เพราะเห็นข่าวทีไรถูกซุ่มโจมตีตายทุกที แถมชุดไปช่วยช้า จนถูกทำร้ายศพ แถมเอาอาวุธปืนได้อีกด้วย จนใครที่จะสมัครไปเป็นทหารที่ใต้ครอบครัวบอกว่าอยากไปตายฟรีๆหรือไง ส่วนคนที่จะไปก็ขวัญกำลังใจต่ำมาก
ทางที่ดีใช้ชุดลาดตระเวณแบบในอิรักหรืออัฟกันที่ใช้รถกระบะไปกันมากๆเพราะเห็นว่าระบบนี้ใช้แล้วความสูญเสียเกิดน้อยมาก ในปากีหรือแถบอัฟริกาก็ใช้มาก ตัวหลักที่ใช้ก็คือรถกะบะที่ผลิตในไทยเป็นพระเอกในสมรภูมิเหล่านี้ด้วย
น่าจะเพิ่มงบ จัดหาฮ.เล็กๆ อย่างฮ. little bird มาประจำการที่3จ.ว.ชายแดนใต้เยอะๆ
เวลาปะทะกัน ทุกวินาทีมีค่าครับ ความเร็วของฮ.คงจะช่วยพลิกสถานการณ์ได้ เพราะมันไม่ต้องไปกังวลกับตะปูเรือใบ หรือระเบิด ที่มันฝังไว้ใต้ถนน
หรือเวลาลาดตระเวน ก็อาจจะจัดฮ. คุ้มกันไปด้วยก็ดีครับ
ผมเชื่อว่าหลายๆคนก็คิดแบบผม
แต่รู้สึกว่าท.บ. นิ่งเฉยมาก
แต่ผมก็คิดอย่างเดียวว่า เรื่องเงินไม่สำคัญ ชีวิตทหารหาญ ลูกหลานชาติไทยสำคัญกว่า
และอย่างน้อยผมก็เชื่อว่า โจรใต้ไม่น่าจะมี RPG
ในความคิดเห็นผมแล้ว
ก็ยังสมควรจะต้องได้ใช้รถจักรยานยนต์อยู่นะครับ
ความปลอดภัยอาจจะน้อยก็จริง
แต่ก็คล่องตัวกว่า และประหยัดงบประมาณมากกว่า
แต่การใช้นั้น ผู้บังคับหน่วยควรจะพิจารณาใช้ให้เหมาะสม
กับเวลา และสถานการณ์
และถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่น่าจะใช้เฉพาะจักรยานยนต์อย่างเดียว
ในการลาดตระเวณระยะทางไกลๆ
ควรจะใช้รถอื่นประกบไปด้วย
ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของจักรยานยนต์ก็คือ
ไม่สามารถที่จะตรวจการณ์ได้เห็นข้างหลัง
และการตอบโต้เมื่อถูกประกบ จะทำได้ลำบาก
ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นประจำ
ผู้บังคับหน่วยก็ต้องหาทางแก้กันไป
ส่วนเฮลิคอปเตอร์ลำเล็กๆนั้น
ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในขณะที่ปะทะกันอยู่นะครับ
เพราะเป็นอันตรายกับตัวนักบินเอง
หากบินต่ำๆ
แต่หากใช้ในภารกิจลาดตระเวณทางอากาศ
ผมคิดว่า UAV คือคำตอบที่ดีที่สุดครับ
ซึ่งในปัจจุบันก็มีการใช้อยู่แล้ว
ถึงจะไม่คลอบคลุมได้ทุกพื้นที่
ก็พยายามใช้ในพื้นที่ล่อแหลมครับ
