ได้อ่านบทความเรื่อง
เรือดำน้ำพิทักษ์โลกในสงครามเย็น
เขียนโดย นาวาเอก กระแสร์ เม่งอำพัน
ตีพิมพ์ในนิตยสารนาวิกาธิปัตย์สาร ฉบับที่ 75
(ฉบับล่าสุด)
ซึ่งเป็นบทความที่เขียนได้ดีมาก
ทำให้ทราบถึงบทบาทอีกหน้าที่ของเรือดำน้ำ
ที่มีความสำคัญมากกว่าเป็นแค่เรือรบชนิดหนึ่ง
และถ้าท่านได้อ่านจะรู้ว่า
ทำไมกองทัพเรือของเรา จึงต้องจัดหาเรือดำน้ำ
เข้าประจำการ(จะว่าไปแล้วมีความสำคัญในลำดับต้นๆ)
และท่านที่คิดว่า ความลึกของอ่าวไทยจะเป็นอุปสรรค
ถ้าได้อ่านฯจะเข้าใจได้ว่า ไม่เกี่ยวกัน ครับ
ทีนี้จะขอกล่าวถึง หัวข้อของกระทู้ ครับ
ในบทความฯได้กล่าวถึง จรวดเพื่อความมั่นคง
(จรวดทางยุทธวิถีระยะยิงไกล)ของประเทศไทย
จึงทำให้รู้ได้ว่า ขณะนี้เรากำลังดำเนินโครงการฯดังกล่าว
ซึ่งก็มีความสำคัญมากสำหรับประเทศเรา
และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดหาเรือดำน้ำ
ผมขอคัดลอกบางข้อความมาถ่ายทอด ดังนี้ ครับ
นอกจากนั้นประเทศไทยยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกที่มี
ความเหมาะสม เช่น ทะเลอันดามัน มีความลึกที่เพียงพอ
ในการใช้เป็นฐานทัพเรือดำน้ำ และมีช่องทางการเดิน
ออกไปสู่ทะเลเปิดมากพอตามยุทธวิธีเรือดำน้ำ อีกทั้ง
ประเทศที่มีโอกาสเกิดข้อพิพาทกับไทยก็มีน่านน้ำที่มี
ความลึกเพียงพอสำหรับการวางตัวของเรือดำน้ำ
ติดอาวุธ Second - Strike เพื่อดำเนินยุทธศาสตร์
ป้องปรามแบบ MAD ได้ สำหรับกำลังพลก็มีความรู้
พื้นฐานที่พร้อมในการพัฒนาเพื่อประจำการเรือดำน้ำ
ในราชนาวีไทย สำหรับอาวุธปล่อยที่จะติดตั้งใน
เรือดำน้ำ ก็น่าจะอาศัยโอกาสพัฒนาตามแผนพัฒนา
จรวดเพื่อความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม ตามมติ
สภากลาโหมที่เห็นชอบและสั่งการให้เริ่มดำเนินการตาม
แผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคงของ
ปีงบประมาณ 2550 (อยู่ในหน้าที่ 28)
ผมขอชักธงเชียร์โครงการนี้ สุดตัว ครับ
โครงการพัฒนาจรวดทางยุทธศาสตร์ตามที่มีข้อมูลออกมาก่อนหน้านี้จะมีอยู่2-3โครงการย่อยครับคือ
1.การพัฒนาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องขนาดต่างๆ
2.อาวุธปล่อยนำวิถีร่อนเครื่องยนตร์ Turbojet นำวิถีด้วย GPS ระยะยิงราว 300กิโลเมตร ตามข้อกำหนด ของ MTCR (Missile Technology Control Regime)
อย่างไรก็ตามเคยให้ความเห็นว่าส่วนตัวว่าระบบดังกล่าวคงจะคล้ายๆกับระบบ Babur ของปากีสถานครับ ซึ่งเป็นระบบที่ยิงจากฐานยิงบนบก
http://en.wikipedia.org/wiki/Babur_missile
