ครั้งนี้มีสองประเด็นที่จะนำมาเสนอครับ
ประเด็นแรกคือเรื่องเรือฝึกของกองทัพเรือ
โดยทั่วไปการใช้เรือเพื่อทำการฝึกนักเรียนนายเรือของกองทัพเรือไทยเองหรือกองทัพเรือหลายๆประเทศนั้นจะใช้เรือเก่าที่ประจำการมานานใช้การฝึกภาคทะเลครับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรือระดับเรือสำรองซึ่งมีอายุการใช้งานมานานและเป็นเรือรุ่นเก่า
เรือฝึกถือถือว่าเป็นเรือครูของกองทัพเรือไทยเองก็เช่น ร.ล.ท่าจีน(ลำที่สอง), ร.ล.ประแส, ร.ล.โพสามต้น, ร.ล.ปิ่นเกล้า ก็เป็นเรือสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ ที่มีอายุมากสภาพเรือทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ปัจจุบันก็ได้ปลดประจำการไปแล้ว
ดูเหมือนปัจจุบันกองทัพเรือจะมีเรือที่สามารถนำมาใช้ฝึกนักเรือนายเรือได้อยู่คือ ร.ล.มกุฎราชกุมาร ครับ
อย่างไรก็ตามถ้าดูจากกองทัพเรือหลายๆประเทศนั้นมีการต่อเรือฝึกสำหรับใช้ในการฝึกนักเรียนขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ซึ่งโดยมากจะเป็นเรือขนาดใกล้เคียงกับเรือฟริเกต แต่ติดตั้งอาวุธ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการฝึกโดยตรง ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการน้อยกว่าเรือรบหลัก แต่ก็ทนทะเลพอที่จะออกปฏิบัติการในอาณาเขตทะเลของประเทศหรือออกเดินเรือไปอวดธงยังมิตรประเทศได้
(แต่บางประเทศก็มีการต่อเรือใบโบราณเพื่อใช้ในการฝึกครับ)
ส่วนตัวคิดว่าแนวคิดการจัดสร้างเรือฝึกโดยตรงของของกองทัพเรือนั้นเป็นแนวทางที่น่าสนับสนุนครับ เพราะนอกจากจะช่วยลดภาระของเรือรบหลักแล้ว การต่อเรือเรือใหม่จะทำให้นักเรียนนายเรือเรียนรู้การปฏิบัติการกับเรือสมัยใหม่ที่มี Technology ต่างจากเรือสมัยสงครามโลกที่เคยใช้มาก่อนในอดีต และยังมีอายุการใช้งานนานกว่าคุ้มกว่าในระยะยาวด้วย
หรือถ้าคิดอีกแนวเรือฝึกที่จะต่ออาจจะเป็นการต่อจำลองเลียนแบบจากเรือครูสมัยสงครามโลกเพื่อให้นักเรียนนายเรือคุ้นเคยกับการปฏิบัติการบนเรือพื้นฐานของทหารเรือในอดีตแต่มีการปรับปรุงระบบให้รองรับการฝึกของเรือสมัยใหม่ เช่นติดตั้งปืนใหญ่หลัก ปืนใหญ่รองแบบอัตโนมัติ รวมถึงลานจอด ฮ.สำหรับฝึกการปฏิบัติการกับอากาศยานเป็นต้นครับ
(ส่วนตัวคิดว่าอาจจะต่อโดยใช้แบบเรือชุด ร.ล.ปิ่นเกล้า เป็นต้นแบบ แต่ติดอาวุธคล้ายๆ เรือชุด ร.ล.ตาปี แล้วเพิ่มลาดจอด ฮ.ครับ)
ประเด็นที่สองอาวุธประจำกายของกำลังพลประจำเรือ
ในช่วง2ปีที่ผ่านมาถ้าดูจากการฝึกร่วมกับต่างประเทศของกองทัพเรือเช่น CARAT แล้วจะเห็นว่ามีการฝึกร่วมเกี่ยวการใช้ชุดตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัยหรือ VBSS(Visit, Board, Search and Seizure) ร่วมกับสหรัฐฯบ่อยๆครับ
