ลองทฤษฎีใหม่ไหมครับ.......??
ตามทฤษฎี Win Win ที่เราเคยเรียนมาลองปรับมาใช้ไหมครับ??
โดยมีโจทย์คือเรามีงบในล็อต 2 อยู่ 500 ล้านยูเอสและมาลองดูว่า
กว่าJas-39จะเข้าประจำการที่สุราฎฯกี่ปี...ซึ่งในช่วงนี้ยังมี F-5eประจำการ
ใช้งานอยู่ ในช่วงนี้เราก็ต้องรอใช่ไหมครับ???
กว่าเครื่องใหม่จะเข้าประจำการครบก็เกือบ 2 ปี ก็ยังเป็นช่วงที่ ทอ. นำ
เรื่องการซื้อเครื่องล็อต 2 เข้า ครม. ในเกณฑ์ที่เข้ามาพิจารณานี้ผมขอ
ยกมาในกรณีเครื่องมือสองนะครับ โดยเลือก Jas-39 ทอ.สวีเดนที่จะ
ปลดพัก และ เครื่อง F-16 c/d 50/52 ทอ.สิงคโปร์ โดยไม่
คิดถึงเรื่องการเมืองเข้ามาตัดสินนะครับ
เรื่องนี้อาจจะค้าในความเห็นของหลายคนอีกมาก
อีก 2 ปีเป็นช่วงเวลาตัดสินใจครับ
1.คิดในแง่ Jas-39 ทอ.สวีเดน ใช้เรื่องความใกล้ชิดใน
การซื้อล็อตแรกเราได้เครื่อง 6 ลำ AEW ระบบภาคพื้น
ความรู้ของ จนท.ล็อต 2 เนี่ยเราไม่จำเป็นเลยที่จะเอา
เครื่องใหม่เพียงแต่เราดูว่า สเป็คเครื่องมือสองเนี่ยตรงกะ
ล็อตแรกเราไหม?ผมว่าวิธีนี้จะได้เครื่องมากกว่า 12 ลำที่
หวังไว้ครับ
2.F-16 c/d 50/52 ทอ.สิงคโปร์เนี่ยแจ่มไม่ใช่น้อยนะครับ
ลองดูว่าเค้าจะขายให้เราไหม?ขายให้เท่าไหร่?และที่
สำคัญ ระบบ Data Link ใน F-16 ใช้ระบบเดียวกับเราไหม
ที่เซฟคืออุปกรณ์ภาคพื้นใช้กะเราได้หมดทั้ง BVR จำได้
ลางๆๆ ว่าเขาก็ใช้ระเบิดต่อต้านเรือได้เหมือนกัน
(อันนี้รอผู้รู้ครับ)
ซึ่งสองกรณีที่ยกมาเนี่ยเราเลือกได้ครับว่าจะเอายังไง
อยากได้ลูกเล่นยังไงเพราะทั้งสองประเทศเป็นเพื่อนบ้าน
ที่ถือว่าสนิทกะเรานะครับ จะเสียก็ถ้าซื้อของสิงคโปร์เนี่ย
อาจจะมีออฟชันให้ใช้พื้นที่ทอ.ในบ้านเราด้วยก็อาจจะได้
เครื่องเพิ่มอีกด้วยนะครับ
โอ๊ย......คิดแต่ได้กับได้ ช่วยๆๆกันออกความคิดเห็น
ด้วยครับ
เห็นด้วยครับ ที่เราจะซื้อกริฟเฟน มือ 2 จากสวีเดน เพราะในงบ เฟต 2 เท่ากันแต่เราได้เครื่องบินมากกว่า เผลอ ๆ อาจจะได้ครบฝูง และประเทศสวีเดนก็มีสัมพันธ์อันดีกลับเรามาตลอดไม่ว่าจะช่วงไหนของวัน... เอฟ-16 ของสิงคโปร์ผมว่าอย่าไปหวังมาก เพราะประเทศนี้เค้าหัวการค้า ให้อะไรก็ต้องหวังสิ่งตอบแทนจนคุ้มค่าอยู่แล้ว ไม่อยากให้เรารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณจนเราไม่อยากจะขุดคลองหรือทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจความมั่นคงของเราในอนาคต