ที่ดูจากงบประมาณต่อเนื่อง4ปีในส่วนของกลาโหมใช้ งป.ไปถึงราว 1700กว่าล้านบาทครับ การพัฒนาระบบคงจะให้เป็นแบบทำการยิงจากฐานยิงบนบกได้ก่อนครับ และการพัฒนาต่อยอดเช่นจะนำไปติดกับ บ.ขับไล่ หรือ เรือผิวน้ำ และเรือดำน้ำนั้น เป็นเรื่องระยะยาวและต้องใช้ งป.ในการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่องมากไปอีกครับ
โดยส่วนตัวคิดว่าให้ระบบต้นแบบเสร็จทำการทดสอบยิงจริงก่อนดีกว่าครับค่อยมาดูต่ออีกที่ว่าการจะนำไปติด บนเครื่องบิน หรือเรือยนั้นเป็นไปได้หรือไม่ครับ
เรือดำน้ำ + จรวดเพื่อความมั่นคงของชาติ
ฟังแล้วก็ดูดีครับ..........ดูดีที่ได้รู้ว่า ไทย กำลังพัฒนา อาวุธปล่อยนำวิถี ซึ่งเป็นการพึ่งพาตัวเอง ได้ดี
แต่อยากรู้ว่า อาวุธปล่อยที่ว่า จะติดตั้ง หรือยิงจาก บนบก บนเรือ หรือ ยิงจากเครื่องบิน
แต่ถ้าติดกับเรือดำน้ำ ก็คงจะดีมาก............แต่วันนี้ ไทย ยังไม่มีเรือดำน้ำ ก็คงไม่ใช่
อาวุธปล่อยนำวิถี ที่ยิงจาก เรือดำน้ำ ที่รู้ๆก็มี TOMAHAWK และก็ SCALP NAVAL ที่กำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งก็มี ระยะยิงเกิน 300 กิโลเมตร ทั้งนั้น จรวดทั้ง 2 แบบ มีระยะยิง เกิน 1,000 กิโลเมตร
แต่ของ ไทย ระยะเริ่มต้น ถ้ายิงได้เกิน 300 กิโลเมตร ก็ถือว่า ดีมากๆเลยครับ
อนาคตถ้า ไทย มีเรือดำน้ำ ก็พัฒนา ให้ยิงจาก เรือดำน้ำ ได้ เหมือน SCALP ที่แต่ก่อน จะติดตั้งอยู่ในเครื่องบินรบ แต่เดี๋ยวนี้ กำลังพัฒนา ให้ยิง จากเรือ ฟริเกต และ เรือดำน้ำได้
SCALP NAVAL
จรวดร่อน นำวิถี RAAD ของ ปากีสถาน ระยะยิงไกล 350 กิโลเมตร
ติดตั้งอยู่กับ MIRAGE 3 / MIRAGE 3V / JF-17 THUNDER
มีลักษณะคล้ายๆกับ KEPD-350 / STORM SHADOW ( SCALP-EG ) และ AGM-158 JASSM
นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง ของ กองทัพอากาศ ปากีสถาน
Babur Cruise Missile/Hatf VII
จรวดนำวิถี พื้น-สู่-พื้น ของ ปากีสถาน เปรียบเทียบ ได้กับ BGM-109 TOMAHAWK ของ อเมริกา
อนาคต จะดัดแปลงให้ติดตั้ง กับเรือดำน้ำ U-214 ได้
จรวดใช้เครื่องยนต์ Turbofan (solid-fuel booster rocket during launch)
ระยะยิง 700 กิโลเมตร ( 435 ไมล์ )
ระบบนำวิถี GPS, TERCOM , DSMAC, INS
ความเร็ว 880 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 0.8 มัค