รถ จยย นั้นเหมาะสมในเรื่องความคล่องตัว ในพื้นที่ที่เหมาะสมครับ ปัญหาของ จยย ปฏิบัติการ จริงๆ ตอนนี้ผมว่าอยู่ที่ ตัว จยย ครับเนื่องจากเราเอารถตลาดมาทำเลย ลองนึกภาพ รถ จยย ตลาดที่ต้องรับน้ำหนักทหาร ๒ นายที่โหลดอาวุธ เสื้อเกราะ หมวกเฮลเมท ดูสิครับว่ามันหนักเท่าไหร่ เรียกได้ว่าโหลดเตี้ยชนิดไม่ต้องแต่ง เวลาวิ่งทางที่เป็นหลุ่มเป็นบ่อ ผมนั่งที่ไหร ลงหลุมนี่ ถ้าพูดหยาบๆก็ ตูดสะท้าน ครับ ด้วยความที่ช่วงล่างต้องรับภารกรรมหนักตลอด ทำให้ระบบช่วงล่างไปก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะดุมล้อกับซี่ลวด
พูดถึง จยย ทีไรอดไม่ได้ที่จะแซวหน่อยว่า อยากรู้จริงๆว่าใครกันที่ความคิดบรรเจิด ติดเกราะรถ จยย ไม่รู้ว่ามันจะช่วยอะไร แต่ที่แน่ๆถ้ารถล้มละก็ พลขับ ข้อเท้าหักหรือเนื้อหายแน่ๆ
เพิ่มเติมอีกนิด สำหรับ รถ จยย ปฏิบัติการนั้นส่วนตัวผมชอบ ของสายตรวจตำรวจ เพราะมีโครงเหล็กด้านข้าง ซึ่งโครงเหล็กมันจะช่วยเซพขาในกรณีรถล้มหรือต้องล้มรถ และอีกอย่างถ้าพลประจำรถมีเครื่องป้องกันส่วนตัวเช่น สนับเข่า ก็จะช่วยได้อีกมาก
ความจริงมันมีอุปกรณ์ช่วยสำหรับรถ จยย ในเรื่องพลซ้อนที่จะมองด้านหลังได้ มันเป็นโครงที่ติดด้านหลังที่ทำให้พลซ้อนสามารถเปลี่ยนตำแหน่งการนั่งได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นใช้งานแล้ว
เป้าหมายฝ่ายตรงข้ามคือ บนถนน ดังนั้นถ้าเราอยู่บนถนนแล้วเราเสียเปรียบเต็มที่ ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้อยู่ๆคิดจะทำ ก็ทำเลย
มันมีการเฝ้าติดตามเพื่อพิจารณาและวางแผนและซักซ้อมอยู่นาน เมื่อมั่นใจว่าสำเร็จเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถึงทำ เราจึงเห็นฝ่ายตรงข้ามทำงานพลาดน้อยมาก
ส่วนตัวแล้ว ถ้าจะป้องกัน ต้องรุกเข้าพื้นที่ที่มันอยูใกล้เคียงสองข้างถนนนั้นแหละ(ไม่ได้หมายถึงไหล่ทางหรือข้างถนนอย่างเดียว) งานบนถนนเป็นงานเชิงรับ ถ้าจะรุกต้องไปรุกในทางอื่น แล้วบนถนนจะสบาย
UAV ช่วยในเรื่องเฝ้าตรวจได้ หัวใจสำคัญคือ ระบบเซนเซอร์ที่ใช้เฝ้าตรวจ ถ้าใช้งานทั้งพื้นที่ จชต น่าจะต้องใช้ระบบที่มีขนาดใหญ่ ตัวเครื่องสามารถบินได้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และต้องเพียงพอต่อพื้นที่เสี่ยงๆ ระบบเล็กที่เฝ้าตรวจได้เพียงแค่ภาพถ่ายกลางวันเรียลไทม์ ระยะควบคุมสั้นๆ ส่วนตัวคิดว่า เปลื้องเปล่าๆ เพราะฝ่ายตรงข้ามเคลื่อนไหวกลางคืน และที่สำคัญเป็นอันตรายต่อชุดควบคุมเครื่อง และเปลืองทรัพยากรในการ รปภ ระบบใหญ่ๆ เฝ้าตรวจการคืนด้วยอุปกรณ์เฝ้าตรวจการคืนต่อพื้นที่ป่าภูเขาก็จะดีไม่น้อย