ปกติในเรือตรวจการณ์ชายฝั่งและใกล้ฝั่งขนาดเล็กของไทยที่ต้องเข้าทำการตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัยว่าจะทำผิดกฏหมายนั้น เจ้าหน้าที่ทหารเรือ-ตำรวจจะมีอาวุธประจำกายเป็น ปลย.M-16 ซึ่งเพียงพอสำหรับการตรวจค้นและยึดเรือต้องสงสัยซึ่งโดยมากมักจะเป็นเรือประมงขนาดเล็ก
แต่ในกรณีที่เรือขนาดใหญ่กว่าเช่น เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจนถึงเรือฟริเกต ที่ต้องตรวจค้นและเข้าทำการจับกุมยึดเรือขนาดใหญ่กว่าเช่นเรือบรรทุกสินค้าหรือเรือขนน้ำมันกลางทะเลลึกนั้น เท่าที่ดูจากภาพการฝึกร่วมกับชุด VBSS ของสหรัฐฯนั้น ส่วนตัวคิดว่าดูเหมือนว่ากำลังพลประจำเรือของไทยที่เข้ารับการฝึกมักจะยังไม่มีอาวุธและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันนักกครับ
อาวุธประจำกายหลักของกำลังพลประจำเรือของไทยนั้นส่วนใหญ่จะเป็น ปลย.M-16A1 ซึ่งการตรวจค้นและกรณีที่อาจจะเกิดการปะทะในเรือนั้นปืนอาจจะะมีความยาวเกินไปทำให้เคลื่อนที่ไม่สะดวกถ้าเทียบกับการใช้ปืนเล็กสั้นหรือ Carbine เช่น M4A3 นอกนั้นก็เห็นมีการใช้ปืนพกบ้าง
ในส่วนของอุปกรณ์นั้นนอกจากหมวกเหล็กและเสื้อชูชีพแล้ว ถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะมีการจัดหาอย่างอื่นเพิ่มเติมเช่นเสื้อกั๊กทางยุทธวิธี(Tactical Vest) เสื้อเกราะกันกระสุน ไฟฉาย เป็นต้นครับ เพราะอย่างน้อยจะช่วยเหลือเรื่องความสะดวกในการปฏิบัติการและช่วยชีวิตกำลังพลได้ในกรณีเกิดเหตุรุนแรง
ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ได้ทราบมานี้ถูกต้องหรือไม่ครับว่า ปกติเรือของกองทัพเรือไทยที่เป็นระดับเรือหลวงขนาดใหญ่เช่น เรือฟริเกตนั้นจะมี "นาวิกโยธิน" ประจำการในเรือจำนวนหนึ่ง เพื่อรักษาความปลอดภัยเรือขณะจอดเทียบท่า หรือออกเดินเรือในทะเล ซึ่งสังเกตุได้ว่าจะแต่งกายด้วยชุดพราง มีอักษร "นาวิกโยธิน"ปักที่กระเป๋าหน้าอก มีป้ายบอกเรือที่สังกัด
ถ้าเข้าใจไม่ผิดการมีนาวิกโยธินประจำเรือนั้นก็มีมาแต่โบราณตั้งแต่สมัยเรือใบครับ เช่นนาวิกโยธินของอังกฤษที่อยู่ในเรือพร้อมลูกเรือด้วย ซึ่งจะป้องกันเรือจากการยึดของข้าศึกหรือเข้าบุกยึดเรือข้าศึกครับ
ซึ่งถ้าข้อมูลนี้ถูก นาวิกโยธินที่ประจำการบนเรือหลวงก็ควรจะได้รับการฝึกและรับมอบอาวุธและอุปกรณ์เพิ่มขีดความสามารถสำหรับภารกิจการตรวจค้นและยึดเรือให้เหมาะสมดีขึ้นกับสถานการณ์ในปัจจุบันครับ