แต่ถ้าได้ของสวีเดนมาแล้ว ก็อยากให้ TAI ของเรา ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ซ่อมเครื่องบินของ SAAB เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเซีย ด้วยก็จะดีมากๆ ครับ เห็นรถยี่ห้อโปรตอนของมาเลฯ ทีไร มันได้แต่สะท้อนในใจ ทำไมเราได้ชื่อว่าเป็นดีทรอย์แห่งเอเซีย แต่ไม่มีรถแห่งชาติเป็นของตนเอง สงสัยต้องยกฉายานี้ให้จีน กับ มาเลฯ
ขอกริพเพน สัก 2 ฝูงประจำที่อ่าวมะนาวครับ เดี่ยวออกตั้งช่วย*-*
ประเด็นมันอยุ่ที่ เราจะต้องใช้ระบบเตือนภัย AEW ที่จัดหามาให้คุ้มค่าครับ
และตามที่คุณ skyman ว่าไว้เรื่องระบบ datalink ระหว่างเหล่าทัพ (รวมถึงที่ SAAB จะมาร่วมทุนทำเรื่องนี้กับ TAI) ที่จะทำให้ระบบข้อมูลเชื่อมโยงกันได้เสียก่อนด้วย
ดังนั้น การเลือก JAS-39 ไม่ว่ามือหนึ่งหรือมือสอง น่าจะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของ ทอ. ครับ ทั้งนี้ ภายใต้สมมติฐานที่ว่าเราคงไม่ถูกลุงแซมบีบคอหน้าเขียวเสียก่อน
ระบบดาต้าลิ้งค์ ของ ทอ. กับ ทร. ถ้าเข้ากันได้ก็ดีครับ ที่ผมเป็นห่วงคือ ของ ทบ. ซึ่งเป็นหน่วยใหญ่ ที่ใช้ระบบอาวุธสหรัฐ เกือบ 100 เปอร์ซ็นต์ เต็ม อย่าง นปอ. หรือ พล. ปตอ. นี่เขาต้องการความรวดเร็วในการสั่งการมากกว่าหน่วยอื่นๆอยู่แล้ว ลำพังสั่งการทาง วิทยุอย่างเดียวคงไม่ทันครับ อย่างอิริอาย ถ้า ระบบ มันลิ้งค์ ไป ยัง นปอ. หรือ พล.ปตอ. โดยตรง น่าจะมีประโยชน์กว่านาครับจะได้เตรียมตัวทัน
ส่วนเรื่องกริปเป้น อี/เอฟ นี่โครงการมันยังอยู่ในกระดาษไม่ใช่หรือครับ กว่าตัวจริงจะออกมาบินได้ ผมว่า ไทยเราคงนำ เอฟ-35 เข้าประจำการไปเรียบร้อยแล้วครับ เพราะ ทอ. วางแผนไว้แล้วว่าจะเอามันมาใช้งาน
ดังนั้นผมคิดว่าเครื่อง กริปเป้น ซี/ดี นี่น่าจะเป็นเครื่องบิน ที่ทันสมัยที่สุดของ ทอ.แล้ว ที่จะนำมาคั่นกลางระหว่าง เอฟ-16 กับ เอฟ-35 ครับ ส่วนจำนวนเครื่องบิน กริปเป้น ควรจะมีเท่าไร ครึ่งฝูง หรือ เต็มฝูง ก็แล้วแต่การตัดสินใจของ ทอ. ครับ
ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับทุกท่านนะครับ เรื่องกรีเป้น มือสอง และระบบ ดาต้าลิงค์ แต่เรื่องF16 C/D BLOCK 50/52 ของสิงค์โปร์ ผมว่ายังห่างไกลความจริงมากเลยครับเพราะว่าเค้าเพิ่งซื้อมาแล้วตอนนี้ถึงแม้ว่าจะมีF15 SG แต่ว่าภัยคุกคามจากมาเลย์ก็ยังมีสูงอยู่ ดังนั้นตอนนี้และอนาคตอันไกล้ ผมคิดว่ายังไง สิงค์โปร์ก็ยังไม่ยกF16 ให้เราง่ายๆหรอกครับเพราะเดี๋ยวจะไม่พอรับมือกับ SU30 ยิ่งตอนนี้เห็นว่ามาเลย์กำลังสนใจล็อต2 อีก18 ลำอยู่ด้วย ผมคิดว่าสิงค์โปร์อาจจะได้จัดหาF15 เพื่มเติมอีกแน่ๆเลยเพื่อให้พอกับภัยคุกคามจากมาเลย์เซีย ดังนั้น F16 คงบินมาหาเรายากอยู่ครับตอนนี้