ส่วนตัวคิดว่า ฮ ขนาดเล็ก มีประโยชน์ครับถ้าวางแผนการใช้ดี แต่ก็เปลืองทรัพยากรในการทำให้พร้อม(จริงๆ) ฝ่ายตรงข้ามแตกหักภายใน ๕ ถึง ๑๐ นาที ดังนั้นถ้าจะให้ทันการ ต้องไปให้ถึงภายในเวลาดังกล่าว เรียกได้ว่าต้องมี ฮ ประจำ ฉก หมายเลข ๒ ตัวเลยทีเดียว(หุหุ ผบฉก หมายเลข ๒ ตัวอาจมี ฮ ส่วนตัวก็คราวนี้ละ หุหุ อันนี้พูดเล่นครับ) และนักบินกับ ชป ต้องเข้าเวร ๒๔ ชม(อาจจะ ๑๒ ชม ก็ได้ถ้า ฮ ไม่มีขีดความสามารถในการบินกลางคืน) และที่สำคัญคือ ตัวนักบิน การบินเข้าพื้นที่เสี่ยง ข้ออ้างคือ อันตรายเข้าไม่ได้นักบินเสี่ยง แต่ถามกลับกันในความเสี่ยงนั้นเคยคิดจะแก้ด้วยการฝึก ตัวนักบินให้ลดความเสี่ยงนั้นบ้างหรือไม่ คงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไม อเมริกา จึงตั้งกรมบิน ๑๖๐ สำหรับสนับสนุนการบินภารกิจพิเศษที่ต้องเข้าพื้นที่เสี่ยงๆ (จะเพิ่มค่าเสี่ยงพิเศษให้นอกเหนือจากค่าปีกก็ได้ ไม่ว่า) ถ้าบอกว่า การบินเข้าพื้นที่ปะทะคือความเสี่ยงอาจดูไม่ยุติธรรมนักสำหรับทหารเดินดิน(หรือนั่งรถ)เพราะตัวทหารเดินดินที่ถือปืนยิงกันอยู่ข้างล่างก็เสี่ยงไม่น้อยไปกว่ากัน ทหารเมื่อเข้าทำการรบไม่ว่าจะเหล่าไหนส่วนไหนมีความเสี่ยงหมด สำคัญอยู่ที่จะฝึกอย่างไรให้ลดความเสี่ยงให้มากที่สุด ฮ นอกเหนือจากใช้ส่งเข้าพื้นที่แล้ว อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ ใช้เฝ้าตรวจเฝ้าติดตามในพื้นที่เกิดเหตุ(สำคัญคือต้องไปให้ทัน) ประมาณ ฮ ที่ติดตามคนร้ายในทีวี ที่เราเห็นบ่อยๆ นั่นแหละครับ แต่จะว่าไป ก่อนอื่นขอ ฮ ส่งกลับสายการแพทย์ อย่างจริงๆจังๆก่อน น่าจะดีกว่า
ที่กล่าวมาใช้เงินสูงทั้งระบบ แต่ผมเชื่อว่าทำได้ถ้าจะทำ
อีกเรื่องครับขอพูดอีกทีละกัน ปัจจุบันยานพาหนะเกือบทุกประเภทได้รับการติดตั้งแผ่นเกราะ อันนี้ดีครับ เป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับพี่น้องทหาร แต่ก็ขอนิดนึงละกันครับด้วยความสงสัย ว่า ในการติดตั้งแผ่นเกราะนั้นได้มีการทดลองหรือยัง ไอ้กันกระสุนนะเชื่อว่ากันได้จริงไม่เถียง แต่ที่น่าสนใจคือ ตำแหน่งการติดตั้งแผ่นเกราะว่ามีความเหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติการขนาดไหน โดยเฉพาะที่สำคัญคือ ถ้าหากรถที่ติดแผ่นเกราะนั้นเกิดอุบัติเหตุพลิกคว้ำ(รถปฏิบัติการต้องใช้ความเร็วในบางพื้นที่)แล้ว แผ่นเกราะที่ติดนั้นจะทำอันตรายต่อพลประจำรถถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตหรือไม่ อันนี้ที่พูดไม่ใช่เพราะผมเป็นคนได้อย่างนี้จะเอาอย่างนั้นนะครับ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างต้องทำอย่างรอบคอบ ไม่ใช่สักแต่ทำให้ผ่านๆไป