เฉพาะในส่วนของอาวุธประจำกายของกำลังพลในเรือไม่ทราบว่าการเปลี่ยนจากปืนเล็กยาว M-16A1 มาเป็นปืนเล็กสั้นเช่น M4 นั้นจะเป็นแนวคิดที่เหมาะสมหรือไม่ครับ
ผมขอคุยเรื่องเรือฝึกอย่างเดียวนะครับ
เรื่องเรือฝึกลำใหม่ผมเห็นด้วยอย่างครับ ***
แต่เรื่องอาวุธประจำเรือนี่ผมเห็นแย้งนิดหน่อยครับ
ในยุโรปบางประเทศเรือฝึกของนักเรียนนายเรือยังเป็นประเภทเรือใบเลยนะครับ (คิดว่าน่าจะใช้ฝึกนักเรียนใหม่) เค้ามีความภาคภูมิใจที่ใช้เรือใบขยายอำนาจต่างๆในยุคก่อน จึงยังใช้เรือใบเป็นเรือฝึก
ส่วนกองทัพเรือไทยคงไม่มีเงินมากพอที่จะทำแบบนี้ ในแนวความคิดผม
- รูปแบบเรือเป็นแบบสมัยใหม่ ส่วนอุปกรณ์ต่างๆในเรือฝึกไม่ต้องทันสมัยมากนัก ฝึกแบบไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์มากนัก เรือพี่เลี้ยงมีอุปกรณ์ที่ดีกว่าอยู่แล้วไม่ต้องกลัวหลงฐานแน่น ตึกก็แข็งแรง (เสียเหงื่อเวลาฝึก ดีกว่าเสียเลือดเวลารบ)
- อาวุธ ผมยังเห็นด้วยที่เรือฝึกควรจะติดตั้งอาวุธยุคสงครามโลก หรือ สงครามเกาหลี เพื่อให้นักเรียนได้ฝึก เพราะอะไรเหรอครับ
ปืน 76/50 เรายังมีใช้ในเรือหลายลำ
ปืน 40/60 เห็นให้เกลื่อนทั้ง 3 เหล่าทัพเลย
ปืน 20 ม.ม. เออร์ลิคอน ที่ใช้มาตั้งแต่สงครามโลก หลายประเทศในยุโรปยังใช้อยู่นะครับ (อังกฤษ ตุรกี)
แต่ตัวเรือต้องพร้อมที่จะติดตั้งอุปกรณ์และอาวุธที่ทันสมัยทันทีที่มีภัยคุกคาม
- ส่วนเรื่องลานจอด ฮ. นี่ผมเห็นด้วย แต่ไม่เห็นด้วยถ้าจะมีโรงเก็บ ฮ. กรณีนี้ผมมองในมุมที่ต้องมีการส่งกลับทางสายแพทย์
ส่วนเรื่องที่จะเป็นห่วงว่าเมื่อนักเรียนจบเป็นเรือตรีแล้วจะใช้อาวุธทันสมัยไม่เป็น ต้องเข้าใจเรื่องนึงนะครับ นายทหารใหม่การจะได้ไปดูแลการใช้อุปกรณ์ใดๆในเรือก็ตามต้องเข้าโรงเรียนเพื่อศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องนั้นๆอยู่แล้วเป็นพิเศษ เพราะ คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล ประมาณก็เป็นเหยิ่อปลา
ผมว่าแนวคิดเรื่องการต่อเรือฝึกใหม่ก็เข้าท่าครับคือ
1. เรือใหม่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับเรือเก่ากึ๊ก ทั้งค่าบำรุงรักษา ค่าปฎิบัติการ
2. นักเรียนนายเรือจะได้ใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในเรือรบสมัยใหม่จริงๆ เช่น เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบท์ ระบบเดินเรือใหม่ๆ ระบบอำนวยการรบใหม่ๆ ส่วนระบบอาวุธก็เอาแค่ปืน 76 มม. ก็พอ แต่ต้องมีระบบจำลองการฝึกการยิงอาวุธนำวิถีแบบต่างๆ รวมทั้งการปราบเรือดำน้ำ
3. เรือควรจะสามารถใช้เป็นเรือ OPV ได้ทันทีที่ต้องการและสามารถปรับปรุงถึงระดับฟรีเกตเมื่อยามสงคราม