เริ่มต้นการพัฒนาจรวดโดยปล่อยจากภาคพื้นดินก่อนและจึงพัฒนาต่อยอดมาปล่อยจากอากาศยานและเรือผิวน้ำต่อไปครับ ส่วนการพัฒนาให้ปล่อยจากเรือดำน้ำนั้นคงต้องมองก่อนว่าเราจะมีเรือดำน้ำได้เมื่อไร และถ้าจะจัดหาจะจัดหาจากไหน เรามีความรู้ความสามารถในการที่จะเชื่อมต่อระบบได้หรือไม่ แต่มีการวางระบบไว้ก่อนถือว่าดีครับโดยต้องมีการเตรียมการกับผู้ผลิตเรือดำน้ำโดยให้มีการพัฒนาจรวดและระบบร่วมกัน แต่ตอนนี้เรายังมั่นใจได้อย่างไรว่าเราจะมีเรือดำน้ำเมื่อไหร่ ส่วนเรือผิวน้ำนั้นคงไม่เกินขีดความสามารถเท่าไรนัก แต่จะใช้เรืออะไรที่มีอยู่ ซึ่งคงต้องเป็นเรือฟริเกตที่มีขนาดเพียงพอ หรือจัดหาเรือฟริเกตใหม่ ส่วนเครื่องบินนั้น ที่จะติดตั้งได้ก็คงต้องเป็น JAS-39 ที่มีซอร์สโค้ดอยู่ทำให้ง่ายในการเพิ่มซอร์ฟแวร์ติดตั้ง แต่ถ้าหากจะติดตั้งกับ F-16 คงต้องมีการร่วมพัฒนากับทางอเมริกาหรือเปล่า
รูปที่ คุณTOP SECRET เอามาลง ของปากีสถาน น่าสนใจดีครับ เป็นจรวด ตัวผู้ หรือเปล่าครับ
ขอสนับสนุนด้วยใจและใจ เรื่องเรือดำน้ำ อยากให้กองทัพเรือมีมานานแล้ว เพราะสาระพัดประโยชน์ สอดส่องป้องปราม ภัยคุกคามต่างๆ และผมเชื่อ กองทัพเรืออยู่เรื่องหนึ่ง เรือดำน้ำถ้าไม่เหมาะกับประเทศไทย จะตั้งโครงการจัดหามาทำไม ซึ่งต้องเชื่อ KNOW HOW ของกองทัพที่เขาทำวิจัยสำรวจมาสิครับ ลำหนึ่งก็ตกอยู่หลายบาท คงไม่เอามาวิ่งเล่นหรอก เพราะรู้กันทั้งประเทศ ว่างบมีจำกัดมากๆ
และปัจจุบันบอกตรงๆว่า
ถ้าเอา m-16 มาวิ่งไล่ยิงกันไม่มีใครกลัวใครหรอก ดู 3จชต เป็นตัวอย่าง
ถ้าไม่ต้มและถอนขนมันจริงๆ มันก็จะกลับมาทำร้ายเราซ้ำซาก(จริงๆ)
อันนี้ขอนอกเรื่อง นิดนึง (มันไปเอาเงินมาจากไหนฟะ)
พอดีโครงการที่คุณอู๊ดกล่าวถึง
ก็น่าจะเป็นอย่างที่ว่าครับ เรื่อง จรวดเพื่อความมั่นคงถ้านำมาใช้ได้กับเรือเรา ไม่ว่าจะเรือบนน้ำในน้ำ และฐานยิงบนบก จะทำให้โฉมหน้ากองทัพเปลี่ยนไปทันที
ไอ้ประเทศฝั่งตะวันออกที่มันขอแบ่งเปอร์เซ็น โดยที่คิดว่า จะดึงเพื่อนที่มีอาวุธหนักมาเป็นข้อต่อรองเป็นอันต้องคิดใหม่แน่นอน
อย่าให้เราถูกบีบสถานณ์การคล้ายปากีเลย เพราะข้างเขามันเฮพวี่เวท ขืนเป็นตาสีตาสาคงโดนกระทืบไปนานแล้ว อิหร่านก็เตรียมต้อนรับพี่เม อยู่เหมือนกัน เป็นนัยว่า มาทางน้ำก็ยินดีต้อนรับ ใต้น้ำยิ่งยินดีใหญ่ นี่เป็นเหตุผลทั้งปวง ที่เราจะต้องมีและทำให้ได้ครับ เพราะมันมีหอกข้างแคร่อยู่ทุกวัน แค่ไม่รู้ว่าวันไหนเท่านั้นเอง ไม่รวมอาเสียนสามมิตรนะครับ
จรวดในลักษณะนี้ ประเทศเรามีความพยายาม จัดหามาประจำการ
มานานแล้ว ทั้งในรูปแบบพัฒนาขึ้นเองและจัดซื้อ
แต่ก็ยังไม่เป็นผลสำเร็จ เท่าที่นึกออก มีดังนี้ครับ