ส่วนเรื่อง Data Link ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ตอนนี้ก็ทราบกันดีอยู่ว่าเราไม่มีระบบต่อสู้อากาศยานระยะกลางและระยะไกลประจำการ ถ้าในอนาคตเราจัดซื้อระบบต่อสู้อากาศยาน ระยะกลางแล้วพัฒนาให้ใช้ระบบ Data Link ร่วมกัน3เหล่าทัพได้ จะดีไม่น้อยครับในการบูรณาการรบ เช่น Eryeyeจับเป้าอากาศยานศัตรูได้ แล้วส่งข้อมูลให้ Gripen แล้วถ่ายทอดข้อมูลให้กับ หน่วย ปตอ.ใช้จรวดต่อสู้อากาศยานระยะกลางสกัดเป้าหมาย มันก็จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้เราเพื่มโอกาสชนะในการรบให้สูงขึ้นโดยการถ่ายทอดข้อมูลแบบReal time จะทำให้ทุกหน่วยสนับสนุนกันอย่างทันท่วงที แล้วถ้าเกิดท.ร.ใช้ระบบ Data Link ด้วยกันได้ ถ้าข้าศึกเข้ามาทางพื้นน้ำ หรือหลบหนีไปทางทะเล Eryeye ก็จะสามารถส่งข้อมูล ผ่าน ด้าต้าลิงค์ให้กับเรือรบ แล้วส่งข้อมูลให้กับGripen ในการเข้าสกัดกั้นได้ด้วย ถ้าเกิดเครื่องบินข้าศึกหลุด2ด่านเข้ามาได้ Eryeye ก็ยังสามารถส่งข้อมูลผ่าน Data Link ให้กับท.บ.ใช้จรวดต่อสู้อากาศยาน ยิงทำลายข้าศึกได้อีกชั้นนึง มันน่าจะเหมาะสมที่สุดนะครับถ้าเป็นแบบนี้ได้ ถึงไม้ Ereye จะใช้การไม่ได้ แต่เราก็ยังมีสถานีเรด้าร์ภาคพื้นในการถ่ายโอน Link ให้กับหน่วยรบได้ ถ้าเกิด กองทัพไทย ใช้ระบบData Link ร่วมกันได้จะเป็นอะไรที่สุดยอดมากเลยครับ เรื่องการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญนะครับ
เมื่อวันที่มีงานแสดงอาวุธที่เมืองทองธานี...บริษัท ล็อคฮีตมาร์ติน เขาทำใจแล้วครับว่าไม่ได้ขายเครื่องบินและอะไหล่รุ่น C/D Block 50/52 แน่นอน...แต่หวังรออีก ๑๐ ปีจะขาย F-35 ให้ ทอ.ไทยครับ....
...๑๑ มกราคมนี้ ยื่นเรื่อง ๖ ตัวหลังแน่นอนเสี่ยโย...เตรียมโอนเงินค่าคอมให้ผมด้วย....พร้อมกับ ฮ.S-92 อีกระลอก......
..๙๐ % จะยังคง F-5 E 211 ไว้อีกอย่างน้อย ๑๐ ปี ซึ่งก็ลงตัวกับโครงการปรับปรุง MLU F-16 หลังจาก Gripen ฝูงแรกเริ่มเข้าประจำการในปี ๕๔ ไปแล้ว....อาจจะต้องหวังพึ่งเทคโนโลยีจากสวีเดน...