4. ควรมีโรงเก็บฮ. เพราะจะได้ฝึกการรับส่งฮ.จริงๆได้ แต่ไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีฮ.ประจำการ
5. ต้องเป็นเรือรุ่นเดียวกับเรือ OPV ที่กำลังประจำการอยู่เพื่อลดแบบเรือ และเพื่อความง่ายในการซ่อมบำรุงครับ
ในส่วนของอาวุธประจำกายนั้น ผมจำได้ว่าเคยผ่านตาเห็นปืน HK33 ที่เราผลิตนั้น มีรุ่นพานท้ายหด น่าจะเป็นรุ่น HK33K คงพอขัดตาทัพไปพลางๆ ก่อนได้
สำหรับหน่วยนาวิกฯ ก็เห็นใช้ G-36C กันอยู่
ดังนั้นก็น่าจะขอซื้อลิขสิทธิ์ HK G-36C มาผลิตเอง เหมือนเช่นครั้งอดีตที่เคยซื้อลิขสิทธิ์ HK33 มาแล้ว
กระสุนก็ใช้ขนาด 5.56 มม. ดังนั้นเหล่าอื่นก็สามารถใช้ได้ด้วยเพราะกระสุนเป็นขนาดมาตรฐานของกองทัพอยู่แล้ว
เรือฝึกนั้นผมค่อนข้างจะเห็นด้วยครับ หากเราจะมีไว้ แต่มีความคิดว่าเรือฝึกนั้นน่าจะใช้ลักษณะของเรือตรวจการณ์ปืนมาขยายแบบให้ใหญ่ขึ้น หรือ อยู่ในลักษณะของเรือ OPV ก็ได้ ส่วนจะมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์หรือไม่นั้นในส่วนความคิดเห็นของผม คิดว่าน่าจะดูตามลักษณะการฝึกว่าจะมีการฝึกในด้านนี้หรือไม่ ถ้ามีการฝึกให้มีการประสานงานเอาเฮลิคอปเตอร์ลงบนเรือก็สมควรจะมีครับแต่ไม่จำเป็นต้องมีโรงเก็บ แต่ถ้ามีการฝึกแค่รับส่งเสบียงทางอากาศผมว่าตัดไปเลยเพื่อความประหยัดในการต่อเรือ แต่ก็เห็นด้วยอย่างหนึ่งกับ คุณneosiamese ตรงที่เรือนี้ต้องปรับปรุงให้เป็นเรือรบหลักได้เมื่อจำเป็นครับ และที่สำคัญ ต้องต่อเองภายในประเทศครับ
ส่วนเรื่องของปืนที่จะใช้ในเรือในส่วนความคิดเห็นของผมนั้น ปืนควรจะมีความสมบุกสมบันนิดหนึ่งในเรือของน้ำทะเลและทรายที่อาจจะมีผลกับปืน ปืน M-4 นั้นไม่แน่ใจว่าในความเป็นจริงจะทนน้ำทะเลได้แค่ไหน แต่ตามข้อมูลนั้นบอกว่าน้ำทะเลหรือทรายเข้าแล้วมีปัญหาอยู่บ้าง แต่นาวิกโยธินไทยเราใช้ G-36C ซึ่งจากข้อมูลที่ทราบ ปืนซีรี่นี้ลงน้ำทะเลแล้วยังยิงได้ ผมว่าก็ควรจะใช้ปืนรุ่นเดียวกันไปเลยครับ เพื่อความสะดวกในการจัดหาครับ
ใน Topic ร.ล.ปิ่นเกล้า นั้น คุณสมบัติของเรือฝึกตามที่คุณอู๊ดได้นำข้อมูลจากนิตยสารนาวิกศาสตร์ที่เขียนโดยนายทหารผู้ใหญ่หลายท่านนั้นมีดังนี้ครับ
1. มีห้องพักเพียงพอสำหรับนักเรียน
2.มีห้องเรียนรวม
3.มีดาดฟ้า ที่สามารถให้นักเรียน ออกกำลังกายรวม
4. รูปทรงเรือ ควรป็นรูปทรงแบบเรือรบ(หัวและท้องเรือทรงแหลม) เพราะจำเป็นต้องใช้เพื่อฝึกการนำเรือและมีความคงทนทะเล
5.ระบบอาวุธ ไม่จำเป็นต้องเป็นของใหม่(ทันสมัย) ใช้อาวุธที่สำรองราชการหรือถอดเก็บจากเรืออื่น
6. ระบบอิเล็คทรอนิคส์ อื่นๆใช้ในลักษณะเดียวกับข้อ 5
7. ระบบขับเคลื่อนเป็นเครื่องยนต์ดีเซล(ใหม่)ตามมาตราฐาน ทร.
