รบกวนเพื่อนๆสมาชิกหน่อยครับ
คือ สงสัยครับว่า เวลาจะล็อคเป้าเรือรบที่มาเป็นหมู่ครับ ถ้าเราจะล็อคแค่เรือลำเดียวจะได้ไหมครับ เช่น มีเรือบรรทุกมา 1 ลำตรงกลาง มีเรือคุ้มกัน 2 ลำ มีเรือฟริเกต 2 ลำ เรือลำเลียง 1 ลำ เรือดำน้ำ 1ลำ แล้วต้องการล็อคเป้าเรือบรรทุก จะทำได้ไหมครับหรือทำได้เพียงล็อครวมๆไป ( เพราะเท่าที่ผมหาดูคลิปการยิงนะครับ เห็นแต่ยิงไปตรงส่เป้าแบบโล่งๆไปพบก็เลยงงๆครับ แฮ่ๆ )
ขอบคุณมากครับ
เรื่องทั้งหมดจึงตกไปอยู่ที่เรด้าร์ควบคุมการยิงครับ...........................
ก่อนยิงสมองกลในหัวอาวุธนำวิถีจะถูกโปรแกรมระยะทิศทางของเป้าหมาย รวมถึงวิถีการโคจร ซึ่งกรณีหมู่เรือซึ่งประกอบด้วยเรือธงและเรือฉาก ขีดความสามารถการแยกแยะเป้าของเรดาร์จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ................................... ขณะโคจรของอาวุธยิง การติดตามเป้าหมายยังคงอยู่ในอาณัตของเรือยิง ในบางครั้งถ้าระยะยิงไกลกว่าเส้นขอบฟ้า(เกินพิสัยตรวจจับและติดตามได้ด้วยเรดาร์) อาจมีการส่งต่อการควบคุมให้เรือหรือเฮลิคอปเตอร์อีกทอดเป็นระยะๆ................................. จนกระทั่งเรดาร์ที่หัวนำวิถีสามารถจับและติดตามเป้าได้เอง นั่นแหล่ะ เจ้าสากมหากาฬจะเริ่ม ปรับแต่งวิถี โดยบินต่ะเรี่ยยอดคลื่น ออกลายพริ้วซิกแซ็กฟันปลา สับขาหลอกผู้รักสาประตูชู้ตเข้าฮ้อส........................
ในสงครามฟอล์คแลนด์ อาเจนติน่าได้เอ็กโซเซ่ต์ใหม่เอี่ยมมาติดให้ซูแปร์เอตองดาร์ดจำนวนหกลูก หลังจากทีมติดตั้งชาวฝรั่งเศสเซ็ทระบบให้แบบเฉพาะกิจสดๆร้อนๆออกจากเตา ..................... เอตองดาร์ดสองลำและเอ็กโซเซ่ต์สองลูกก็บินออกจากฐาน สู่กลางทะเลเป้าหมายคือกองเรือบรรทุกบ.ผู้ดี .............................. ซึ่งแต่เดิม อังกฤษยังคงให้ความไว้วางใจฝรั่งเศสว่าจะไม่ขายจรวดมหากาฬให้แก่อาเยนติน่า หลักการจัดกำลังและ ความพร้อมเรื่องอาวุธป้องกันตนเองจึงอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ................................. ข้อเดียวที่กองเรือยังคงเป็นต่อ คือ ระยะทางที่เครื่องบินบินจากแผ่นดินใหญ่ถึงยุทธบริเวณนั้นมันไกลแบบโคตรๆ........................................ หลังจากบินต่ำมาไกลโข เอตองดาร์ทป้อบอัพ ระยะสูงทำให้เรดาร์สามารถตรวจจับและมาร์เป้าหมายเรือบรรทุกเครื่องบินไว้ได้ เรืออังกฤษตรวจพบเครื่องบินรบที่ระยะสี่สิบไมล์เชิดหัวขึ้นและบินกลับ จึงไม่มีการอิเตอร์เส็ปท์ไดๆ......................
หลังจากนั้นอีกไม่กี่วินาที เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศไทป์สี่สิบสองก็ระเบิดดังสนั่นจมลงทะเลไปในที่สุด.............................
ทำไมจึงเป็นไทป์สี่สิบสอง ไยมิใช่เรือบรรทุกบ. และเกิดอะไรขึ้นกับเอ็กโซเซ่ต์อีกลูก............................... หลายคนบอกว่า นักบินอาเจนติน่าร์ ปล่อยจรวดที่ระยะไกลเกินไป และอาจรีบร้อน จรวดลูกแรกจึงจิ้มเข้าที่เรือฉาก ขณะที่อีกลูกน่าจะเออเร่อร์ตกทะเล .......................... ยังเหลือเอ็กโซเซ่ต์อีก สี่ ลูก แม้จะผิดพลาดแต่ก็ไม่เบาสำหรับมือใหม่ (ชนิดซิงๆไม่เค้ยไม่เคยมาก่อนจริงๆ) ............................ แต่ที่แน่ๆ ผู้ดีถึงขี้ขึ้นสมอง ถอยกองเรือออกมาห่างอีกสองโยช หมายหลบให้พ้นจากจรวดมรณะ
เอ้าต่ออีกหน่อย ......................... นี่น่าจะเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า จริงๆแล้วการใช้อาวุธนำวิถีอากาศสู่เรือซึ่งยิงจากเครื่องบินขับไล่นั้น บางทีก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดดยเฉพาะถ้าหมู่เรือที่เป็นเป้านั้น เค้ามีระบบอาวุธยิงต่อต้านที่มีระยะไกลกว่าหรืออาจไกล้เคียงกัน........................