...เชื่อครับว่า...เพื่อให้การส่งบำรุงเป็นไปด้วยความคล่องตัว...จะมี F-16 X 3SQDN , GRIPEN 39 X 2 SQDN ในอนาคต....ซึ่งระยะต่อไปจะเปลี่ยนเป็น F-35 และ Gripen 39 NG
F-16 X 3SQDN , GRIPEN 39 X 2 SQDN ในอนาคต....ซึ่งระยะต่อไปจะเปลี่ยนเป็น F-35 และ Gripen 39 NG
ตามที่ท่านท้าวกล่าวมา ผมอยากให้เป็น Road map ที่วางเอาให้ชัดเจน รัฐบาลไหนมาก็ไม่ต้องไปล้ม ไปแตะ โครงการจะได้สำเร็จ
ทุกวันนี้โดยมาพอรัฐบาลใหม่มา อะไรที่ไม่ใช่ project ของตัวเองก็จะล้มไปซะหมด นับหนึ่งใหม่ตลอด ทำให้ทุกอย่างช้าไปหมด
นอกเรื่องครับ เสริมนิดนึงครับเรื่องรถโปรตอน นี้ รบ. มาเลฯ ให้การส่งเสริมและสนับสนุนเต็มที่ครับ แต่ในเมืองไทย ให้เอกชนหาทางรอดกันเอาเอง ซึ่งเอกชนไทยเก่งครับที่หาเอาตัวรอดด้วยตนเองมาตลอดครับ ถ้าเป็นที่อื่นคงธุรกิจคงล้มหายตายจากไปหมดแล้ว ถ้าจำไม่ผิด ยนตรกิจ ไทยรุ่ง เคยผลิตรถเองครับ แต่เครื่องยนต์ต้องจัดหาเอาจากต่างชาติ ซึ่งก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเท่าที่ควร สุดท้ายโครงการก็ล้ม เพื่อรักษาธุรกิจหลักอื่นของบริษัทไว้ ทำรถเองทุนไม่ถึงเจ็บตัวเยอะครับ แต่ผมชื่นชม รบ. ชุดหนึ่ง (อันนี้ไม่ได้สนับสนุนหรือเป็นพวกอะไรกับชุดนั้นน่ะครับ) ที่มีแนวคิดกบกระโดด จะซื้อค่ายรถยนต์จากเชคฯ มาผลิตเป็นรถยนต์แห่งชาติของตนเอง น่าเสียดายแค่คิดก็โดนด่า เมืองไทยเราเป็นซะอย่างนี้ ประเทศจะเจริญก็จะมีคนมาถ่วงความเจริญ มันเป็นอย่างนี้อยู่ร่ำไปมาตั้งแต่ในอดีต เฮ้อ..เห็นแล้วเหนื่อยแทนประเทศไทยครับ ซื้อคนอื่นเค้าใช้ไปอย่างเดิมน่ะดีแล้ว มันไม่ใช้สมองดี
- แต่ผมก็ยังสนับสนุนแนวคิดการซื้อกริฟเฟนซี/ดี มือสอง ครับและควรซื้อให้มากกว่า ซู 30 มาเลฯ สัก 2 ฝูง อัตรา 3 ฝูงต่อ 1 ฝูง แถม บ. อีรี่อาย Data Link อีก ซู ก็ซู เถอะ ผมว่าไม่รอด
- ในเมื่อเรามี TAI ก็ควรให้ TAI ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิต และการซ่อมแซม กริฟเฟน ได้ด้วยตนเอง จากสวีเดน เหมือนที่เกาหลีใต้ได้รับ ในการผลิต f-5 และ f-16 เกาหลี จากสหรัฐ ครับ
- ยุทธศาสตร์ของกองทัพไทย น่าจะทำคล้ายๆ กับกองทัพสวีเดนครับในการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ลดการพึ่งพาต่างชาติ หรือ ถ้าพึ่งต้องพึ่งให้น้อยที่สุด ในสิ่งเราทำไม่ได้หรือไม่มี ถ้าเราจะมีความสัมพันธ์กับประเทศทางยุโรป ผมว่าประเทศสวีเดนน่าคบที่สุดครับ ไม่เอาเปรียบเพื่อน ถ้าซื้อของๆเค้า เค้าก็จะเข้ามาลงทุนและเข้ามาพัฒนาประเทศของเราด้วย ไม่ใช่ในด้านอาวุธอย่างเดียวยังให้การศึกษาคนของเราด้วย เพื่อไปต่อยอดได้อีก
- ผมว่า f-35 เราคงรออีกนาน คนจองเพียบ คนลงทุนยังไม่ได้เครื่อง คนอื่นคงได้แต่รอ ราคาคงไม่ต้องคิดอาจเกินเอื้อมถ้าเศรษฐกิจของเรายังเป็นอย่างนี้