8.ในยามสงคราม สามารถใช้(ดัดแปลง)เป็นเรือบัญชาการได้(ถ้าจำเป็น)
ตามคุณสมบัติดังกล่าว เรือฝึกจะมีขนาดประมาณ 5,000ตัน และมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์(ไม่จำเป็นต้องมีโรงเก็บก็ได้)
สองข้อแรกนั้นสำคัญมากครับ เพราะเรือรบหลักเช่นเรือฟริเกตนั้นจะไม่ได้ออกแบบให้มีพื้นที่ภายในรองรับนักเรียนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรือฟริเกตที่นำไปเป็นเรือฝึกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นห้องไม่พอ บางครั้งต้องให้นักเรียนนอนและเรียนบนดาดฟ้า
รูปแบบเรือน่าจะมีความใกล้เคียงกับเรือฝึกหลายแบบที่มีในกองทัพเรือต่างประเทศครับ
ตัวอย่างเช่นเรือฝึก TV-3508 JDS Kashima ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
เรือ Kashima ต่อและเข้าประจำการในช่วงต้นปี 1990s มีระวางขับน้ำ 4,000ตัน ยาว143เมตร ขับเคลื่อนด้วยระบบ CODOG 2 ย.ดีเซล และ 2ย.Gas Turbine อาวุธมี OTO 76mm Super Rapid และ Torpedo แฝด3 2แท่น มีโรงเก็บและลานจอด ฮ.ครับ
อย่างไรก็ตามในส่วนของเรือฝึกที่ไทยจะต่อนั้นจะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยเป็น 5,000ตัน และถ้าจะใช้เป็นเรือบัญชาการได้ถ้าจำเป็ฯแล้วคิดว่ารูปทรงและโครงสร้างภายในบางส่วนน่าจะออกแบบให้คล้ายๆกับเรือชั้น Absalon ของเดนมาร์กที่เคยนำเสนอไปแล้ว
แต่ว่าตัวเรือควรจะออกแบบในลักษณะคล้ายๆกับเรือ OPV หรือเรือตรวจการณ์ปืนครับคืออาวุธปืนหลักอาจจะเป็น ปืนใหญ่ 76mm/50cal แบบManual หรือ OTO 76mm ที่ถอดจากเรือที่ปลดแล้ว(จริงๆอย่างให้ใช้ปืนอัตรโนมัติมากกว่าเพื่อฝึกนักเรียนในการใช้ปืนอัตโนมัติ) ปืนรองแบบ 40/70mm แบบ Manual และ/หรือ ปืนใหญ่กล 20มม.เช่น GAM-CO อย่างได้อย่างหนึ่ง(เป็นการฝึกใช้แท่นปืนที่ยิงด้วยมือ) ร่วมถึง แท่นยิง Torpedo ปราบเรือดำน้ำ และ ปก..50cal เป็นต้นครับ (แต่ไม่จำเป็นต้องติดอาวุธปล่อนนำวิถีเช่น Harpoon หรือ ESSM แต่อาจจะดัดแปลงให้ติดได้ในอนาคตเช่นเดียวกับ OPV)
ส่วนเครื่องยนตร์ก็ใช้ Diesel 2เครื่อง ส่วนระบบไฟฟ้าและ Sensor ต่างๆก็ติดในลักษณะเดียวกับเรือ OPV เพื่อใช้ในการฝึกพื้นฐานและลดค่าใช้จ่ายเป็นต้นครับ