1. โครงการ จรวดมาร์แชลถนอม ของกองทัพบก (พับไปตามชื่อฯ)
2. การพยายามจัดซื้อ จรวดป็อบอาย ของกองทัพอากาศ(ถูกสหรัฐขวาง)
3. มีข่าวลือว่า กองทัพไทย พยายามจัดหา จรวดตระกูลสกั๊ด
(น่าจะจากจีน) ช่วงเดียวกับที่เวียตนามจัดหา(เวียตนามจัดหาสำเร็จ)
4. จรวดเพื่อความมั่นคง เป็นการวิจัยและพัฒนา ของกระทรวงกลาโหม
ซึ่งกำลังดำเนินการในปัจจุบัน
ถ้ากองทัพเรือ จัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการและจะจัดหาจรวดฯ
มาใช้ ส่วนตัวผมชอบ สแลม-อีอาร์ ที่พัฒนามาจาก ฮาร์พูน
เพราะโทมาฮอก มันเกินฝันไปมาก
การพัฒนาระบบอาวุธปล่อยร่อน(Criuse Missile) สำหรับติดตั้งบนเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำน้ำถ้า เป็นในตัวอย่างใกล้เคียงก็คงต้องดูจากการพัฒนา อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ Brahmos ของอินเดียครับ ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกับรัสเซีย โดยการพัฒนาระบบที่ยิงจากฐานยิงบนบกนั้นจะใช้เวลาสักระยะถึงจะไปทำการพัฒนาติดตั้งกับเรือผิวน้ำและทดสอบยิงครับ
ซึ่ง Brahmos รุ่นที่ติดตั้งกับเรือผิวน้ำนั้น กองทัพเรืออินเดียจะมีแผนจะปรับปรุงทำการติดตั้งกับเรือหลายลำเช่น เรือพิฆาตชั้น Talwar และ เรือฟริเกตชั้น Shivalik และเรือชั้นอื่นกับ
ซึ่งการทดสอบยิงที่ผ่านมานั้นก็มีการยิงจากท่อยิงVLS ที่ติดตั้งดัดแปลงกับเรือ INS Ranvir และ INS Ranvijay ซึ่งเป็นเรือพิฆาตชั้น Rajput ที่ต่อในช่วงปลายปี 1980s
ตรงจุดนี้การปรับปรุงเรือผิวน้ำที่กองทัพเรือมีอยู่ให้รองรับแท่นยิงแนวดิ่งสำหรับ Cruise Missile แบบใหม่อาจจะเป็นไปได้ครับ แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการวิจัยพัฒนา แท่นยิงเหมือนของอินเดียหรือ K-VLS ของเกาหลีใต้ที่ออกแบบมาสำหรับอาวุธเกาหลีใต้ที่พัฒนาเองด้วย รวมถึงการเชื่อมต่อระบบอีก แน่นอนว่าต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาและวิจัยนานครับ
ในส่วนของเรือดำนั้น Brahmos รุ่นยิงจากเรือดำน้ำยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาโดยจะใช้ยิงจากเรือชั้น Kilo ครับ ทั้งนี้อินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่มีขีดความสามารถในการต่อเรือดำน้ำได้เองในประเทศโดยซื้อสิทธิบัตรในการผลิต แต่ทั้งนี้ถ้าเป็นระบบ VLS ก็ต้องทำการดัดแปลงตัวเรือที่จะต่อให้รองรับครับ ซึ่งค่อนยุ่งยากในการพัฒนาอยู่ครับ (ถ้าจรวดมีขนาดเล็กพอที่จะยิงจากท่อยิง Torpedo ได้ก็ยุ่งยากในการพัฒนาเช่นกัน)