ในช่วงปี 2555-2565 เรื่อง F-35 ของไทยก็ลืมไปได้เลยครับ เพราะคิวผลิตคงไม่มีให้แน่ๆ เท่าที่ทราบอิสราเอลจองล๊อตแรกไปแล้ว 75 ลำ ตามด้วยประเทศที่เอาแน่ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ค เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ เบลเยี่ยม อีกรวมกันไม่น่าจะต่ำกว่า 200 ลำ นี่ยังไม่รวมถึง ญี่ปุ่น สิงคโปร ไต้หวัน และกลุ่มอาหรับที่เงินเยอะและเป็นพันธมิตรกับสหรัฐนะครับ เช่น ซาอุ บาร์เรน คูเวต การ์ต้า ยูเออี ก็น่าจะมียอดจองซื้อรวมกันราว 200 ลำเช่นกัน ส่วนสหรัฐเองก็น่าจะมียอดสั่งซื้อไม่น่าจะต่ำกว่า 200 ลำแน่
รวมคร่าว ก็เกือบ 700 ลำเข้าไปแล้ว คงใช้เวลา 20-30 ปีกว่าจะผลิตและส่งมอบได้หมด
ส่วนไทยกว่า F-16 จะปลดหมดก็ราวปี 2572-2580 ก็น่าจะยังพอมีเวลาตัดสินใจว่าจะเอา F-35 หรือ ต่อยอด JAS-39 ดี แต่ที่แน่ๆ คือ หากมีการปลด F-5 E/F ฝูงที่สองภายในปี 2560 นี้ คงต้องหาอะไรมาอุดช่องว่าไปก่อน เช่น F-16 ADF สัก 1 ฝูง หรือ JAS-39 มือสองอีกราว 12 ลำประมาณนั้น
จากที่อ่านมาคาดว่า ถ้าเราปลด F5 ฝูงที่2 ตามที่ท่าน pramoch ได้กล่าว ก็น่าจะปี 2560 ประมาณนั้น
และในช่วงต่อจากนี้ คาดว่าปีหน้า ทอ. ก็คงจะเริ่มที่จะไปศึกษา ทั้งในด้านการฝึกบิน การเข้าถึงระบบ การออกแบบโครงสร้างเครื่องบินต่างๆ ในเวลาอีก 8ปี ที่เหลือนี้ เราน่าจะสามารถพอที่จะผลิตเครื่องบินเองได้หรือยัง อยากให้ลองมองกลับไปในตรงจุดนี้ด้วย แต่ก็เข้าใจว่า มันมีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกันเยอะ ในการสร้างเครื่องบิน 1ลำ จริงๆ แล้วเราก็ทำแบบชาติอื่นเค้าก็ได้คือ ทำในส่วนที่เราทำได้ ที่เหลือเราก็ซื้อเข้ามาประกอบ ในส่วนที่ซื้อถ้าให้ดีเราก็ศึกษาไปพลางๆ ด้วยก็ดี จะได้ทำได้ไม่ต้องง้อคนอื่นมากนัก เป็นการพึ่งพาตนเองอย่างพอเพียงอีกต่างหากด้วย
ก็ไม่ได้อยากว่าบ้านเราอะไรมากถ้าเราไม่สนับสนุนกันเองแล้วใครจะมาสนับสนุนเรา และอย่างปากีสถาน ไงครับท่านทั้งหลาย เค้าร่วมมือกับจีน จนเค้าสามารถผลิตเครื่องออกมาได้เองแล้ว เราก็น่าจะทำแบบนั้น เป็นการเริ่มต้นที่ดี และอีกอย่างถ้าเราเก่งมีความสามารถเยอะขึ้น เราก็ต่อยอดเทคโนโลยีนี้ต่อไป ซึ่งถ้าการต่อยอด เราก็คงต้องเพิ่มในเรื่องของระบบอาวุธเข้าไปอีกเยอะพอควร เพราะมีของเล่นมาให้อีกเยอะในอนาคต และระบบการเติมน้ำมันกลางอากาศ (ตรงนี้ไม่รู้ว่า บ.กริฟเฟน เค้ามีอยู่แล้วหรือเปล่า เลยไม่แน่ใจ)
ส่วนต่อมาก็อาจจะสร้างแบบ 2 เครื่อง คาดเล่นเฉยๆ ว่า อาจจะคล้ายๆ กับ ราฟาเอล ก็ได้นะ จากภาพรวมคล้ายกันดี ซึ่งก็จะสามารถ ส่งต่อให้กับ ทร. เอาไว้ใช้งานได้อีกด้วย เป็นอะไรที่คุ้นค่ามาก ในการลงทุนเพียงครั้งเดียวแต่ได้ผลออกมาเยอะกว่าที่คาดไว้
ส่วนต่อมาก็ต้องหาสถานที่สร้างโรงงานว่าจะตั้งที่ไหน อย่างไร