พวก อาวุธนำวิถี หรือการติดตามเรือดำน้ำ ใช้ซิมูเลเตอร์ติดตั้งในเรือฝึกได้ไหมครับ
ผมว่าประเด็นเรือฝึกสำหรับนักเรียนนายเรือ ถ้ามีมันก็ดีครับ ในความเห็นที่กล่าวมาข้างต้น ว่าจริงๆ ความเป็นไปได้น่าจะดี มาก
แต่ในสภาวะปัจจุบัน ทรัพยากรมีจำกัด เท่าที่เห็นเรือสำหรับฝึกนักเรียนนายเรือ ที่เห็นต่อเสร็จสมบรูณ์ และทุกคนน่าจะจำได้ดีคือ เรือหลวงพฤหัสบดี ซึ่งเป็นเรือสำหรับสำรวจอุทกศาสตร์ทางทะเลและเป็นเรือสำหรับฝึกหัดบุคคลากรในกองทัพเรือ อันนี้น่าจะเป็นเรือที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดในปัจจุบัน
อีกทั้งเรือรบในกองทัพเรือถ้าพูดกันจริงๆ ก็มีเยอะพอสมควร เอาแบบล่องทะเล ได้พอ ส่วนเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ก็คงไปดูของจริงน่าจะดีที่สุด ไม่ซ้ำซ้อน ประหยัด ลองของจริง และก็ได้รับประสบการณ์ด้วยเช่นกัน เท่าที่เคยฟังเพื่อนๆที่เรียนนายเรือมา เขาบอกว่า จะมีการไปล่องทะเลกับเรือรบจริงๆ เช่น เรือหลวงสุโขทัย เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งและอีกมากมาย เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้กับบุคลากรในกองทัพเรือ
ได้ลองของจริงๆ เช่นไปเยือนประเทศในอาเซียน ประเทศจีน ฮ่องกง
ไกลหน่อยก็นู่น ญี่ปุ่นหรือไต้หวัน อีกทั้งก็หิ้วของหนีภาษีกลับมาฝากญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ กันมากมาย ไปทั้งฝึก ทั้งเบิกเนตรเพื่อดูกองทัพเรืออื่นๆ และเชื่อมสัมพันธ์ทางทหารไปในตัว ดังนั้น คงยากที่จะมีเรือฝึกสำหรับนักเรียนนายเรือโดยเฉพาะ เพราะถึงยังไงยื่นเรื่องของบประมาณก็คงตกแน่นอน เพราะต่อเรือ OPV ก็ได้เท่ากัน แต่ใช้ประโยชน์ได้มากกว่า
จะขอกล่าวในส่วนของอาวุธประจำกายของกำลังในเรือฯ
เท่าที่ผมทราบ การจัดอาวุธฯ
ก็จะจัดในแบบเดียวกับ ตอน,หมู่,หมวด ของทหารราบ
คือเรือลำไหน จะมีจำนวนอาวุธฯและชนิด(ว่าจะใช้อัตราใด)
จะขึ้นอยู่กับขนาด(ชั้น) ของเรือ
และถ้ามีการจัดหาอาวุธฯ(แบบใหม่/ปรับปรุง) ตามที่กล่าวมา
กองทัพเรือ(ทร.) จะให้ความสำคัญกับการจัดลงในอัตราประจำเรือ
เป็นลำดับต้นๆ เสมอ
แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจนะครับว่า เรือฯเรามีหลายลำ