ในส่วนของรุ่นที่จะติดตั้งกับอากาศยานนั้น Brahmos มีแผนจะทำการติดกับ Su-30MKI ครับซึ่งเดิมมีแผนจะติดได้สูงสุด3ลูก แต่ข้อจำกัดด้านการบรรทุกน้ำหนักของอากาศยานและตัวจรวดทำให้เป็นไปได้ว่า Su-30MKI จะติด Brahmos ไดเพียง1ลูกที่ตำบลกลางลำตัวเท่านั้นครับ
จะเห็นได้ว่าการพัฒนา Brahmos ที่ผ่านๆมาอินเดียก็ประสบปัญหาเรื่องการยิงไม่ประสบผลสำเร็จและความล้าช้าในการขยายระบบรุ่นต่างๆอยู่ครับ ซึ่งโครงการนี้ของไทยคงจะต้องใช้ระยะเวลาใกล้เคียงกัน บ้างที่งบประมาณต่อเนื่อง4ปี 1700ล้าน อาจจะไม่พอครับ
SLAM-ER เป็นระบบที่น่าจะนำมาใช้เป็นตัวแบบสำหรับการพัฒนาโครงการจรวดทางยุทธศาสตร์มากที่สุดครับ เพราะเป็นจรวดเครื่องยนตร์ Turbojet ระยะยิงมากกว่า 150ไมล์ทะเล(ราว280กิโลเมตร) ขนาดไม่ใหญ่และราคาไม่สูงเกินไปนักครับ
ที่จริงกองทัพไทยเองก็มีการจัดหา อวป.Harpoon มาใช้งานนานแล้วแต่การจะรื้ออกมาลอกแบบโดยตรงเลยคงทำไม่ได้เนื่องจากผิดกฎหมายครับ แต่บางประเทศก็สามารถพัฒนา อวป.แบบนี้ได้เองเช่น SSM-700K ของเกาหลีใต้เป็นต้น
เท่าที่สืบค้นดูในการพัฒนาก็มีเอกสารข้อมูลรายงานการวิจัยจำนวนหนึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องครับ เช่นนายทหารของกองทัพอากาศ (เรืออากาศเอก ประสาทพร วงษ์คำช้าง ไม่แน่ว่าว่า ม.เกษตรศาสตร์ เกี่ยวด้วยหรือไม่ครับ)
แต่คาดว่าจะเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนก็ต้องใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 6-7ปีครับ
ผมว่าเรื่องโครงการจรวดเพื่อความมั่นคงนี้ คงต้องดูเป็นสเต๊ป ๆ ไปครับ เพราะสเต๊ปแรกสำคัญ เนื่องจากเมื่อดูตามแผนของโครงการแล้ว มันเป็นพื้นฐานของการพัฒนาจรวดหลาย ๆ แบบเพื่อนำมาใช้ในกองทัพไทยครับ
ซึ่งจรวดแบบ Tomahawk หรือ SLAM-ER หรือ Harpoon นั้นหรือไปจนถึงจรวดจากเรือดำน้ำ ยังไกลเกินฝันสำหรับโครงการจรวดเพื่อความมั่นคงที่จะทำได้ในเวลาอันใกล้นี้ครับ เพราะระบบแบบนี้ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาก ผมว่าควรจะมองเป็นขั้นเป็นตอนไป โดยพัฒนาจรวดหลายลำกล้องและจรวด SSM ที่กำลังทำอยู่นี้ให้สมบูรณ์เสียก่อนครับ เพราะประสบการณ์และเทคโนโลยีที่ได้จากสองโครงการแรกนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาจรวดในขั้นต่อ ๆ ไปแน่นอนครับ
จากกระทู้ข้างบน ที่เขียนถึง งบประมาณกองทัพเรือ
เรือดำน้ำ 2 ลำ 40,000 ล้านบาท
มาเข้าเรื่องของเรา เรือดำน้ำ + จรวดเพื่อความมั่นคง