ในเรื่องการขายส่งออก คงมองในกรณีหลัง เพราะไงเสียก็ต้องสร้างความมั่นใจในประเทศให้ได้ก่อนที่เราจะทำอะไร เพราะถ้าประเทศที่ผลิตไม่ซื้อไว้ใช้เองแล้วใครจะมากล้าที่จะซื้อไปใช้งานได้ อีกอย่างสร้างในประเทศได้ราคาก็น่าจะถูกลง สร้างงานสร้างรายได้ให้กับประขากรในประเทศได้อีกเยอะ
ก็ขอจบกานเสนอความคิดแค่นี้ ติชมได้ขอรับ ผิดถูกประการใด ขออภัยด้วย เนื่องจากความรู้ของกระผมยังน้อยนิด คงได้แค่คิดแบบเด็กๆเพียงเท่านั้น
ลองมองไปข้างหน้าบ้านนาครับ
ประมาณว่าอีก10ปีข้างหน้าเครื่อง ซู-47 เคอร์คูตร์ ของรัสเซีย คาดว่าจะเริ่มเข้าประจำการใน ทอ.รัสเซีย (เครื่องบินเริ่มโครงการปี 2007 และเริ่มพัฒนาจริงจังในปี2009 ปีนี้เหละ) ขณะที่ เครื่อง เอฟ-35 เอ/บี/ซี จะเริ่มเข้าสู่สายการผลิตในปีนี้เหมือนกัน (ข่าวว่าพัฒนาเสร็จแล้วทั้งๆที่เรื่มโครงการตั้งแต่10ปีที่แล้ว) ดังนั้นในอนาคต นอกจาก เอฟ-35 จะป็นเครื่องบินยุค5 ที่จะเป็นเครื่องบิน มาตราฐานของ ทอ.นาโตแล้ว คาดว่าหลังจาก นั้นไม่นาน เครื่อง ซู-47 ก็นน่าจะเป็นเครื่องบินยุค5 ที่จะแพร่หลายในหมู่ประเทศฟากอดีตคอมมิวนิสต์เหมือนกันครับ (คาดว่ารัสเซียคงไม่หวงเทคโนโลยี่เหมือนสหรัฐ ที่ไม่ยอมขายเครื่อง เอฟ-22 หรอกครับ ผมว่าเขาคงจะทำเครื่องซู-47 รุ่นส่งออกเอามาขายแข่งกับเอฟ-35แน่ๆ เพื่อถอนทุนคืนไงครับ)
ปัญหาคือในอีก15-20 ปี ข้างหน้าเครื่องบินยุค 4.5 ทั้งหลายที่ลงทุนพัฒนาเป็นจำนวนเงินมหาศาล ทั้ง ยูโรไฟเตอร์ ไทฟูน ราฟาล เจ-10 เตจาส หรือแม้แต่ กริเป้น เอ็นจี ก็จะเริ่มหมดคุณค่าในการสู้รบในฐานะเครื่องบินรบชั้นแนวหน้าของโลกนาครับ เมื่อเทียบกับเครื่องบินยุค5 ดีไม่ดีอาจจะถูกปลดประจำการไปเลยก่อนอายุการใช้งานของเครื่องบินจะครบ ด้วยซ้ำ ดังนั้นก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมบริษัทที่สร้างเครื่องบินเหล่านี้จะยอมเปิดเผยเทคโนโลยี่ให้ผู้ซื้อได้ง่ายๆ (ทั้งๆที่เมื่อก่อนนั้นหวงนักหวงหนา) ผู้สร้างเครื่องบินบางบริษัทใจป้ำขายเทคโนโลยี่ให้ถึงขั้นเกือบจะขายยกโรงงานกันเลย (จีน กับ อินเดีย เป็นต้น) ส่วนไทยเรานั้นได้ ซอสโค้ค เครื่องบินกรีเป้นแถม มาด้วย ผมว่ามันก้ดีครับ ได้ความรู้เหมือนกันแต่ถ้าเทียบกับเทคโนโลยี่ของเครื่องบิน ยุค5 แล้วมันก็แทบจะไม่ช่วยอะไรเลย เมื่อเทียบกับ สิงคโปร์ ที่เขาลงขันกับโครงการเครื่องบิน ยุค5 ของ เอฟ-35 นาครับ
ปัญหาคือข้างบนบอกว่าในอนาคตเราจะมี กริเป้น เอ็นจี + เอฟ35 เป็นเครื่องบินหลักของ ทอ. ในอนาคต ผมว่าเรามาลองทบทวนกันหน่อยดีไหมครับ ตัว เอฟ-35 น่ะดีอยู่แล้วแต่เราจะเอา เจ้ากริเป้น เอ็นจี มาทำไมอีกล่ะครับ มันหมดยุค แล้วนาครับ ถ้าเอา เอฟ-35 กับ เอฟ-18 อี/เอฟ อย่างออสเตรเลีย นี่ผมว่า น่าจะดูไม่ค่อยขี้เหร่เท่าไหร่นาครับ เพราะ เอฟ-18อี/เอฟ นี่ก็มีภาคตัดขวางเรด้าร์ต่ำอยู่เหมือนกันเมื่อเทียบกับขนาดตัวถังของมันน่ะครับ