การเปลี่ยนหรือปรับปรุงอาวุธฯใหม่ จึงมักจะเป็นเรือฯที่มีชั้นเรือฯที่สูงกว่า
ได้การเปลี่ยน(ปรับปรุง)ก่อน เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ
ส่วนตัวมองว่าถ้าในอนาคตกองทัพเรือมีการจัดหมู่เรือเข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพนานาชาติเช่นการปราบปรามโจรสลัดโซมาเลีย ซึ่งต้องไปปฏิบัติการในเขตทะเลหลวงซึ่งกว้างและห่างไกล หรือแม้แต่การลาดตะเวนในในเขตช่องแคบมะละกาเอง ที่อาจจะต้องมีการเข้าตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัยนั้น
ในส่วนกำลังพลประจำเรือหลวงชั้น๑ เช่นเรือฟริเกต ที่เข้าร่วมภารกิจลาดตระเวนในเขตทะเลดังกล่าวก็น่าจะได้รับการปรับปรุงกำลังพลเรื่องอาวุธและอุปกรณ์สำหรับรองรับภารกิจการตรวจค้นและจับกุมเรือให้ดีกว่าในปัจจุบันครับ (ซึ่งก็เคยเห็นภาพการฝึกร่วมกับต่างประเทศบ้างแล้วครับ)
อย่างน้อยก็น่าจะมีการจัดตั้งชุดที่ทำงานคล้าย VBSS บนเรือโดยไม่ต้องจัดกำลังจาก นสร.(SEAL) ทุกครั้งไป เช่นจัดหมวก Kevlar แทนหมวกเหล็กแบบเดิม, เสื้อกั๊กทางยุทธวิธี, เสื้อเกราะ แว่นกันสะเก็ดระเบิด และสนับศอกสนับเข่า ส่วนอาวุธก็อาจจะใช้ของเดิมหรือจัดหาใหม่ที่ได้ใช้งบประมาณมากก็ได้ครับ เช่นการจัดหา M4A3 Carbine ทีมีข่าวว่าจะจัดหาให้นาวิกโยธินเป็นต้นครับ
....ทุกท่านอ่านดูแล้วมีความเห็นที่สอดคล้องกันดีคับ แต่ผมรู้สึกจะชอบใจกับการเปรียบเทียบของท่าน Oldtimer น่ะคับ....
....เคยมีอยู่หนได้ขึ้นไปขับ Volvo 740 ของเพื่อนเพราะว่ามันเมาจนจำบ้านเลขที่ตัวเองไม่ได้ อันดับแรกขึ้นไปนั่งที่คนขับ สตาร์ทเครื่อง เหยียบคลัทช์ "วืด" เอ้าก้อ...มันเกียร์ออโต้จะมีคลัทช์ได้งัยหว่า....
....การขับวอลโว่ในครั้งนั้น สร้างวุ่นวายให้กับผมไปตลอดทาง เป็นต้นว่าตบไฟเลี้ยวทีไรเป็นเจอปัดน้ำฝนทุกครั้ง พวงมาลัยแร็กแอนด์พีเนี่ยน ที่เบาตอนรถเคลื่อนออกตัว แต่หนึบตอนวิ่งด้วยความเร็วสูงก็สร้างปัญหาให้ไม่น้อย พอเราวิ่งเร็ว ๆ จะหลีกรถที่วิ่งสวนกินทางเราเข้ามาก้อต้องโยกกันทั้งอัน ต่างจากรถญี่ปุ่นที่แค่นึกรถก็แว่บฉากออกได้...
....ถึงบ้านจนได้ ต้องมานั่งปลงว่า ตูหนอชาตินี้สงสัยบารมีคงไม่ถึงรถยุโรปแน่ฟ่ะ ว่าแล้วก้อคว้า Misubishi ไซโคลนตัวเก่งออกไปทำมาหากินตามปกติ...