ผมก็คิดเหมือนกันว่ามันเอาไว้ขับลาดตระเวน ขับคุ้มครอง ไม่ดีหรอก มันเหมือนกับเป็นเป้าเคลื่อนที่ให้โจนมันซ้อมยิงมากกว่า
แต่ถ้าเอาแบบเป็นว่า จอดมอไซไว้ที่หน่วย พอเกิดเหตุแล้วมีคนแจ้งให้ไปที่เกิดเหตุ แล้วขับมอไซไป ผมว่าอันนี้ จะดีกว่า เพราะมอไซ จะทำได้เร็วกว่า
ที่ผมว่าข้างถนนนั้นไม่ได้หมายถึงพื้นที่ข้างถนนครับ เพราะปัจจุบันเราก็เดินตรวจแบบนั้นอยู่แล้ว ที่ผมกล่าวหมายถึง "หมู่บ้าน" นะครับ
รถ จยย ๓ ล้อ ประมาณ รถซาเล้งนั้น ผมว่ารถมันจะไม่มีแรงนะครับ ขึ้นเนินแล้วอืด โดนซัดหงายท้องแน่ๆ
ปืน ๑๐๕ คงไม่สามารถใช้ได้ครับ การยิงด้วยหลักฐาน พิกัดตารางนั้นถึงแม้ใช้ จีพีเอส หาพิกัด แล้วส่งหลักฐาน มันก็ยังมีการคลาดเคลื่อนครับ และฝ่ายตรงข้ามซุ่มเรานั้นระยะห่างไม่มากครับ๑๐-๒๕ เมตร อันตรายใกล้ฝ่ายเดียวกัน และ ที่สำคัญที่สุด ถ้าเกิดกระสุนที่ยิงไปเกิดช็อต หรือ แหก แล้วไปตกลงในหมู่บ้านละก็ ดูไม่จืด ครับ
ปัจจุบันมี จีพีเอส ใช้กันครับ และมีจำนวนมากพอสมควร ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การระบุพิกัดครับ สำคัญคือ การติดต่อสื่อสาร หน่วยที่โดนสามารถรายงานขอความช่วยเหลือมายังหน่วยแม่หรือหน่วยใกล้เคียงได้และรวดเร็วหรือไม่
อ้อ นึกออกแล้วครับ แต่ยังไง ก็ต้องพิจารณาเรื่องกำลังเครื่องด้วยครับ เพราะล้อขับมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่กำลังเครื่องเท่าเดิม มันก็อืดเวลาขึ้นเนินครับ
ตั้งฐานทางเข้าออก หมู่บ้านดีไหม.......แป่วความคิดเชย
ถ้าไม่ดี ไม่มีกำลังพล................งั้น
เพิ่มงบข่าวกรองดีไหม.........มันกรองยากมาก
เปลี่ยนรูปแบบบางอย่างในการปฏิบัติการดีไหม......ฟันธง บึ้มส์.......
การขุดราก ใช้เครื่องมืออย่างไรดี......ตัดคนสมานฉันท์อย่างเดียวออกไป.....พวกไม่ได้อยู่สนามรบ แต่ชอบออกข่าวสมานฉันท์
อยู่มา 5 ปี ยังเข้าถึงระดับสั่งการไม่ได้.......แป่ว
มันเป็นปีศาจแน่ๆ หรือแอบอยู่หลังบ้านเรา ใน กทม มั๊ง
ผมคนนึงไม่เชื่อว่า เราไม่ทราบที่อยู่ ของฝ่ายตรงข้ามระดับสั่งการ
ผมคิดว่าทุกวันที่เป็นอยู่เป็นอาการของคนก้างตำคอ..ไม่รู้กินอะไรเข้าไป
ก็ตั้งใจแกะมันออกสิครับ
อย่าถือสาผมเลย ผมสงสารทหารที่นั่นไม่ต่างจากคุณทุกคน...............
มันเป็นปีศาจแน่ๆ หรือแอบอยู่หลังบ้านเรา ใน กทม มั๊ง
^
^
^
ก็ไม่แน่จริงๆนั่นแหละครับท่าน หุหุหุ