เครื่องบินยุค 5 หรือ steath นั้นหลักใหญ่ๆของมันอยู่ที่การออกแบบให้เป็นเครื่องบินที่มีภาคตัดขวางเรด้าห์ต่ำสุ่ด และอีกอย่างคือการเคลือบลำตัวด้วยวัสดุที่สามารถดูดคลื่นเรด้าห์ออกไป นาครับ ปกติจะออกแบบให้มีลักษณะเป็นเครื่องบินไร้หาง หรือไม่ก็รูปแบบหางเป็นรูปตัววี หรือไม่ก็เป็นหางดิ่งคู๋แต่ต้องเอียงให้มีลักษณะเป็นตัววีครับ ถึงจะสามารถลดการตรวจจับของเรด้าห์ได้
เมือเทียบเครื่องบินทิ้งระเบิดสองแบบ ระหว่าง บี 52 กับ บี 2 จะเห็นความแตกต่างชัดเจนครับ ตัว ที่มีหางเดี่ยวสูงเท่าตึกสี่ชั้นกับตัวที่ไม่มีหางเลย จนทำใตวที่มีหางสูงๆต้องปลดประจำการจากกองบินยุทธศาสตร์ มาประจำการในกองบินยุทธวิธี คอยไล่ล่า ผู้ก่อการร้าย ในอาฟกันตอนนี้ไงครับ
ปกติเครื่องบินเก่าๆถ้าจะอัฟเกรดให้มีความอยู่รอดในสงครามนั้นก็ต้องดูด้วยนาครับว่ามันมีคักยภาพในการอัปเกรดหรือเปล่า อย่างเครื่องบิน ยุค 3 ทั้งเอฟ 5 อี และ มิก 21 นั้นทั้งอิหร่าน และอินเดีย นั้นเขาก็กำลังพัฒนาให้เป็น เครื่องบินที่เรด้าห์จับได้ยากขึ้นอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจเป็นการเปลื่ยนพวงหางเป็นตัววี หรือการปรับท่อรับอากาศเข้าใหม่ รวมทั้งการเคลือบลำตัวด้วย วัสดุที่ดุดซับเรด้าห์ได้ดี ซึ่งมันก้คล้ายๆกับที่ โบอิ้งพัฒนา เอฟ 15 เป็น เอฟ 15 เอสอี และ เอฟ 18 เอ/บี/ซี/ดี เป็น เอฟ 18 อี/เอฟ แหละครับ
ซึ่งในโลกนี้ เท่าที่ทราบ มีแต่ โบอิ้ง ล็อคฮีต นอร์ธรอป เท่านั้นที่มีเทคโนโลยี่ทางด้านนี้อยู่และสร้างเครื่องบินขายให้กองทัพสหรัฐอยู่ในปัจจุบัน ส่วนในรัสเซีย คือ ซูฮอย และมิโกยัน ครับ ส่วนประเทศอื่นๆ ที่มีข่าวว่ากำลังสร้างเครื่องบินยุคห้า นี้ คือ อินเดีย จีน ญี่ปุน เกาหลีใต้ อิหร่าน และประเทศกลุ่มนาโต้ที่เข้าร่วมโครงการ เจเอสเอฟ หรือ เอฟ 35 ที่เรารู้จักกันดีครับ
ที่สำคัญคือ ประเทศ รอบบ้านเราเขาซื้อเครื่องบินจากผู้ผลิตเหล่านี้ทั้งนั้นดังนั้นโอกาสอัปเกรดเครื่องบิน ยุค4.5ให้ทัดเทียมยุคห้าจึงมีอยู่สูงครับส่วนของเราไม่ได้ซื้อเครื่องบินจากผู้ผลิตด้านบนด้งนั้นผมจึงเป็นห่วงไงครับ
ที่จริง บ.รบ ยุคที่ 5 เป็นแนวคิดที่จริงแท้แน่นอนสำหรับอนาคตครับ
แต่กับบ้านเรายังน่าสงสัยอยู่ว่าเราจะตามเขาทันไหมเนื่องจาก บ. รบยุคที่ 5 นี้
ค่าตัวไม่ธรรมดาทีเดียว ซึ่งเชื่อว่าฐานะเศรษฐกิจอย่างเราในยามนี้คงยากที่จะจัดหามาได้ง่ายๆ เอาแค่ได้ บ.รบยุค 4.5 + การวิจัยระบบ data link ร่วมกับ Saab พร้อมทั้งเครื่องระบบป้องกันป้องกันประเทศทั้งทัพบก เรือ อากาศ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก็ถือว่าหรูแล้วครับ และอย่าลืมว่าเราเน้นเรื่องยุทธศาสตร์การป้องกันตนเองเป็นหลักนะครับ ไม่ได้จะล่องหนไปบุกใครเขาก่อน ดังนั้น เรื่อง บ.steath สำหรับเราในยามนี้นับว่าห่างไกลมาก แต่ถ้าในอนาคตจำเป็นต้องจัดหาจริงๆ คงต้องวางแผนแบบระยะยาวมากๆ และต้องเริ่มเก็บสะสมเงิน งปม. สำหรับจัดซื้อไว้แต่เนิ่นๆ ด้วยด้วย