ถ้าเราสั่งต่อ เรือดำน้ำ เราก็น่าจะให้ทางผู้ผลิต ติดตั้ง แท่นยิง VLS มากับตัวเรือด้วย
และ อนาคต อันไกล เราก็พัฒนา จรวด ที่จะมาติดตั้ง ในขนาด ที่พอเหมาะกับ แท่นยิง VLS
อย่างที่ หลายๆท่านบอก ทำอันที่จะยิงจากบนบก ให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปพัฒนา แบบ ที่ยิงจากเครื่องบิน หรือ จากเรือฟริเกต และเรือดำน้ำ
ตอบ ท่านเด็กทะเล............คือผมไป ดูดข้อมูล มาจาก Wikipedia ครับ ไม่ทราบเหมือนกันครับ ว่าเป็นตัวผู้ หรือตัวเมีย แต่ผมว่าน่าจะเป็นตัวผู้น่ะ 555555555555........ไม่บอกเพราะอะไร สัปดนวันล่ะนิด จิตแจ่มใส อย่าคิดลึก
รูปภาพ เครดิต ท่าน MIG-31 กระทู้ MICA VLS ครับ
ดูจากความต้องการคือ จรวดนำวิถี พิสัยยิงไกล 300 กิโลเมตร
คงไม่ต้องถึงขนาด Sylver Launcher A70 เพราะพวกนั้น มันเป็นจรวดพิสัยไกล อย่าง Scalp Naval และ Tomahawk
ระยะยิงไกล 300 กิโลเมตร คงจะต้องใหญ่กว่า HARPOON นิดหน่อย
ใช้ SYLVER A50 คงจะเพียงพอต่อความต้องการ ครับ
นีเป็นเพียงความคิด ของผมครับ กับ อนาคต ข้างหน้า ที่พึงอยากจะให้เป็น
สงสัยนิดนึง ครับ............จรวด ASTER-30 ตอนอยู่ในแท่น A50 ใช้ได้ในภารกิจ AIR DEFENSE เท่านั้น
แต่พออยู่ในแท่นยิง A70 กลับกลายเป็นว่า สามารถ ทำภารกิจ ATBM ( ANTI-Ballistic Missile ) ได้ซะงั้น
ดูจากในรูป ภารกิจ ATBM จะมี *ASTER-30 และ SM2B4 อยู่เพียง 2 แบบเท่านั้นครับ
การยิงจากท่อ A50 หรือ A70 มันต่างกันหรือครับ ผู้รู้ช่วย ไขข้อข้องใจด้วยครับ
*ASTER-30 ดูจากในรูป จะมีขนาดที่ยาวกว่า ASTER-15
เฉพาะในส่วนแท่นยิง VLS สำหรับเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำนั้น ถ้าจะให้สามารถติดตั้ง Cruise Missile ที่ไทยเราจะพัฒนาเองก็คงต้องพัฒนาระบบแท่นยิงเองด้วยครับ
ซึ่งก็เหมือนกับการพัฒนา K-VLS ของเกาหลีใต้ที่รองรับระบบอาวุธที่เกาหลีใต้พัฒนาเองหลายแบบครับเช่น จรวดปราบเรือดำน้ำ K-ASROC Hong Sango(Red Shark) และ Cruise Missile แบบ Hyunmoo III(ตัวนี้พัฒนามาจาก SAM แบบ Nike Hercules)
ระบบบนเรือผิวน้ำยังพอจะทำการพัฒนาปรับปรุงติดตั้งได้เองอยู่บ้างครับ แต่ถ้าเป็นระบบที่ยิงจากเรือดำน้ำนี้คงจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกับต่างประเทศครับทั้งการออกแบบตัวเรือ แท่นยิง และ Technology ซึ่งนั้นหมายความว่าเราต้องมีความร่วมมือด้าน Technology การต่อเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำระดับสูงกับประเทศนั้นๆอย่างใกล้ชิดครับ
