดใหญ่และเรือดำน้ำให้เร็วที่สุดครับ เพราะตอนนี้ค่าต่อสร้างของเราต่ำกว่าชาติยุโรปอเมริกามาก ถ้าเราทำได้เร็ว เราก็จะมีต้นทุนรวมในการสร้างกำลังรบป้องกันประเทศที่ต่ำได้
น่าจะเปิดสาขาย่อยวิชาว่าด้วยเศรษฐศาสตร์เพื่อการป้องกันประเทศขึ้นมานะเนี่ย
ขอบคุณครับสำหรับคำแซวท่าน neosiamese...ฮิ ฮิ...แต่ที่ผมคำนวณนี่ เป็นระดับพื้น ๆ บวก ลบ ธรรมดา ครับ...ความจริง กองทัพมีแผนกการเงิน อยู่แล้วครับ...สามารถที่จะประสานกับ กระทรวงการคลัง และ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในการขอความร่วมมือ และประสานในเรื่องการหามูลค่าปัจจุบัน และการลงทุนในการจัดซื้ออาวุธ...และแยกรายจ่าย เป็นต้นทุนของแต่ละหน่วยงาน เพื่อใช้ในการบริการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น....ซึ่ง ผู้ชำนาญการ เหล่านี้ สามารถที่จะคำนวณและบอกได้ว่า ถ้าเรายังไม่ซื้ออาวุธในปีนี้ ในอีกระยะ 5 - 10 - 20 ปี จะต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ ถึงจะได้ราคาเท่ากับอาวุธที่กำลังเสนอขายอยู่ในตอนนี้...
ซึ่งส่วนการเงินของกองทัพ ก็มีส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งในการที่จะกำหนด นโยบายและวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์ของกองทัพด้วย...ถ้าส่วนการเงินของกองทัพ มีประสิทธิภาพมากเทียบเท่ากับ กองกำลังทางยุทธวิธี...จะสามารถบริหารการจัดการงบประมาณ และทำให้ กองทัพรู้จักจัดซื้ออัตราจำนวนอาวุธ ได้เพียงพอเท่าที่จำเป็น สอดรับกับความจริงทางงบประมาณที่กองทัพได้มา...และวางแผนว่า อาวุธที่กองทัพต้องการ สามารถวางงบประมาณจัดหาได้ในปีไหน ที่จะทันความต้องการใช้...และสามารถ ควบคุมรายจ่ายและบริหารสวัสดิการกองกำลังพล ทำให้กำลังพล ไม่ลำบากในส่วนของรายจ่ายชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้ประสิทธิภาพกำลังพล มีมากขึ้น...
ซึ่งในบริษัทเอกชน ที่มีการขยายการเติบโตที่ดี ก็เป็นผลมาจากการที่มี ฝ่ายบัญชีและการเงิน ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ ผู้บริหารบริษัทฯ สามารถวางยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจ...จนประสบความสำเร็จ...และในขณะเดียวกัน บริษัทเอกชน ที่มีฝ่ายบัญชีและการเงิน ที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ...ก็สามารถทำให้ บริษัทฯ ล้มละลายได้...เช่นเดียวกับที่ บางครั้ง กองทัพ ก็จัดหาอาวุธมาตั้งทิ้งไว้เฉย ๆ เพราะไม่มีงบประมาณในการซ่อมบำรุง และใช้งาน ก็เป็นมาจากสาเหตุ กองทัพ มีส่วนการเงิน ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ที่จะให้ข้อมูลได้ว่า สภาพงบประมาณของกองทัพในอนาคตที่คาดการณ์ว่าจะได้รับตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ ...มีเพียงพอ และไม่เพียงพอ ในการจะดำรงสภาพและการใช้งานของอาวุธที่มีความต้องการจัดหามา
กองทัพ ไม่ควรละเลยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครับ...
ในส่วนตัวเลขที่ผมเสนอนั้น...เป็นลักษณะการตั้งตุ๊กตา...ตามแผ่นภาพ จะดูว่า การซื้อเรือใหม่น่าจะดีกว่าการซื้อเรือมือสอง...เพราะผมตั้งตัวเลขที่ เรือใหม่ราคาต่ำ...แต่ถ้า เรือใหม่ที่จะจัดหา มีมูลค่าที่มากกว่านั้น อาจจะเป็น ลำละ 350 - 400 ล้านเหรียญต่อลำ...และค่าใช้จ่ายต่อปี...อาจจะสูงกว่าที่ประมาณการไว้ในแผ่นภาพข้างบน...โดยระบบอาวุธ และระบบอำนวยการรบต่าง ๆ เป็นระบบแบบพื้นฐาน ยังไม่ครบสเปคตามที่ ทร. ต้องการ...
ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน...การจัดซื้อ เรือมือสอง ก็จะดูคุ้มค่ากว่า การจัดหาเรือใหม่...