ผมเคารพความคิดเห็นของคุณมาโคโปครับ และเห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณมาโคฯ บางส่วนครับ แต่ไม่ได้คิดเกรียนกับคุณมาโคฯ แต่อย่างใดน่ะครับ แต่ผมคิดว่าไทยในตอนนี้ไม่เหมาะกับฉายาดีทรอย์แห่งเอเซียแล้วครับ เพราะเราเป็นแค่ผู้รับจ้างผลิต หรือ ลูกจ้าง ผลิต จริงอยู่ยอดการผลิตมันเยอะจริง แต่รับก็รับอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดพิษหรือบางอย่างที่ญี่ปุ่น เค้าก็ไม่ให้มีอุตสาหกรรมแบบนี้ในประเทศของเค้าแล้ว แต่ของเรากลับไม่คัดกรอง ซึ่งผมคิดว่าเข้ามาเยอะแล้วโดยที่เราก็ไม่รู้ จนมีเรื่องที่ระยอง ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในบ้านเรา สามารถผลิตรถไฮบริดได้ในบ้านเรา ผมกับไม่ได้รู้สึกภูมิใจอะไรเลยที่บ้านเรามีรถไฮบริดเกิดขึ้นได้ แต่กลับภูมิใจที่เห็นอาจารย์ท่านหนึ่งของเราที่เคยอยู่นาซ่า ผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำ สกัดเอาแต่ไฮโดเจนมาใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อน แม้ตัวรถจะเป็นของญี่ปุ่นก็ตาม ผมถึงคิดว่าน่าจะยกตำแหน่งนี้ให้จีน มาเลฯ แต่เห็นด้วยครับที่จะต้องเพิ่มอินเดีย เข้าไปอีกประเทศ ทำไมถึงให้มาเลฯ ด้วยก็เพราะมาเลฯ ผลิตรถเองได้ แม้ว่าบางส่วนอาจต้องพึ่งอิตาลี แต่เค้าก็พยายามที่จะทำ ซึ่งประเทศเค้าก็ไม่มีรถเป็นของตัวเองเพียงยี่ห้อเดียวแต่ยังมีอีกหลายยี่ห้อ ผมจึงคิดว่าเค้าต้องเกิดครับ และก็เพิ่งเห็นข่าวครับว่า จีน เป็นประเทศที่สาม ที่สามารถผลิตรถยนต์ได้เกิน 10 ล้านในหนึ่งปี ต่อจากสหรัฐ และญี่ปุ่น ผมว่าน่าทึ่งมากๆ ครับ ทั้งที่เราในอดีตเป็นประเทศผู้ผลิตรถยนต์ได้ก่อนใครในเอเซีย (สมัย ร.5) แต่เรากลับล้าหลังอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่รู้เพราะใคร .... ถ้าเราจะเริ่มผลิตเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ และเห็นผลได้ดีเชิงธุรกิจเป็นจำนวนมาก ผมว่า รถนี่แหละที่เราควรจะเริ่มพัฒนากันเองได้บ้างแล้ว เอาเฉพาะตัวถังก่อนก็ได้ เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ก็จัดหาเอาจากชาติอื่นก็ได้ไม่ว่ากัน ไม่ใช่มีแต่ สามล้อ รถไถนา มอเตอร์ไซต์ เชิงธุรกิจที่เราผลิตเองจริง ๆ ได้ครับ ส่วนเครื่องบินผมไม่หวังครับ F35 F16 สิงคโปร์ เพราะกว่าจะได้มาคนอื่นก็คงใช้จนเพลินและตกรุ่นแล้ว หวังอย่างเดียวครับ กริฟเฟน จะมือหนึ่ง หรือสองก็ได้ พร้อมถ่ายทอดเทคโนฯ การผลิต แค่นี้ก็ โอเคครับ