อาวุธยิงสมัยใหม่ เรามักได้ยินคำว่า ไฟร์ แอ่นด์ ฟอเก็ต แปลคือ ยิงแล้วลืม...................... ฟังดูเหมือนบินต่ำหลบเรดาร์ ป้อบอัพหาระยะสูง จับเป้า ป้อนข้อมูล ยิง แล้วสบัดตูดกลับ................................
ถ้าทำเช่นนั้นได้จริง เห็นทีผบ.เรือคงต้องกลัวเครื่องบินมากๆชนิดหนูกลัวแมวขี้ขึ้นสมอง แต่ความจริงไม่ใช่............................ ถ้านักบินปารถนาให้จรวดตัวเองแม่นยำถูกเป้าตรงเพ้ะ นักบินต้องแผ่คลื่นเรดาร์ติดตามเป้าอยู่อย่างนั้น จนกว่าอาวุธนำวิถีจะใช้เรดาร์ที่หัวติดตามเป้าได้เอง ............................................. ซึ่งช่วงเวลานั้น ก็ต้องบินอยู่ที่ความสูงมากพอ ซึ่งที่ความสูงมากๆ ก็ทำให้เรือสามารถส่องเล็งให้ร่วงได้ด้วยแซมพิสัยปานกลาง อันนี้มันทันกัน......................
จะเห็นว่า ไม่มีใครได้เปรียบใคร โอกาสที่เครื่องบินจะโดนสอยก็มาก เผลอๆจะมากกว่าโอกาสที่ยิงเรือได้ด้วยซ้ำ ดังนี้จะเห็นว่า เรือป้องกันภัยทางอากาศซึ่งมีอาวุธยิงระยะปานกลางได้นั้น ช่วยเสริมสร้างจุดแข็ง ลบจุดอ่อนที่มีกับเครื่องบินรบได้อย่างสนิท ............................. สวนกันคยละหมัด กรูม่ายกลัวเมิง !!!!!!!!!!.................................
และก็เห็นชัดเจนจาก กรณี เอตองดาร์ติดเอ็กโซเซ่ต์ นักบินก็กลัวไม้ตะพตบนเรือไทป์สี่สิบสองเหมือนกัน ...........................พี่เลยรีบปล่อยรีบกลับ จรวดได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์จึงโคจรไม่ดีนัก แต่ทั้งนี้เชื้อเพลิงก็อาจเป็นอีกแฟกเตอร์หนึ่ง ทำให้นักบินต้องรีบยิงแล้วบ่ายหัวกลับก้เป็นได้......................
หัวค้นหาด้วยเรดาห์ แอคทีพ แบบที่ท่าน กบระบุไว้ข้างต้นน่ะครับ จำต้องมีการอัพเดทเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนับว่าเสี่ยงในการโดนยิงตัวอัพเดท ไม่ว่าจะยานปล่อยหรือฐานยิง ซึ่งในที่นี้จรวดหัวรบสร้างภาพความร้อนจะดีกว่าตรง ควบคุมกับตั้งโปรแกรมในการพุ่งชนเป้าหมายสำคัญได้ ซึ่งระบบนี้ NSM พัฒนาไว้และอีกรุ่นคือ เอ็กซ์โซเซท เอ็ม-40 บล็อค3 เหมือนระบบ บีวีอาร์ ในการล็อคเป้าหมายสำคัญและบันทึกข้อมูลไว้และทำการยิง แต่ในกรณีนี้ก็ถือว่าต้องเข้าใกล้กองเรือมากทีเดียวครับ
แต่ถ้ายิงใส่เป้าหมายละลายทั้งกองเรือ รัสเซียใช้หลักนิยมนี้คือ หัวรบนิวเคลียร์ 1นัด ( 30-1000 กิโลตัน)โดนลำไหนก็ได้หายหมด และในกรณีเดียวกันต้องอัพเดทเป้าหมายจะใช้ อาวุธปล่อยที่ยิงได้ไกลๆนับ100+ก.ม. เพื่อกันโดนSAM ประจำเรือยิงสวนกลับน่ะครับ
ถ้าคุณผู้ตั้งคำถามอยากรู้เรื่อง จรวด Hapoon เป็นอย่างไร ลองไปหาเกมส์
แบบจำลองเรือรบดู ถ้าเคยเล่น Jane Fleet command สำหรับ window 98 se
รับรองว่าจะรู้ซึ่งถึงความน่ากลัวของ ระบบป้องกันภัยทางอากาศของ
SAM ระยะปานกลางเป็นอย่างดีครับ โหดสุดเครื่องบิน F-18 และ F-14 โดนสอยกระจายเลยครับหลบแทบไม่ทัน