และถ้าเกิด ราคาเรือใหม่ ทร. สามารถหาได้ในราคาดังกล่าวได้ และค่าใช้จ่ายก็ไม่เกินจากนั้น...แต่สภาพเศรษฐกิจ และการเมือง วิเคราะห์แล้วว่า ในอีกระยะไม่ต่ำกว่า 3 - 5 ปี ถึงจะดำเนินการของบประมาณได้...และระยะเวลาในการต่อเรืออีกประมาณ 4 ปี จะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 10 ปี ถึงจะได้เรือใหม่...แต่สภาพกองกำลังทางเรือทางยุทธศาสตร์ ต้องมีความจำเป็นจัดหาให้ได้ภายใน 5 ปีนี้...การจัดซื้อ เรือมือสอง ก็จะกลายเป็นความจำเป็นที่ ทร. ต้องเลือกจัดหามาประจำการก่อน...ในแง่ยุทธศาสตร์ของ ทร. ก็จะไม่สูญเสีย และในอีก 20 ปี ข้างหน้า ก็จะได้เรือใหม่มาทดแทน...
ซึ่งนั่นคือ ต้องอาศัย ตัวเลขที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ก็จะทำให้ตัดสินใจ ได้ว่า ควรจะเป็นเรือใหม่ หรือ เรือมือสอง ก็จะใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ครับ...
ตามเอกสารของบริษัท GE เครื่องยนตร์ Gas Turbine LM2500 มีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อต่อแรงแม้ต่อชั่วโมงที่ 0.373Gallonต่อ1แรงม้า
ซึ่ง ย.LM2500 มีแรงขับสูงสุด 33,600
ถ้าใช้กำลังเครื่องยนตร์ 100% จะเสียเชื้อเพลิงชั่วโมงละ12,530gal ที่กำลัง 30% ที่ 3,760gal ต่อชั่วโมง
เรือชั้น Perry ใช้ ย.LM2500 สองเครื่องถ้าเดินเครื่อง 100% และ 30% จะเลียเชื้อเพลิง 25,060gal และ 7,520gal ต่อชั่วโมงตามลำดับ
ส่วนตัวไม่ทราบว่า ย.ดีเซลที่ใช้กับเรือผิวน้ำหลักของไทยอย่าง ย.MTU ในปัจจุบันมีอัตราส่วนการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่อชั่วโมงเท่าไรครับ แต่เชื่อว่าน้อยกว่า ย.Gas Turbine มากๆ
ร.ล.จักรีฯ กับ ชั้น นเรศวร ก็ใช้ LM2500 เหมือนกันครับ...
Displacement: 11,300 tons full load
Dimensions: 182.5 x 30.5 x 6.15 meters (599 x 100 x 20.2 feet)
Propulsion: 2 shafts; 2 cruise diesels, 12,874 bhp, 16.7 knots;
2 LM2500 boost gas turbines, 44,250 shp, 26.2 knots
Displacement: 2,900 tons full load
Dimensions: 119 x 13 x 3.8 meters (390.5 x 42.5 x 12.5 feet)
Propulsion: 2 shafts; 2 cruise diesels, 14,770 bhp; 2 LM2500
boost gas turbines, 50,000 shp, 32 knots
จำได้เคยมีกระทู้ เกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนของเรือ
แล้ว 911 กับ ชั้น นเรศวร นี่เป็น CODOG หรือ CODAG ครับ...
CODOG
และ Perry เป็น COGOG หรือ COGAG
COGOG
ไปหามาจากของเก่า สมัย wing21
ผมทราบแบบนี้ครับ ถูกหรือเปล่า ผู้รู้จริงๆ ยืนยันด้วยครับ |
rinsc_seaver 3 กรกฎาคม 46 เวลา 10:11:08 น. |
คอมเม้นท์ของ ท่านกบ..
โดยพื้นฐานแล้ว เครื่องยนต์ของเรือจะมีหลักๆอยู่3แบบครับ คือ เครื่องไอน้ำ เครื่องดีเซล และเครื่องแก๊ซเทอร์ไบน์ |
กบ 3 กรกฎาคม 46 เวลา 13:18:23 น. |
โครงการ อัพเกรด Perry ของ ไตหวัน PFG-1110 Tien Tan
ภาพวาดสี
ฉบับแก้ไขใหม่ ครับ...
พอดีได้จัดทำ เรือทั้งหมดของ ชั้น Oliver Hazard Perry ไว้ แต่ของผม มันทั้งใหญ่ และยาว ทำให้ไม่สามารถทำเป็นรูปมาโพสไว้ในกระทู้ได้....
เลยฝากไฟล์ไว้ครับ...เป็น ไฟล์ PDF ใน uploadtoday มีอายุ 60 วัน...เมื่อท่านเข้าไปหน้าเว๊ปแล้ว...ก็อย่า วอกแวก จงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่นะครับ...กั๊ก กั๊ก กั๊ก กั๊ก
ที่ฝากไฟล์ไว้ตามความเห็นข้างบนใช้ไม่ได้นะครับ...
อันนี้ ลองใหม่ครับ
โอ้ยยย...มึน งง และ สับสน...ลองครั้งสุดท้ายแล้วครับ..
http://th.upload.sanook.com/A0/bff105780e3bc7ffeba39d18cc24aaf8
โหลดไฟล์ PDF แล้วต้อง SAVE ครับ..ใช้ OPEN ไม่ได้...