ซึ่งเป็นเรืออีกใกล้มากๆกว่าจะถึงขั้นนั้น
Video Clip การพัฒนา อวป.ต่อต้านเรือผิวน้ำ SSM-700K ของเกาหลีใต้ ดูแล้วอีกนานมากครับกว่าไทยจะพัฒนาระบบอาวุธปล่อยในระดับนี้ได้
การพัฒนาเทคโนโลยี(ทางการทหาร)ของประเทศไทย
ระยะหลังๆนี้ มักจะมีโครงการที่คาดไม่ถึงว่าเราจะทำได้
เกิดขึ้น หลายโครงการ ทีเดียว
เช่น โครงการต่อยาน(เรือ)ดำน้ำชนาดเล็ก(จิ๋ว),โครงการ UAV
ฉะนั้นโครงการการจรวดเพื่อความมั่นคง
อาจจะเป็นโครงการประเภท
ฝันที่เป็นจริง ก็เป็นไปได้
อย่างไรเสียก็ขอเป็นกำลังใจให้ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน นะครับ
จ่าดิบพูดไม่เคลียร์
WS-1B จรวดพื้นสู่พื้นทางยุทธวิธี ระยะยิง 180 ก.ม. ซื้อจากจีนพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต
จำนวน 10% จากยอดจัดหาจะเป็นการผลิตสร้างเอง จากนั้นพอได้โนฮาวมากพอแล้วจะพัฒนาต่อไปสู่จรวดนำวิถีทางยุทธศาสตร์ และจรวดอื่นๆ ตามความต้องการของเหล่าทัพอื่นต่อไป
เสธดิบเล่าให้ฟังครับ
แถม ครับ
http://www1.mod.go.th/opsd/mefweb/mef/MEF/mef6.html
สำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลาโหม สำรวจพื้นที่ก่อสร้างโรงงานต้นแบบมอเตอร์ขับจรวด
ตามโครงการความร่วมมือในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จรวดหลายลำกล้อง WS-1B
ในพื้นที่โรงงานวัตถุระเบิดทหาร ฯ เมื่อ ๑๐ มิ.ย.๕๑
จากข้อมูลในข้างต้นนั้นค่อนข้างจะชัดว่าโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคง ดังกล่าวนี้มีต้นแบบระบบคือ WeiShi WS-1B ของจีน ซึ่งระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องนี้มีแท่นยิงหลายรุ่นทั้ง แท่นยิงจรวดขนาด 122mm(WS-1E) ระยะยิง 40กิโลเมตร จนถึงจรวดขนาด 302mm(WS-1B) ระยะยิง 180กิโลเมตรครับ โดยรุ่นล่าสุดที่พัฒนาคือ WS-2 ขนาด 400mm มีระยะยิง 200กิโลเมตร ซึ่งติดตั้งระบบนำวิถีด้วย
http://www.sinodefence.com/army/mrl/weishi.asp
ระบบดังกล่าวจะเป็นการพัฒนากำลังเครื่องจรวดหลายลำกล้องและขีปนาวุธทางยุทธวิธีของกองทัพบกอย่างมากครับ ซึ่งจากภาพของบน ตุรกีก็จัดหา WS-1B ไปใช้งานในชื่อ Kasirga ครับ
WS-1 B เป็นข่าวลับ ลวง พราง มานาน ทีนี่เห็นจะเป็น
ข่าวดีมาก ครับ
ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติเลยนะเนี่ย คนไทยก็มีดี
บั้งไฟล้านจาก ยโยธร ขอนำเสนออีกทางเลือก .....อิอิอิ
กองทัพไทย....อย่างนี้ถูกทาง